โรคอ้วนในเด็กผลเสียรอบด้าน

4 มี.ค. 2563 | เขียนโดย รพ. สินแพทย์ ลำลูกกา

โรคอ้วนในเด็กส่งผลเสียรอบด้าน

โรคอ้วน เป็นปัญหาที่พบมากขึ้นในเด็ก สาเหตุเกิดจากกรรมพันธุ์และ lifestyle รูปแบบอาหาร การกินที่เปลี่ยนแปลงไป เด็กๆ หลายคนมีปัญหาติดเกมส์คอมพิวเตอร์ หรือมือถือ ชอบดูทีวี ไม่ออกกำลังกาย ชอบกินขนมกรุบกรอบมากขึ้น จึงทำให้เด็กในยุคปัจจุบันมีภาวะอ้วนมากขึ้น

 

เมื่อไหร่…? ควรพาเด็กมาพบแพทย์

  1. เมื่อดูจากกราฟการเจริญเติบโต ในสมุดวัคซีนของเด็กแล้วพบว่าน้ำหนักเริ่มเบี่ยงเกินค่ามาตรฐาน
  2. สังเกตเด็กอ้วนมากกว่าเด็กอายุเดียวกัน
  3. เด็กมีอาการนอนกรน หรือ ชอบนอนหลับกลางวัน ซึ่งเป็นอาการเบื้องต้นของภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ

**หากสงสัยว่าลูกเริ่มมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ปรึกษากุมารแพทย์เฉพาะทางคลินิกต่อมไร้ท่อ…เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกรัก ในระยะยาว**

 

ผลกระทบต่อสุขภาพ ของเด็กที่เป็นโรคอ้วน

ระบบทางเดินหายใจ 

เด็กอ้วนอาจเกิดภาวะนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ จากภาวะ ทางเดินหายใจอุดกั้น ทำให้สมอง ขาดออกซิเจน การเรียนแย่ลง หากไม่ได้รับการรักษา จะเกิด ความดันเลือดในปอดสูงนำมา ซึ่งภาวะหัวใจล้มเหลว

 

ระบบหัวใจและหลอดเลือด 

เกิดความดันในเลือดสูงขึ้นกว่าปกติ มีผลทำให้ หลอดเลือดแดงมีผนังหนาและอุดตัน ทำให้กล้ามเนื้อ หัวใจขาดเลือดได้

 

ระบบต่อมไร้ท่อ

เกิดเบาหวานชนิดที่สอง ไขมันในเลือดสูง กลุ่มอาการเมตาบอลิก นอกจากนี้ในเด็กหญิง ก่อนเข้าวัยรุ่นอาจมีภาวะเป็นสาวก่อนวัย หลังเข้า วัยรุ่นอาจมีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีสิว ขนดก หนวดขึ้น ซึ่งเกิดจากกลุ่มอาการถุงน้ำ จำนวนมากในรังไข่หรือที่เรียกว่า polycystic ovary syndrome

 

ระบบความนึกคิด

ทำให้เด็กขาดความมั่นใจถูกเพื่อนล้อและอาจมีอาการซึมเศร้าได้

 

ระบบทางเดินอาหารและตับ

ทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับและตับอักเสบได้

 

ระบบกระดูกและข้อ

น้ำหนักที่มากทำให้เกิดแรงกดที่เซลล์กระดูกอ่อน ในข้อเข่ามากขึ้น ทำให้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จึงเกิด อาการขาโก่ง เด็กมักมีอาการปวดเข่า เข่าไม่มั่นคง และ อาจเกิดกระดูกสะโพกเคลื่อนได้ด้วย

 

วิธีการป้องกัน และรักษา…โรคอ้วนในเด็ก

  • ควบคุมอาหารหลีกเลี่ยงอาหารจำพวก fast food ของทอดที่มีไขมันและเกลือสูง น้ำอัดลม ส่งเสริม ให้รับประทานผัก และผลไม้สดแทนน้ำผลไม้ ลดปริมาณแคลอรี่ของอาหารที่บริโภคลง 500-1,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน วิธีนี้จะช่วยให้น้ำหนัก ลดลงได้ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม ต่อ สัปดาห์
  • ปรับพฤติกรรมจำกัดเวลาดู TV และเล่นเกมส์วันละ ไม่เกิน 2 ชั่วโมง ให้ออกกำลังกายวันละ 30-60 นาท
  • พบแพทย์เพื่อตรวจหาภาวะแทรกซ้อน อาทิ ตรวจวัดระดับน้ำตาล ไขมัน และการทำงานของตับ
  • ควรทำการรักษาเมื่อตรวจพบสาเหตุ เช่น รับประทาน ยารักษาเบาหวานถ้าตรวจพบระดับน้ำตาลสูง ผิดปกติ รับประทานยาลดระดับไขมันในเลือด กรณีที่ไขมันในเลือดสูง ใช้เครื่องเป่าความดันลม เพื่อเปิดขยายทางเดินหายใจในผู้ที่มีภาวะหยุด หายใจขณะหลับ ซึ่งจะเกิดในกรณีเด็กที่มีไขมัน สะสมที่เนื้อเยื่อลำคอมากขึ้น ทำให้ทางเดินหายใจ แคบลงจนเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ หรือผ่าตัด แก้ไขขาโก่งในกรณีที่มีอาการรุนแรง เป็นต้น

 

โปรแกรมค้นหาความผิดปกติจาก…ภาวะอ้วนในเด็ก

ตรวจเลือด

  • ระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)
  • ระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือด (HbA1c)
  • ระดับไขมันในเลือด 4 ชนิด (Cholesterol, Triglyceride, HDL, LDL)
  • ตรวจสมรรถภาพการทำงานของไต (GFRP)
  • ตรวจสมรรถภาพการทำงานของไต (BUN)
  • ตรวจการทำงานของตับ (SGPT)

ตรวจปัสสาวะ

  • ระดับอัลบูมินในปัสสาวะ (UMA)

เอกซเรย์

  • กระดูกหัวเข่า 2 ข้าง (Both knee AP view)

 

หากมีข้อสงสัยสามารถปรึกษาแพทย์ หรือนัดแพทย์

>>แผนกกุมารเวชศาสตร์<<คลิก

SHARE