หมอขอตอบจริงหรือไม่…เพราะขี้หูตันทำให้หูอื้อ

19 มี.ค. 2564 | เขียนโดย รพ. สินแพทย์ ลำลูกกา

‘หูอื้อ’ เกิดขึ้นเมื่อการได้ยินเสียงลดลง หรือได้ยินไม่ชัดเจน รู้สึกเหมือนมีอะไรมาอุดที่หู ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่การที่หูอื้อ เพราะเกิดจาก ‘ขี้หูตัน’ นั้นจะจริงหรือไม่ มาดูคำตอบกัน



หูอื้อเกิดจากอะไร

หูอื้อเป็นอาการที่พบได้บ่อย และสามารถเกิดจากสาเหตุได้หลากหลาย โดยสาเหตุหลักๆ ที่พบบ่อย ได้แก่

  • การสัมผัสเสียงดังเป็นเวลานาน : การฟังเพลงเสียงดัง การทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง เช่น โรงงาน อาจทำให้เซลล์ประสาทหูได้รับความเสียหาย
  • การติดเชื้อในหู : เช่น หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ
  • โรคเกี่ยวกับหูชั้นใน : เช่น โรคเมนิแยร์ (Meniere’s disease) ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของของเหลวในหูชั้นใน
  • ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไร้ : บางครั้ง อาการหูอื้ออาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของข้อต่อขากรรไร้ ทำให้เกิดเสียงดังในหู
  • ผลข้างเคียงของยาบางชนิด : ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดไข้ อาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการหูอื้อ
  • โรคอื่น ๆ : โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และเนื้องอกในสมอง ก็อาจมีอาการหูอื้อร่วมด้วยได้

 

สาเหตุของอาการหูอื้อ

หูอื้อเกิดจากอะไร จริง ๆ แล้ว หูอื้อมาสาเหตุการเกิด 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ ส่วนที่เป็นการนำเสียง กับส่วนประสาทในการรับฟังเสียง หากหูอื้อจากส่วนนำเสียงมีปัญหา อาจจะมาจากการที่หูมีขี้หู มีน้ำในหู หรือมีสิ่งแปลกปลอมอาศัยอยู่ด้านใน ทำให้หูติดเชื้อตั้งแต่ชั้นกลาง ไปจนถึงระดับที่แก้วหูสามารถทะลุได้ หรืออีกกรณีถ้าหูอื้อจากระบบประสาทการรับฟัง จะมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือเป็นไปตามวัยตามปกติ

 

ขี้หูอุดตันกับอาการหูอื้อ

ขี้หูอุดตันทำให้หูอื้อเกิดจากอะไร สิ่งนี้เป็นคำถามที่คาใจใครหลาย ๆ คน เพราะไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้จริงหรือไม่ แต่ตามหลักแล้ว หูอื้อเกิดจากขี้หูอุดตันได้จริง ๆ อธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ เลย คือ ขี้หูจะอุดตันบริเวณทางเดินของเสียง หากมีขี้หูมาก ๆ หรือไม่ได้กำจัดออก จะทำให้การได้ยินลดลงเรื่อย ๆ หากปล่อยทิ้งไว้ ก็จะยิ่งทำให้การได้ยินลดลงไปด้วย และซ้ำร้ายไปกว่านั้นถ้าจะเอาออกและใช้ไม้แคะหู หรือคอตตอนบัดปั่นออก อาจจะทำให้เกิดอันตรายกับหู หรือหูอักเสบติดเชื้อได้ ดังนั้นการทำให้หูสะอาดและปราศจากขี้หูอยู่เสมอ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นพอสมควร

 

ใครที่เสี่ยงเป็นหูอื้อ

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นหูอื้อ ได้แก่

  • ผู้ที่ทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง : เช่น นักดนตรี ช่างเครื่อง
  • ผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อในหูบ่อย : เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเกี่ยวกับหู : เช่น โรคเมนิแยร์
  • ผู้ที่มีอายุมากขึ้น : เนื่องจากเซลล์ประสาทหูเสื่อมตามอายุ
  • ผู้ที่ใช้ยาบางชนิด : โดยเฉพาะยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะ

 

หูอื้อรักษายังไง

การรักษาอาการหูอื้อขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ก่อให้เกิด โดยแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งอาจรวมถึง

