อาการเจ็บหน้าอก (Chest Pain) หมายถึง ความไม่สุขสบายใด ๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณหน้าอก โดยมีสาเหตุจากหลายประการ สิ่งแรกที่เราควรทำความเข้าใจ คือ การเจ็บหน้าอก ไม่เท่ากับ เป็นโรคหัวใจ การเจ็บที่หน้าอกอาจเป็นโรคติดเชื้อที่ผิวหนัง เช่น งูสวัด, เกิดจากกล้ามเนื้อกระดูกอ่อนที่อยู่ข้างใต้มีการอักเสบ หรือ เกิดจากเยื่อหุ้มปอด หรือ เยื่อหุ้มหัวใจมีการอักเสบก็ได้ ดังนั้นแล้ว การเจ็บหน้าอก เป็นเพียงหนึ่งในอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเท่านั้น อาการเจ็บหน้าอกที่เข้าได้กับโรคหัวใจขาดเลือด จะมีลักษณะเจ็บแน่น ๆ อึดอัด เจ็บตื้อ ๆ รู้สึกเหมือนถูกรัด หรือ มีบางอย่างหนัก ๆ มากดทับบริเวณหน้าอก อาจมีร้าวขึ้นกราม หรือ ลามไปหลัง สะบัก แขน ได้ ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยแยกโรคอื่น ๆ ออกไปได้ คือ ประวัติลักษณะการเจ็บป่วยที่ผู้ป่วยเป็น หากคุณเล่าอาการที่เกิดขึ้นให้คุณหมอฟังได้ดีจะช่วยให้การวินิจฉัยโรคเป็นไปได้ง่าย เร็ว และแม่นยำขึ้น
โรคหัวใจ คือกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติที่หัวใจ เป็นคำรวมกว้าง ๆ ไม่ได้สื่อความใด ๆ โรคหัวใจมีหลายชนิด ยกตัวอย่าง ได้แก่
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease)
- โรคลิ้นหัวใจตีบ หรือ รั่ว (Valvular Heart Disease)
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ (Cardiomyopathy)
- โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) เป็นคำรวมโรคอีกเช่นกัน ต้องวินิจฉัยจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ความเสี่ยงแต่ละโรคมีความแตกต่างกัน
- ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) เป็นภาวะ ยังไม่ใช่โรค หัวใจล้มเหลวเกิดได้จากหลายสาเหตุตามโรคข้างต้นในข้อ 1-4 กล่าวคือ สุดท้ายแล้ว โรคต่าง ๆ ที่เกิดกับหัวใจ สามารถส่งผลให้หัวใจทำงาน สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ไม่ดี หัวใจล้มเหลวจึงเป็นผลลัพท์จากโรคเรื้อรังต่าง ๆ เป็นปลายทางหากเราควบคุมโรคได้ไม่ดี
ในที่นี้ จะขอกล่าวเฉพาะอาการของกลุ่มโรคหัวใจที่พบได้บ่อยที่สุด คือ อาการของหลอดเลือดหัวใจตีบที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มาถึงตรงนี้อาจทำให้หลายคนนึกถึงอาการ ”เจ็บหน้าอก”
อาการเจ็บหน้าอก (Chest Pain) หมายถึง
ความไม่สุขสบายใด ๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณหน้าอก โดยมีสาเหตุจากหลายประการ สิ่งแรกที่เราควรทำความเข้าใจ คือ การเจ็บหน้าอก ไม่เท่ากับ เป็นโรคหัวใจ การเจ็บที่หน้าอกอาจเป็นโรคติดเชื้อที่ผิวหนัง เช่น งูสวัด, เกิดจากกล้ามเนื้อกระดูกอ่อนที่อยู่ข้างใต้มีการอักเสบ หรือ เกิดจากเยื่อหุ้มปอด หรือ เยื่อหุ้มหัวใจมีการอักเสบก็ได้ ดังนั้นแล้ว การเจ็บหน้าอก เป็นเพียงหนึ่งในอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเท่านั้น อาการเจ็บหน้าอกที่เข้าได้กับโรคหัวใจขาดเลือด จะมีลักษณะเจ็บแน่น ๆ อึดอัด เจ็บตื้อ ๆ รู้สึกเหมือนถูกรัด หรือ มีบางอย่างหนัก ๆ มากดทับบริเวณหน้าอก อาจมีร้าวขึ้นกราม หรือ ลามไปหลัง สะบัก แขน ได้ ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยแยกโรคอื่น ๆ ออกไปได้ คือ ประวัติลักษณะการเจ็บป่วยที่ผู้ป่วยเป็น หากคุณเล่าอาการที่เกิดขึ้นให้คุณหมอฟังได้ดีจะช่วยให้การวินิจฉัยโรคเป็นไปได้ง่าย เร็ว และแม่นยำขึ้น
นอกจากนี้ กลุ่มอาการที่ควรรู้ เพราะมักพบร่วมกับหัวใจขาดเลือด คือ
อาการหัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย เมื่อเรารักษาไม่ทันจะทำให้หัวใจที่เปรียบเสมือนปั๊มน้ำของร่างกาย บีบตัวได้ไม่ดี โดยจะมีอาการดังต่อไปนี้
- เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง ทำงานไม่ไหว หายใจไม่ทัน (จากเดิมที่เคยทำได้) หรือ บางรายอาจหน้ามืด ใจสั่นได้
- อาการของน้ำท่วมปอด ได้แก่ นอนหลับไปแล้วลุกตื่นมาตอนกลางคืนเพราะรู้สึกหอบเหนื่อย หายใจไม่ทัน แต่จะดีขึ้นเมื่อได้ลุกขึ้นเดิน หรือ ในรายที่เป็นมากอาจนอนราบไม่ได้ ต้องนอนหัวสูงใช้หมอนหลายใบ หรือ สุดท้ายต้องนั่งหลับแทนการนอน เป็นต้น
- อาการน้ำเกินอื่น ๆ ได้แก่ ขาเท้าบวม กดบุ๋ม ตับโตทำให้จุกแน่นลิ้นปี่ เบื่ออาหาร
