กู้ชีพ กู้ภัย ผ่าตัดบายพาสรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ตรงจุด

27 พ.ย. 2567 | เขียนโดย โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

การผ่าตัดบายพาสหัวใจ เป็นการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่มีอาการรุนแรง ในวันนี้จะพามาดูว่า ทำไมต้องผ่า วิธีการผ่าเป็นยังไง รวมถึงการดูแลตัวเองก่อนและหลังผ่าตัด



กู้ชีพ กู้ภัย ผ่าตัดบายพาสหัวใจ รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้อย่างตรงจุด

ปัจจุบันนี้พบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจมีจำนวนเยอะขึ้นเรื่อย ๆ จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป และโรคที่นิยมเป็นกันมากที่สุด ได้แก่ โรคหัวใจตีบ การรักษาก็จะมีให้เลือกหลายวิธี หนึ่งในนั้นคือการบายพาสหัวใจเพื่อรักษาโรคหัวใจยอดฮิตที่ผู้คนกำลังเผชิญมากที่สุดในตอนนี้

ซึ่งการบายพาสหัวใจ หรือ Coronary Artery Bypass Grafting (CABG) คือการผ่าตัดที่จะทำการสร้างเส้นเลือดใหม่เพื่อเลี่ยงบริเวณที่หลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีขึ้น ในวันนี้สินแพทย์จะพาไปดูว่าจริง ๆ แล้วการรักษาในลักษณะนี้มีโรคหัวใจแบบไหนทำได้บ้าง การเตรียมตัวก่อน และหลังผ่าตัด รวมไปถึงเหตุผลว่าทำไมต้องมารักษากับเรา

 

 

โรคหัวใจแบบไหนบ้าง ที่ต้องผ่าตัดบายบาสหัวใจ

โรคหัวใจที่ต้องผ่าตัดบายพาสหัวใจ มี 2 โรคหลัก ๆ ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหัวใจตีบ โดยทั้ง 2 โรคมีลักษณะอาการเด่น ๆ ดังนี้

 

 

โรคหัวใจขาดเลือด

โรคหัวใจขาดเลือดเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก หากปล่อยทิ้งไว้ อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น หัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดกล้ามเนื้อหัวใจตาย

 

 

โรคหัวใจตีบ

โรคหัวใจตีบ หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นโรคที่เกิดจากการสะสมของไขมัน คอเลสเตอรอล และสารอื่น ๆ ภายในผนังหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงหัวใจ ทำให้หลอดเลือดค่อย ๆ แคบลงเรื่อย ๆ จนเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหัวใจวายได้

นอกจากรักษา 2 โรคนี้แล้ว ยังมีภาวะอื่น ๆ ที่สามารถผ่าตัดบายพาสหัวใจได้เช่นเดียวกัน คือ ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ลิ่มเลือดอุดตัน ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน รวมถึงโรคหัวใจวายและล้มเหลวเฉียบพลันด้วย

 

 

ผ่าตัดบายบาสหัวใจ เหมาะกับใคร

ผ่าตัดบายบาสหัวใจ เหมาะกับกลุ่มผู้ป่วยดังนี้

 

  • มีประวัติเป็นโรคหัวใจตีบ หรือหลอดเลือดหัวใจอุดตันมาก่อนหน้า
  • เคยได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • ผู้ป่วยหัวใจวายที่แพทย์ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีบอลลูนกับขวดลวดถ่างขยาย เพราะมีปัจจัยเสี่ยงในการหลอดเลือดหัวใจฉีกขาด ตำแหน่งอุดตันของหลอดเลือดซับซ้อน และความแข็งตัวของผนังหลอดเลือดสูง
  • ผู้ป่วยเบาหวานและไตวายเรื้อรัง ที่มีหลอดเลือดอุดตัน
  • มีโรคลิ้นหัวใจตีบและลิ้นหัวใจรั่ว ที่ประเมินแล้วว่าควรผ่าตัด

 

 

อาการแบบไหน ต้องผ่าตัดบายพาสหัวใจ

อาการที่บ่งบอกว่าควรผ่าตัดบายพาสหัวใจ มีดังนี้

 

  • รู้สึกเแน่นบริเวณลิ้นปี่ เหมือนมีของหนัก ๆ มาทับ
  • เจ็บหน้าอกรุนแรง ร้าวไปที่หัวไหล่ด้านซ้าย และยังไปถึงหลัง กราม และใต้คาง
  • หายใจลำบาก ใจสั่น เหงื่อออกเยอะ เหนื่อยง่าย
  • มีอาการวูบ หมดสติ เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น
  • การบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายมีปัญหา หรือตีบอย่างรุนแรง

 

 

 

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

 

 

 

วิธีการผ่าตัดบายพาสหัวใจ

การผ่าตัดบายพาสหัวใจมีหลายวิธี โดยหลัก ๆ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักตามการใช้งานเครื่องปอดและหัวใจเทียม ดังนี้

 

 

ผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ แบบพึ่งพาการใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม

ผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ แบบพึ่งพาการใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม วิธีผ่าตัดนี้แพทย์จะใช้เทคนิคทำให้การเต้นหัวใจหยุดลงชั่วคราว โดยใช้ปอดกับหัวใจเทียมทดแทนในการทำหน้าที่สูบฉีดเลือดและนำมาเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จนกว่าการผ่าตัดจะสำเร็จลุล่วง วิธีนี้ได้รับการยอมรับจากศัลยแพทย์แผนกหัวใจในวงกว้าง ว่าเป็นการรักษาที่ดีต่อผู้ป่วยในระยะยาว

