“โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด” เรื่องใหญ่…ของหัวใจดวงน้อย

18 พ.ค. 2565 | เขียนโดย แผนกกุมารเวชโรคหัวใจ โรงพยาบาลสินแพทย์

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คืออะไร?

เป็นโรคที่มีความผิดปกติของการสร้างหัวใจตั้งแต่ในครรภ์มารดา โดยพบได้บ่อยถึงประมาณ 6-8 ราย ต่อทารกแรกคลอด 1,000 คน ความผิดปกติทางหัวใจนี้ยังเป็นสาเหตุการแท้งในระยะแรกของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามทารกบางรายอาจไม่แสดงอาการและถูกพบในภายหลัง เช่น หลังจากเด็กกลับบ้านพร้อมมารดาไปแล้วและมีอาการที่รุนแรงเกิดขึ้น หรือบางรายตรวจพบในระหว่างแม่พามาตรวจสุขภาพรับวัคซีน หรือยามที่เด็กป่วยไข้ไม่สบาย

 

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เกิดจากอะไร?

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด บางครั้งมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม การเจ็บป่วยและการใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ประวัติมารดาติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ มารดาเป็นเบาหวาน มารดาดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์ และการใช้กลุ่มวิตามินเอเพื่อรักษาสิว

 

อาการที่สำคัญของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

  • มีอาการตัวเขียว มือเท้า และบริเวณเยื่อบุในช่องปากเขียว
  • ใช้เวลาดูดนมนาน ดูดนมแล้วพักบ่อย หายใจเร็ว หายใจทางจมูก หรือซี่โครงนาน
  • อาการเหนื่อยง่าย เลี้ยงไม่โต
  • ใจสั่น
  • ภาวะช็อค ปลายมือ ปลายเท้าเย็น ชีพจรส่วนปลายเร็วและคลำได้เบาลง

การดูแลและรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

การรักษาแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ การรักษาด้วยยา และ การผ่าตัด เนื่องจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีหลายชนิด การรักษาจึงขึ้นกับชนิดของโรคและอายุของผู้ป่วย

_______________________________________________________

หากลูกน้อยของคุณเสี่ยงเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

สามารถปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญโรคหัวใจในเด็ก ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ รามอินทรา

SHARE