วิธีการตรวจโรคหัวใจ
วิธีที่ดีที่สุดคือ การเข้ารับการตรวจสุขภาพหัวใจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะมีวิธีการ และเครื่องมือวินิจฉัยที่แม่นยำ เพื่อการวินิจฉัยความเสี่ยงของโรคที่เที่ยงตรง โดยแบ่งออกเป็น
การตรวจเบื้องต้น
- การซักประวัติอย่างละเอียด ถึงอาการเจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ การสังเกตอาการ และแจ้งประวัติที่ถูกต้อง ชัดเจน จะมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำยิ่งขึ้น
- ตรวจร่างกายเบื้องต้น ด้วยการสังเกต : ดู ฟัง คลำ เคาะ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory Investigation)
คือ การตรวจเลือด หรือ สารคัดหลั่งใด ๆ เพื่อประเมินสุขภาพ ยืนยันการวินิจฉัยโรค หรือ ติดตามการรักษาการตรวจ และสืบค้นโรคหัวใจจาก Lab Test แบ่งออกได้ดังนี้
- Basic Lab คือ การตรวจพื้นฐานทั่วไป เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ และตรวจหาโรคร่วมที่อาจส่งผลต่อการรักษา เช่น ระดับน้ำตาลในเลือด (ค้นหาโรคเบาหวาน) ระดับไขมันในเลือด (เช่น LDL (ไขมันเลว), ไตรกลีเซอไรด์ และ HDL (ไขมันดี) เป็นต้น) ค่าครีเอติน (Creatinine) กรดยูริก (Uric Acid) และประเมินการทำงานของไต เป็นต้น
- Cardiac Biomarkers คือ การตรวจวิเคราะห์สารชีวเคมีในเลือด เพื่อช่วยในการวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ ภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น HS-Cardiac Troponin, NT-proBNP
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG : Electrocardiography) คือ การวัดไฟฟ้าของหัวใจออกมาสร้างเป็นกราฟ ทำให้เห็นความสัมพันธ์ของการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ ช่วยในการวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) รวมถึงภาวะความผิดปกติอื่น ๆ ทางระบบหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ, ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ เป็นต้น)
นอกจากนี้เราสามารถติดกราฟไฟฟ้าหัวใจให้กับผู้ป่วยขณะที่ออกกำลังกาย โดยการวิ่งสายพาน หรือ ปั่นจักรยาน เพื่อสืบค้นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเบื้องต้นได้ เรียกว่า การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST : Exercise Stress Test)
และในโรงพยาบาลบางแห่งมีเทคโนโลยีที่สามารถวัดปริมาณออกซิเจน (O2) และ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ระหว่างการออกกำลังกายควบคู่ไปกับการติดกราฟไฟฟ้าหัวใจ ช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำยิ่งขึ้น ได้ข้อมูลเพิ่มเติมในการประเมินสมรรถภาพร่างกาย และใช้ในการติดตามสุขภาพหัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อโดยรวมในแต่ละปีได้ เรียกว่า CPET (Cardiopulmonary Exercise Test)
- Cardiac Imaging คือ การสืบค้นด้วยการแสดงภาพของหัวใจ
-
- การเอ็กซ์เรย์ทรวงอก (Chest X-Ray)
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (Echocardiography)
- การวัดปริมาณแคลเซียมที่เกาะตามหลอดเลือดหัวใจ (Calcium Score)
- การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (Coronary CTA)
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac MRI)
ทั้งนี้ทั้งนั้น การตรวจแบบต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยว่าสงสัยภาวะใด นอกจากนี้ยังใช้พยากรณ์โรคได้อีกด้วย
ถ้าไม่มีอาการ จำเป็นต้องตรวจสุขภาพหัวใจไหม?
ไม่ว่าคุณจะมีอาการที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่ ก็ควรตรวจสุขภาพของหัวใจเป็นประจำ เพราะ โรคหัวใจบางชนิด สามารถป้องกันได้ นอกจากนี้โรคหัวใจบางประเภทไม่แสดงอาการ หรือ มีอาการไม่ชัดเจน หากเราไม่ตรวจ ทำให้เราไม่รู้ถึงโรคที่เป็นอยู่ และกว่าจะรู้ก็อาจสายไปแล้ว
สามารถตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมตรวจสุขภาพหาปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น
พร้อมโปรโมชันพิเศษ คลิก https://bit.ly/3DmNly3
พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์หัวใจ หรือ ศูนย์หัวใจล้มเหลว ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)