
หลังผู้ป่วยได้รับเชื้อจะมีระยะฟักตัวประมาณ 3-5 วัน ผู้ใหญ่หรือเด็กที่มีภูมิต้านทานดีอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเหมือนไข้หวัดทั่วไป แต่ในเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุที่มีภูมิต้านทานต่ำอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบ อาการต่างๆที่พบได้มีดังนี้
เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส (hMPV) คืออะไร ?
เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส (Human Metapneumovirus หรือ hMPV) เป็นเชื้อ RNA ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจฉับพลัน จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับเชื้อไวรัสอาร์เอสวี เชื้อไวรัส hMPV เป็นเชื้อที่มีมานานแต่ในปัจจุบันมีการตรวจพบเชื้อได้มากขึ้น มักมีการระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาวในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เชื้อติดต่อผ่านทางเดินหายใจโดยการไอ จาม และการสัมผัสน้ำมูกหรือน้ำลายของผู้ป่วย ส่วนใหญ่ระบาดในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและผู้สูงอายุ
อาการของผู้ติดเชื้อ hMPV เป็นอย่างไร ?
หลังผู้ป่วยได้รับเชื้อจะมีระยะฟักตัวประมาณ 3-5 วัน ผู้ใหญ่หรือเด็กที่มีภูมิต้านทานดีอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเหมือนไข้หวัดทั่วไป แต่ในเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุที่มีภูมิต้านทานต่ำอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบ อาการต่างๆที่พบได้มีดังนี้
- ไข้
- ปวดเมื่อยตามตัว
- ไอ มีเสมหะ
- น้ำมูก คัดจมูก
- หอบเหนื่อย หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด ในผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบหรือหลอดลมอักเสบ
- เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย
- ผื่น
- ต่อมน้ำเหลืองโต
เชื้อนี้สามารถเพิ่มจำนวนในทางเดินหายใจได้ดี หลังจากแสดงอาการผู้ป่วยอาจแพร่เชื้อได้นานถึง 1-2 สัปดาห์
การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อ hMPV ทำอย่างไร ?
ในผู้ป่วยที่มีอาการและอาการแสดงเข้าได้กับโรคติดเชื้อ hMPV แพทย์สามารถยืนยันการวินิจฉัยได้โดยการทำ swab สารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจส่งตรวจหาเชื้อในห้องปฏิบัติการ
โรคติดเชื้อ hMPV รักษาอย่างไร ?
ปัจจุบันเชื้อไวรัส hMPV ยังไม่มียาต้านไวรัสเฉพาะ การรักษาเป็นการรักษาประคับประคองตามอาการของผู้ป่วย ผู้ป่วยทั่วไปมักอาการดีขึ้นได้เองภายใน 5-7 วัน ในผู้ป่วยที่มีปัญหาปอดอักเสบหรือมีอาการหอบรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อดูดเสมหะ พ่นยาขยายหลอดลม ให้ออกซิเจน ให้สารน้ำทางหลอดเลือด
สามารถป้องกันการติดเชื้อ hMPV ได้อย่างไร ?
ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ hMPV การป้องกันการติดเชื้อสามารถทำได้โดยการดูแลสุขภาพให้แข็งเรงและรักษาสุขอนามัย หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในสถานที่ชุมชนในช่วงที่มีการระบาดของโรค การใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
หากมีอาการ หรือสงสัยว่าใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยง ศูนย์โรคติดเชื้อ รพ.สินแพทย์ รามอินทรา