 

 

ผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ แบบไม่พึ่งพาเครื่องปอดและหัวใจเทียม

วิธีนี้ค่อนข้างจะความหมายตรงตัวกับหัวข้อ คือ การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ แบบไม่พึ่งพาเครื่องปอดและหัวใจเทียม แพทย์จะไม่ทำให้หัวใจหยุดเต้น แต่จะมีการใช้เครื่องมือ Local Stabilizer อุปกรณ์ที่ช่วยในการผ่าตัด สำหรับการยึดเกาะให้หยุดนิ่ง โดยในที่นี้จะยึดเกาะหัวใจส่วนที่จะต่อเส้นเลือด ในขณะที่ส่วนอื่น ๆ ยังคงสามารถทำงานได้ตามปกติ วิธีนี้จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนได้

 

 

การวินิจฉัย ก่อนการผ่าตัดบายพาสหัวใจ

การวินิจฉัย ก่อนการผ่าตัดบายพาสหัวใจ แบ่งได้ 2 ประเด็นหลัก ๆ

 

สอบถามประวัติ

 

  • สอบถามประวัติเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย ว่ามีอาการเจ็บหัวใจ เจ็บหน้าอก ใจสั่น หอบเหนื่อย หน้ามืด หรือหมดสติหรือไม่
  • คนในครอบครัว หรือตัวผู้ป่วยเคยมีประวัติเคยป่วยเป็นโรคหัวใจมาก่อนหรือไม่ เช่น หัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน 
  • เคยได้รับการยืนยันว่าป่วยด้วยโรคไขมันเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคไตวายหรือไม่
  • แพทย์เคยประเมินว่าพบความผิดปกติต่าง ๆ ของการตรวจคัดกรองโรคหัวใจมาก่อนหรือไม่ เช่น ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เดินสายพาน เอคโค่หัวใจ หรือการ CT Scan หลอดเลือดหัวใจ

 

ตรวจสุขภาพหัวใจ

 

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG/ECG
  • การตรวจเอคโค่หัวใจ บอกประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ ณ เวลานั้น
  • ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย ทั้งการเดินสายพาน และปั่นจักรยาน
  • การฉีดสวนหัวใจ หรือการทำ CT Scan หลอดเลือดหัวใจ

 

 

เจ็บหัวใจ

 

 

ขั้นตอนเตรียมตัวก่อนผ่าตัดบายพาสหัวใจ

ขั้นตอนเตรียมตัวก่อนผ่าตัดบายพาสหัวใจ ทำได้โดย

 

  • 1 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด แพทย์จะให้งดยาบางชนิด อาทิเช่น ยาโคลพิโดเกรล ต้านการแข็งตัวของเลือด ยาแอสไพริน ยายดการอักเสบ ยาไอบลูโพรเฟน และยานาพรอกเซน ยาแก้ปวดระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
  • งดการดื่มแอลกอฮล์ และงดบุหรี่
  • งดอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด

 

 

ขั้นตอนดูแลตัวเองหลังผ่าตัดบายพาสหัวใจ

เมื่อผ่าตัดเรียบร้อย ต่อมาจะเป็นขั้นตอนเตรียมตัวหลังผ่าตัดบายพาสหัวใจ ทำได้โดย

 

  • แพทย์จะให้อยู่ห้อง ICU 1-2 วันเพื่อดูอาการ หากร่างกายตอบสนองต่อการรักษา จะทำเคลื่อนย้ายไปห้องผู้ป่วยปกติ
  • แพทย์จะสั่งจ่ายยาแก้ปวด เพื่อลดอาการเจ็บปวด รวมถึงยาป้องกันภาวะแทรกซ้อนอย่างลิ่มเลือดอุดตัน
  • ผู้ป่วยจะต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายให้เหมาะกับสุขภาพของหัวใจอย่างสม่ำเสมอ

 

 

ผ่าตัดบายพาสหัวใจ ที่สินแพทย์ ดียังไง

ผ่าตัดบายพาสหัวใจ ที่สินแพทย์ ดียังไง โรงพยาบาลสินแพทย์เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำที่มีศูนย์หัวใจที่ทันสมัยและมีประสบการณ์ในการรักษาโรคหัวใจมานานหลายปี การเลือกทำการผ่าตัดบายพาสหัวใจที่โรงพยาบาลสินแพทย์มีข้อดีดังนี้

 

  • ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ : โรงพยาบาลสินแพทย์มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจที่มีประสบการณ์สูงในการทำการผ่าตัดบายพาสหัวใจ
  • เทคโนโลยีที่ทันสมัย : โรงพยาบาลสินแพทย์มีเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ช่วยให้การผ่าตัดมีความแม่นยำและปลอดภัยมากขึ้น
  • การดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด : โรงพยาบาลสินแพทย์ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการผ่าตัด
  • มาตรฐานความสะอาด : โรงพยาบาลสินแพทย์ให้ความสำคัญกับความสะอาดและปลอดภัยของผู้ป่วย

 

หากคุณสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผ่าตัดบายพาสหัวใจที่โรงพยาบาลสินแพทย์ สามารถสอบถามได้ที่โรงพยาบาลโดยตรง

 

 

SHARE