หากรับสาร สไตรีนโมโนเมอร์ Styrene ควรปฎิบัติอย่างไร

7 ก.ค. 2564 | เขียนโดย โรงพยาบาลสินแพทย์

หากได้รับสไตรีนโมโนเมอร์ ควรปฏิบัติอย่างไร เรามาทำความรู้จักสารเคมีชนิดนี้ ซึ่งเป็นสารเคมีจากสาเหตุการระเบิดภายในโรงงานผลิตเม็ดโฟม พลาสติกในซอยกิ่งแว 21 อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมวิธีดูแลตนเองและคนรอบข้างหากได้รับสารพิษชนิดนี้



หากรับสาร สไตรีนโมโนเมอร์ Styrene ควรปฎิบัติอย่างไร

Styrene คืออะไร

Styrene คือ สารเคมีที่เป็นของเหลวใส ไม่มีสี ระเหยและติดไฟง่าย ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก และ โฟม เช่น การผลิตท่อพลาสติก Fiberglass ชิ้นส่วนรถยนต์ รองเท้า ภาชนะบรรจุอาหาร เป็นเป็น

 

การเกิดพิษ

สามารถเข้าสู่ร่างกายโดยการกิน การหายใจ และสัมผัสทางผิวหนัง

 

ภาวะพิษเฉียบพลัน

  • ระคายเคืองผิวหนัง ทางเดินหายใจ
  • คลื่นไส้อาเจียนเวียนศีรษะ และ มึนงง
  • หอบ หายใจเหนื่อย
  • เป็นพิษต่อระบบประสาท กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ซึมและหมดสติ

 

ภาวะพิษเรื้อรัง

  • ผิวหนังอักเสบ
  • ค่าตับผิดปกติ
  • เป็นสารก่อมะเร็ง

 

การดูแลรักษา

ย้ายผู้ป่วยออกจากบริเวรที่สารรั่วไหล และ รักษาตามอาการ

 

สัมผัสทางการหายใจ

ย้ายผู้ป่วยไปยังบริเวณที่อากาศบริสุทธิ์ ให้ออกซิเจน 100% และให้ยาขยายหลอดลม ตามข้อบ่งชี้ ผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจควรรับไว้ สังเกตอาการในโรงพยาบาล 24 ชั่วโมง

 

สัมผัสโดนตา

หากสวม Contact Lens ให้ถอดออกแล้วล้างตาด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 15 นาที และนำส่งโรงพยาบาลหากมีอาการผิดปกติ

 

สัมผัสโดนผิวหนัง

ถอดเสื้อผ้าออกแล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 15 นาที และนำส่งโรงพยาบาลหากมีอาการผิดปกติ

 

การเกิดไฟไหม้

 

ควันไฟ

สาร Styrene เผาไหม้แล้วจะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และ คาร์บอนมอนนอกไซด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย นอกจากนี้อาจเกิดแก๊สไซยาไนด์ จากการเผาไหม้วัสดุอื่นๆ ภายในโรงงาน ซึ่งเป็นพิษรุนแรงต่อร่างกาย

 

อุปกรณ์ป้องกัน (PPE)

ในกรณีที่ไม่รู้ความเข้มข้นของสารเคมี ผู้ปฏิบัติงานควรสวมอุปกรณ์ป้องกัน แบบมีเครื่องช่วยหายใจ (SCBA) ในการปฏิบัติงาน

 

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ได้ที่ สาขาใกล้บ้านคุณ แผนกอายุรกรรม

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

 

SHARE