ไม่กินน้ำตาล เป็นเบาหวานได้ไหม

5 พ.ย. 2564 | เขียนโดย ศูนย์เบาหวานและศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลสินแพทย์

โรคเบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เป็นโรคเรื้อรังที่หากเป็นแล้วจะไม่หายขาด แต่สามารถรักษาได้ โดยต้องการการดูแลติดตามต่อเนื่องไปตลอดชีวิต หากคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี ย่อมส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้แก่ ระบบหัวใจ และหลอดเลือด ระบบประสาทส่วนปลายที่ทำให้ชา เกิดแผลง่าย แต่หายช้า และอาจลุกลามถึงขั้นต้องตัดขา เป็นต้น ศูนย์เบาหวานและศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลสินแพทย์



โรคเบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เป็นโรคเรื้อรังที่หากเป็นแล้วจะไม่หายขาด แต่สามารถรักษาได้ โดยต้องการการดูแลติดตามต่อเนื่องไปตลอดชีวิต หากคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี ย่อมส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้แก่ ระบบหัวใจ และหลอดเลือด ระบบประสาทส่วนปลายที่ทำให้ชา เกิดแผลง่าย แต่หายช้า และอาจลุกลามถึงขั้นต้องตัดขา เป็นต้น

 

เบาหวานเกิดจากอะไร ? การทานหวานเป็นสาเหตุใช่หรือไม่ ?

การทานหวานไม่ได้ทำให้เป็นเบาหวานได้โดยตรง คนที่ทานหวานบางคนจึงไม่เป็นเบาหวาน แต่อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนได้ เพราะร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลส่วนเกินเป็นไขมันสะสมในร่างกาย กลับกัน คนที่ไม่ทานหวานเลย ก็อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ เพราะการเกิดโรคเบาหวาน มีปัจจัยมากกว่านั้น

 

  1. ปัจจัยภายใน หรือ พันธุกรรม :

    เบาหวานมีสองชนิด เกิน 95% ของผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกคือชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus) เป็นชนิดที่มีความสัมพันธ์กับพันธุกรรมมักได้ประวัติเบาหวานในครอบครัว หากเรามีญาติสายตรง ได้แก่ พ่อ แม่ พี่ น้อง จะทำให้ตัวเรา และลูกของเรามีโอกาสเป็นเบาหวานเพิ่มมากขึ้น

 

  1. ปัจจัยภายนอก :

    พฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือ Lifestyle ของบุคคลนั้น ได้แก่

  • พฤติกรรมการรับประทานอาหาร “You are what you eat” การทานอาหารแปรรูป อาหารที่มีไขมันทรานส์สูง เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • ลักษณะกิจกรรมการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มีลักษณะนั่งโต๊ะเป็นหลัก มีการขยับร่างกายน้อย เรียกว่า “Sedentary Lifestyle” เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือด ใช้พลังงานน้อย ทำให้เหลือพลังงานสะสมเยอะจนเกิดเป็นโรคอ้วน เพิ่มความเสี่ยงเบาหวานได้ในที่สุด
  • การสูบบุหรี่ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ในการสร้างอินซูลินเสื่อมเร็วขึ้น เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเบาหวาน
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์ เป็นต้น) แอลกอฮอล์นั้นให้พลังงานสูง 1 กรัมของแอลกอฮอล์ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี่ ขณะที่คาร์โบไฮเดรต 1 กรัมให้พลังงานเพียง 4 กิโลแคลอรี่  จะเห็นได้ว่าแอลกอฮอล์ให้พลังงานสูงกว่าถึง 2 เท่า ดังนั้นการดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้อ้วนได้ง่าย นอกจากนี้คนที่ดื่มปริมาณมาก ๆ อาจทำให้เกิดภาวะตับอ่อนอักเสบฉับพลัน เกิดอันตรายรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ หรือ กลายเป็นเบาหวานแบบต้องใช้อินซูลิน และต้องทานเอนไซม์ย่อยอาหารทดแทนหน้าที่ของตับอ่อนที่เสียไปชั่วชีวิต
  • ความเครียด และการอดนอน ด้วยสังคมปัจจุบันที่เร่งรีบ และมีการแข่งขันที่สูง การเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ใน Social Media รวมถึงการทำงานที่เปลี่ยนไปเป็นแบบ “Work From Home” และการเรียนออนไลน์ ทำให้เส้นแบ่งเวลาทำงาน และเวลาพักผ่อนหายไป ต้องทำงาน และประชุมในตอนกลางดึก หรือ แม้แต่ช่วงวันหยุด ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ จนสะสมและเกิดความเครียด และจะเกิดการกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ และผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ส่งผลร้ายต่อทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิตใจ

 

จากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น น่าจะทำให้เราเห็นแล้วว่า โรคเบาหวานนั้นอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่หลายคนคิด นอกจากนี้ยังทำให้มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนอย่างโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงที่มีความคล้ายคลึงกัน และอาจมีอาการของโณครุนแรงกว่าคนทั่วไปอีกด้วย ดังนั้น เราควรตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อประเมินร่างกาย และรับคำแนะนำเรื่องการดูแลสุขภาพจากแพทย์ชำนาญการ

 

สุขภาพหัวใจ สำคัญอย่างไร ทำไมถึงต้องตรวจ

 

 

สามารถตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมตรวจสุขภาพหาปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น

พร้อมโปรโมชันพิเศษ คลิก https://bit.ly/3DmNly3

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์หัวใจ หรือ ศูนย์หัวใจล้มเหลว ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

SHARE