  • การรักษาสาเหตุ : หากหูอื้อเกิดจากการติดเชื้อ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ หากเกิดจากโรคเมนิแยร์ แพทย์อาจให้ยาเพื่อควบคุมอาการ
  • การใช้เครื่องช่วยฟัง : หากหูอื้อเกิดจากการสูญเสียการได้ยิน เครื่องช่วยฟังจะช่วยให้ผู้ป่วยได้ยินเสียงได้ดีขึ้น
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม : เช่น หลีกเลี่ยงเสียงดัง พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด
  • การรักษาทางกายภาพบำบัด : ในบางกรณี การทำกายภาพบำบัดอาจช่วยบรรเทาอาการหูอื้อได้
  • การใช้ยา : ในบางราย แพทย์อาจพิจารณาให้ยารักษาอาการ เช่น ยาแก้เวียนหัว ยาคลายกล้ามเนื้อ

 

เมื่อเริ่มมีขี้หูตัน เราจะสังเกตุได้ว่ามีอาการปวดหู เวียนศีรษะ รู้สึกแน่น ๆ หรืออื้อ ๆ ในหูข้างที่เกิดการอุดตัน ได้ยินเสียงดังภายในหู การได้ยินลดลง คันบริเวณหูหรือมีของเหลวไหลออกจากหู บางรายอาจมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้

 

ทั้งนี้คนที่รู้สึกว่ามีอาการขี้หูอุดตัน ไม่ควรแคะขี้หูออกด้วยตนเองเพราจะยิ่งทำให้ขี้หูดันลึกเข้าไป ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลและการติดเชื้อได้ แต่ควรที่จะรักษาให้หายขาดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์จะสอบถามประวัติและความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับหูของผู้ป่วย จากนั้นจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า อุปกรณ์ส่องหู (Otoscope) ส่องเข้าไปภายในช่องหูว่าเกิดการอุดตันหรือมีสิ่งผิดปกติหรือไม่ หากพบว่ามีขี้หูอุดตัน แพทย์จะทำการเอาขี้หูออกให้โดยเครื่องมือที่มีความปลอดภัยและได้มาตรฐาน

 

สำหรับผู้ที่มีอาการหูอื้อ หรืออาการใกล้เคียงกับขี้หูตัน ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการอย่างละเอียด และได้รับการรักษาที่ได้มาตรฐาน ถูกต้อง และปลอดภัย กับ แผนกหูคอจมูก โรงพยาบาลสินแพทย์ลำลูกกา เราพร้อมดูแลคุณ >> คลิก

FAQ: คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการหูอื้อ

หูอื้ออันตรายไหม?

อาการหูอื้อเองไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการที่บ่งบอกถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระบบการได้ยินหรือระบบอื่นๆ ของร่างกาย อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การสัมผัสกับเสียงดัง การติดเชื้อในหู ขี้หูอุดตัน ผลข้างเคียงของยาบางชนิด โรคบางชนิด เช่น โรคเมเนียร์ (Meniere’s disease) หรือเนื้องอกในหู หากอาการหูอื้อเป็นเพียงชั่วคราวและหายไปเอง อาจไม่จำเป็นต้องกังวล แต่หากอาการหูอื้อเป็นเรื้อรัง รุนแรง หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เวียนศีรษะ ปวดหู หรือสูญเสียการได้ยิน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม

 

หูอื้อข้างเดียวต้องกังวลไหม?

อาการหูอื้อข้างเดียวอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างที่ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ ถ้าหากเมื่อไหร่ก็ตามที่หูอื้อ ร่วมกับอาการวิงเวียน ไม่สามารถทรงตัวได้ หรือป่วยเป็นไข้หวัด หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ จนรู้สึกว่ากระทบกับชีวิตประจำวัน แนะนำให้ลองไปหาหมอเพื่อตรวจเช็กอาการ เพราะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หูอาจจะไม่กลับมาเป็นปกติ

เสียงดังทำให้เกิดอาการหูอื้อถาวรได้ไหม?

เสียงดังสามารถทำให้เกิดอาการหูอื้อถาวรได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสัมผัสกับเสียงดังเป็นเวลานาน หรือเสียงดังมาก ๆ เพียงครั้งเดียว ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ขนในหูชั้นใน ซึ่งมีหน้าที่ในการรับเสียงและส่งสัญญาณไปยังสมอง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-006-9999 หรือ

แอดไลน์ ID line : @synphaetline

 

# โรงพยาบาลสินแพทย์ลำลูกกา

#ให้สินแพทย์เป็นเพื่อนคุณ

#เบื้องหลังทุกการรักษาคือความใส่ใจ

 

SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