โรคกระดูกพรุน ป้องกันได้

11 ต.ค. 2566 | เขียนโดย โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี

‘กระดูกพรุน’ คือ ภาวะที่กระดูกเสื่อมและบางลง เนื่องจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก ส่งผลให้กระดูกเปราะหรือหักได้ง่าย ซึ่งถือเป็นภัยเงียบที่อันตราย เพราะโรคนี้มักไม่แสดงอาการเจ็บปวดใด ๆ ซึ่งกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ก็ต่อเมื่อมีอาการกระดูกหักหรือแตกแล้ว พบได้บ่อยบริเวณ กระดูกสันหลัง สะโพก และกระดูกข้อมือ

ปัจจัยเสี่ยง‘โรคกระดูกพรุน’ 

  • สตรีวัยหมดประจำเดือน
  • อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
  • ขาดสารอาหารวิตามินดี หรือแคลเซียม
  • ดื่มแอลกอฮอล์ หรือ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ
  • สูบบุหรี่
  • ไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายเป็นเวลานาน เช่น นอนรักษาตัว หรือใส่เฝือกนาน

การป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดโรคกระดูกพรุน

  1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลากหลาย ให้มีปริมาณแคลเซียมและวิตามินเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม ปลาเล็กปลาน้อย งาดำ ถั่วต่างๆ เต้าหู้ ผักใบเขียว เช่น ผักโขม บร็อคโคลี่ คะน้า ใบชะพลู ใบยอ เป็นต้น
  2. ลดอาหารที่มีไขมันมาก เพราะไขมันจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  4. งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา และกาแฟ
  5. ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เช่น ยาลูกกลอน เพราะมีสารสเตียรอยด์ผสมอยู่ อาจทำให้กระดูกพรุนไม่รู้ตัว

การดูแลร่างกายตัวเองร่วมกับการตรวจร่างกายโดยแพทย์จะช่วยให้สามารถควบคุมและลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้

ด้วยความห่วงใย จาก โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี

SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