มะเร็งระบบทางเดินอาหาร มะเร็งลำไส้ รู้ผลได้จากการส่องกล้อง

27 ธ.ค. 2567 | เขียนโดย โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

มะเร็งระบบทางเดินอาหาร มะเร็งลำไส้ รู้ผลได้จากการส่องกล้อง

ขึ้นชื่อว่า “โรคมะเร็ง” แน่นอนว่าเป็นกลุ่มโรคที่อันตราย และเปรียบเสมือนเพชฌฆาตที่พรากชีวิต สร้างความสูญเสียไว้อย่างนับไม่ถ้วน โดยจากสถิติพบว่ามะเร็งระบบทางเดินอาหาร เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยมากที่สุดในคนไทย และส่งผลไปถึงอันตรายของชีวิต เนื่องจากมะเร็งชนิดนี้มักจะไม่มีอาการที่รุนแรง เบื้องต้นดูแล้วเหมือนจะเป็นเพียงโรคระบบทางเดินอาหารทั่ว ๆ ไป กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็เป็นระยะรุนแรงแล้ว 

ดังนั้นการจะหยุดยั้งมหันตภัยนี้ได้ คือ การหมั่นตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และการตรวจที่รู้ผลชัดเจนมากที่สุด ได้แก่ วิธีการส่องกล้อง ในวันนี้สินแพทย์ เสรีรักษ์ จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญ และโรคที่สามารถรู้ได้จากการส่องกล้อง รวมถึงแนะนำแพ็กเกจส่องกล้องจากโรงพยาบาล เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคน

ทำความรู้จักส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ คืออะไร สำคัญยังไง

การทำความรู้จักกับการส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ ว่าคืออะไร สำคัญยังไง จะทำให้เข้าใจในคุณประโยชน์ภาพรวมมากขึ้น การส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ คือ การใช้กล้องที่ชื่อว่า “เอ็นโดสโคป” มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก สามารถงอได้ และมีแสงสว่างบริเวณปลายท่อเป็นตัวช่วยที่ทำให้มองเห็นระบบทางเดินอาหารภายใน โดยจะดูภาพได้ผ่านจอมอนิเตอร์ การส่องกล้องมีความสำคัญมหาศาลในกลุ่มคนที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือมีอาการปวดท้อง ท้องอืด แสบหน้าอกเรื้อรัง เพราะแพทย์จะสามารถตรวจสอบการอักเสบ เช็กแผล สำรวจอวัยวะภายในว่ามีเนื้องอกหรือไม่ เพาะหาเชื้อแบคทีเรีย ตัดชิ้นเนื้อจุดที่น่าสงสัยเพื่อนำไปหาเซลล์มะเร็ง รวมถึงช่วยในการห้ามเลือด ในผู้ป่วยที่พบเลือดออกบริเวณระบบทางเดินอาหาร

 

ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ สามารถรู้โรคอะไรได้บ้าง

ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ สามารถรู้โรคได้ดังนี้

 

กระเพาะอาหาร

  • แผลในกระเพาะอาหาร
  • กระเพาะอาหารอักเสบ
  • มะเร็งกระเพาะอาหารอาหาร
  • กรดไหลย้อน
  • เลือดออกในช่องท้อง
  • เนื้องอกบริเวณกระเพาะอาหาร
  • การติดเชื้อ H.pylori

 

ลำไส้เล็ก

  • แผลในลำไส้เล็ก
  • ลำไส้อักเสบ
  • เนื้องอกบริเวณลำไส้เล็ก
  • มะเร็งลำไส้เล็ก

 

ลำไส้ใหญ่

  • ลำไส้ใหญ่อักเสบ
  • โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง เช่น โรคโครห์น 
  • ลำไส้แปรปรวน หรือ IBS 

สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคลำไส้แปรปรวนแล้ว แพทย์จะไม่แนะนำให้ส่องกล้องลำไส้ใหญ่เป็นประจำ เพราะอาจจะทำให้โรคนี้แย่ลงได้

 

ทวารหนัก

  • ริดสีดวงทวาร
  • มะเร็งทวารหนัก

 

ส่องกล้องทางเดินอาหาร เหมาะกับใคร

  • ส่องกล้องทางเดินอาหาร เหมาะกับกลุ่มคนที่มีอาการเหล่านี้
    • รู้สึกแสบท้อง จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ ไม่ได้เป็นตลอดเวลาแต่จะเป็น ๆ หาย ๆ
    • น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ กินเท่าไหร่ก็ไม่ทำให้น้ำหนักขึ้น
    • ถ่ายปนเลือดหรือถ่ายสีดำ
    • ปวดท้อง แสบท้อง และเมื่อรักษาด้วยยาไปแล้วก็ยังไม่ทำให้ดีขึ้น
    • มีประวัติคนในครอบครัวว่าเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • ส่องกล้องลำไส้ เหมาะกับกลุ่มคนที่มีอาการเหล่านี้
    • มีอาการท้องผูก สลับกับท้องเสีย
    • ถ่ายยากต้องเบ่งเวลาถ่าย ถ่ายเป็นเม็ดเล็ก ๆ ถ่ายปนเลือด มีมูกเลือด
    • ร่างกายอ่อนเพลียโดยไม่มีสาเหตุ
    • มีภาวะซีดตามร่างกาย โดยจะเห็นได้ชัดในกลุ่มคนสูงอายุ
    • คลำแล้วเจอก้อนในท้อง รวมถึงคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

