สุขภาพหัวใจ สำคัญอย่างไร ทำไมถึงต้องตรวจ

5 พ.ย. 2564 | เขียนโดย ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลสินแพทย์

หัวใจวายฉับพลัน (Heart Attack) หรือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลัน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลัก อันดับ 1 ของผู้คนทั่วโลก ปัจจุบันตัวเลขของผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึงชั่วโมงละ 2 คน



หัวใจวายฉับพลัน (Heart Attack) หรือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลัน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลัก อันดับ 1 ของผู้คนทั่วโลก ปัจจุบันตัวเลขของผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึงชั่วโมงละ 2 คน

 

เหตุใดต้องตรวจสุขภาพ หาปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ รอมีอาการแล้วค่อยตรวจได้ไหม ?

ภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมัน เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด การป้องกัน และรักษาแต่เนิ่น ๆ ย่อมให้ผลลัพท์ ในการรักษาที่ดีกว่าการรักษาเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนไปแล้ว แต่เราจะเริ่มรักษาอย่างไร หากไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรคอยู่หรือเปล่า? การที่มีอาการปกติดี เท่ากับว่าไม่มีโรคจริงไหม ?

 

สิ่งที่หลายคนอาจไม่รู้

  • ปวดหัว ไม่จำเป็นต้องมาจากความดันโลหิตที่สูง มีคนมากมายที่มีอาการปวดหัว แต่ความดันปกติ แต่กลับกัน มีคนมากมายที่มีค่าความดันสูงถึง 180 – 190 มิลลิเมตรปรอท แต่กลับไม่ปวดหัว หรือมึนศีรษะแต่อย่างใด
  • อาการของโรคเบาหวาน หากเปิดตำราอ่านดู จะพบว่ามีอาการกินเก่ง ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกลางคืน ใจสั่น แต่อาการเหล่านี้อาจไม่พบเลยในระยะแรกเริ่มเป็นโรค และอาการเหล่านี้ก็มาจากสาเหตุอื่น ๆ ได้เช่นกัน
  • ระดับไขมันในเลือด ไม่ใช่ไขมันหน้าท้อง ดังนั้นภาวะไขมันในเลือดสูง ไม่จำเพาะจะต้องพบในคนอ้วนเท่านั้น แต่มีคนรูปร่างผอมมากมาย ที่มีไขมัน LDL สูงถึง 190 – 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ความดัน ถ้าอยากรู้ต้องวัด น้ำตาล และไขมัน ถ้าอยากรู้ต้องตรวจ การตรวจสุขภาพ จึงเป็นกุญแจสำคัญ ทำให้เรารู้ถึงความเสี่ยงของตนเองได้ดีที่สุด

 

ผู้ที่มีความเสี่ยง และควรรับการตรวจหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

  • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ยิ่งอายุมากขึ้น ก็ยิ่งมีความเสี่ยงโรคหัวใจเพิ่มขึ้น
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน มีดัชนีมวลกาย (BMI : Body Mass Index) ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมชอบรับประทานอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือ มีความใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ

 

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพหัวใจ

  1. ควรพักผ่อนให้เพียงพอก่อนมารับการตรวจ อย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง การพักผ่อนไม่เพียงพอนั้นส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต
  2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ รวมถึง งดการสูบบุหรี่ ก่อนเข้ารับการตรวจอย่างต่ำ 4 ชั่วโมง
  3. งดอาหาร และเครื่องดื่มอย่างน้อย 8 – 12 ชั่วโมง (สามารถดื่มน้ำเปล่าได้)
  4. ในกรณีที่มีการตรวจอัลตราซาวด์ ควรงดอาหาร และน้ำ อย่างน้อย 6 ชั่วโมง
  5. ควรสวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน

 

สุขภาพหัวใจ หากขาดการดูแลอย่างเหมาะสม อาจส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย และทำให้ยากต่อการรักษาได้ การตรวจสุขภาพ จึงเป็นการตรวจหาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่น ๆ หากเจอความผิดปกติตั้งแต่ในระยะแรก ๆ การรักษาย่อมมีประสิทธิภาพ และง่ายกว่าในระยะหลัง ปกป้องหัวใจที่มีค่าของเรา ให้มีสุขภาพที่ดี

หัวใจ

 

สามารถตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมตรวจสุขภาพหาปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น

พร้อมโปรโมชันพิเศษ คลิก https://bit.ly/3DmNly3

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์หัวใจ หรือ ศูนย์หัวใจล้มเหลว ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

SHARE