โรคเลือดจาง ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

26 มี.ค. 2564 | เขียนโดย ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์

คือโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่เกิดจาก เม็ดเลือดแดงผิดปกติโดยการถ่ายทอดจากพ่อ – แม่ ทางกรรมพันธุ์               



โรคเลือดจาง ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

 

คือโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่เกิดจาก เม็ดเลือดแดงผิดปกติโดยการถ่ายทอดจากพ่อ – แม่ ทางกรรมพันธุ์

ธาลัสซีเมีย มี 2 แบบ

พาหะ ไม่แสดงอาการ แต่มีความผิดปกติของเม็ดเลือดสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้

  1. เป็นโรคแสดงอาการของโรค และสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้

คนไทยเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย มากน้อยแค่ไหน

  • ผู้ที่เป็นพาหะมีประมาณ 18 – 24 ล้านคน
  • ผู้ที่เป็นโรคมีประมาณ 6000,000 คน และมีอาการมากน้อยต่างกัน

 

ชนิดปานกลาง และรุนแรงน้อย

จะซีดมากขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อรุนแรง

 

ชนิดที่รุนแรง

แรกเกิดจะไม่มีอาการ จะสังเกตุอาการเห็นชัดเมื่ออายุประมาณ 3-6 เดือน อาการสำคัญคือ ซีด อ่อนเพลีย ท้องป่อง ม้ามและตับโต ซีดอย่างเห็นได้ชัด

 

ชนิดรุนแรงที่สุด

  ทารกเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือหลังคลอด

 

ลักษณะของเด็กที่เป็นโรคธาลัสซีเมียขั้นรุนแรง

  • หน้าผากโหนก
  • ตาเหลือง
  • ดั้งจมูกแฟบ
  • ซีดโลหิตจาง
  • ตัวเล็กผิดปกติ
  • อาจไม่มีความเจริญทางเพศ
  • ผิวหนังคล้ำเพราะมีธาตุเหล็กมากในร่างกาย
  • ท้องโตเพราะม้ามตับโต
  • อาจมีแผลเรื้อรังที่ขา

 

การป้องกันโรคธาลัสซีเมีย

  • เลือกคู่ สำหรับผู้ที่ตรวจเลือดแล้วทราบว่าตนเป็นพาหะหรือเป็นโรคทั้งหญิง และชาย ควรหลีกเลี่ยงการมีบุตรโดยการคุมกำเนิด
  • เลือกครรภ์ สำหรับผู้ที่ไม่เคยทราบมาก่อนว่าเป็นพาหะหรือเป็นโรค และต้องการมีบุตรที่สมบูรณ์ ไม่เป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ทั้งสามี และภรรยา ควรตรวจเลือดก่อนมีบุตร
  • เลือกคลอด สำหรับคู่สมรสที่ตรวจเลือดแล้วทราบว่าเป็นพาหะทั้งคู่อาจมีบุตรเป็นโรค ต้องไปฝากครรภ์พบแพทย์ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ และแพทย์จะตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ว่าปกติหรือไม่

 

โอกาสเสี่ยงของการมีบุตรเป็นธาลัสซเมีย

  • ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นพาหะ โอกาสที่บุตรจะเป็นโรคเท่ากับ 25 % หรือ 1 ใน 4
  • โอกาสที่บุตรจะเป็นพาหะเท่ากับ 50 % หรือ 2 ใน 4
  • และโอกาสที่จะมีบุตรปกติเท่ากับ 25 % หรือ 1 ใน 4
  • ถ้าพ่อหรือแม่เป็นพาหะเพียงคนเดียวโอกาสที่ลูกจะเป็นพาหะเท่ากับ 50 % และโอกาสที่จะมีลูกปกติ 50 %

               

คำแนะนำสำหรับผู้ที่เป็นพาหะ

ผู้ที่เป็นพาหะสามารถถ่ายทอดโรคนี้ไปสู่บุตรได้จึงควรวางแผนก่อนมีลูก เพื่อหลีกเลี่ยงการมีบุตรเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ควรพาคู่สมรสไปตรวจเลือดก่อนมีลูก ผู้เป็นพาหะควรแนะนำให้ ญาติ พี่ น้องไปตรวจเลือดด้วย

 

 

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

  • ควรกินผักสด ไข่ และนมเป็นประจำ
  • ดื่มน้ำชาหลังอาหารเพื่อช่วยลดการดูดซึมธาตุเหล็ก
  • ตรวจฟันทุก 6 เดือน เพราะฟันผุง่าย
  • งดสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
  • หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก หรือใช้แรงมาก
  • ไม่ควรซื้อวิตามินซีกินเอง
  • หากมีอาการปวดท้องที่ชายโครงด้านขวารุนแรง มีไข้ และเหลืองมากขึ้นแสดงว่าถุงน้ำดีอักเสบ ควรไปพบแพทย์
  • อาจเป็นโรคติดเชื้อรุนแรงได้ง่าย เมื่อมีไข้สูง ควรเช็ดตัว กินยาลดไข้และรีบไปพบแพทย์
  • อยู่ในที่อากาศปลอดโปร่งไม่แออัด เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อต่างๆ

 

 

หากมีอาการดังกล่าวแนะนำให้พบแพทย์ผู้ชำนาญการ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรกรรมโรคเลือด ปรึกษาแพทย์ศูนย์กระดูกและข้อ สาขาใกล้บ้านคุณ

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์

 โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี 

 

SHARE