วิธีการส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่

หลายคนอาจจะสงสัยว่าเราจำเป็นต้องรู้จริง ๆ ใช่ไหม ว่าส่องกล้องกระเพาะอาหารกับลำไส้มีวิธีการทำยังไง เพราะสุดท้ายแล้วแพทย์ก็จะเป็นคนทำอยู่ดี ซึ่งบอกได้เลยว่าเป็นเรื่องที่ถ้าไม่รู้ก็ไม่ผิด แต่หากรู้ไว้จะทำให้เข้าใจลำดับขั้นตอนมากยิ่งขึ้น และจะช่วยลดความกังวลในการตรวจได้มากเลยทีเดียว

 

ส่องกล้องกระเพาะอาหาร

 

ส่องกล้องกระเพาะอาหาร

ส่องกล้องกระเพาะอาหาร แพทย์จะใช้กล้องสอดเข้าผ่านเข้าไปทางปากเข้า หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ตามลำดับ โดยก่อนตรวจแพทย์จะมีให้เลือก 2 วิธี วิธีแรกจะเป็นแบบดมยาสลบโดยสัญญีแพทย์ และอีกวิธีเป็นแบบพ่นยาชา ซึ่งผู้เข้ารับบริการสามารถเลือกได้ตามความต้องการของตัวเอง

 

ขั้นตอนเตรียมตัวก่อนตรวจ

  • งดอาการก่อนเข้ารับการตรวจ 6-8 ชั่วโมง
  • งดยากลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน 7-10 วัน เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกขณะส่องกล้อง

 

ส่องกล้องกระเพาะอาหาร

 

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ จะใช้กล้องชนิดเดียวกับส่องกล้องกระเพาะอาหาร และมีวิธีการตรวจ 2 วิธีเหมือนกัน แต่จะมีจุดที่แตกต่างอยู่ คือ ท่อจะสอดเข้าทางทวารหนัก ไปจนถึงลำไส้ใหญ่

 

ขั้นตอนเตรียมตัวก่อนตรวจ

  • 1 วันก่อนตรวจ เน้นทานแต่อาหารเหลวแบบไร้กากใย เช่น น้ำซุป อาหารอ่อน ๆ หรือโจ๊ก
  • งดรับประทานยาบางประเภท เพื่อป้องกันอาการข้างเคียง

หลังจากส่องกล้องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ ไม่แนะนำให้กลับบ้านด้วยตัวเอง เพราะฤทธิ์ของยาชา หรือยาสลบ จะทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย มึนงง อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ ส่วนผู้ป่วยที่ส่องลำไส้ อาจจะมีอาการท้องอืดจากลม ดังนั้นควรนอนนิ่ง ๆ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ในวันที่เข้ารับบริการแนะนำให้พาญาติมาด้วย

 

ส่องกล้องทางเดินอาหาร สินแพทย์

 

ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ ที่ไหนดี

ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ ที่ไหนดี แนะนำให้ตรวจกับสถานพยาบาลที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานในระดับสากล เครื่องมือเทคโนโลยีล้ำสมัย พร้อมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็นหนึ่งในตัวช่วยสำหรับการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ และที่สินแพทย์ เสรีรักษ์ เป็นคำตอบของทุกข้อที่กล่าวมา

 

แพ็กเพจส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่

แพ็กเพจส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์ มีให้เลือกทั้งหมด 3 แพ็กเกจ ได้แก่

  •  แพ็กเกจส่องกล้องกระเพาะอาหาร ราคา 14,000 บาท
  •  แพ็กเกจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ราคา 24,000 บาท
  • ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ ราคา 37,000 บาท

อย่ากลัวที่จะตรวจสุขภาพประจำปี อย่ากลัวที่เช็กร่างกายให้ละเอียด เพราะหากเกิดความผิดปกติใด ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารแล้วปล่อยทิ้งไว้ อาจจะนำไปสู่ปัญหาลุกลาม จนรักษาไม่ทันและเกิดความสูญเสียในที่สุด 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์ หวังอยากให้ทุกคนมีสุขภาพยืนยาว ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ไร้โรคภัย ดังนั้นไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าหมั่นตรวจเช็กร่างกายอย่างสม่ำเสมอประโยคส่งท้ายสำหรับบทความนี้ “การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” แต่ถ้าหากพบเจอโรคแล้วการเข้ารับการรักษาให้ทันท่วงที จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาแข็งแรงได้ดั่งเดิม

SHARE