มีรอยช้ำ เป็นจ้ำเลือดง่าย…อันตรายหรือไม่ ?

22 ก.พ. 2564 | เขียนโดย ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ภาวะเป็นจ้ำเลือดหรือมีรอยฟกช้ำง่าย บางครั้งอาจเป็นแค่รอยช้ำปกติจากอุบัติเหตุหรือการถูกกระทบกระแทกโดยที่เราไม่รู้ตัว แต่บางครั้งก็อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคหรือความผิดปกติบางอย่าง ซึ่งควรเฝ้าระวัง



ภาวะเป็นจ้ำเลือดหรือมีรอยฟกช้ำง่าย บางครั้งอาจเป็นแค่รอยช้ำปกติจากอุบัติเหตุหรือการถูกกระทบกระแทกโดยที่เราไม่รู้ตัว แต่บางครั้งก็อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคหรือความผิดปกติบางอย่าง ซึ่งควรเฝ้าระวัง

 

โรคหรือภาวะผิดปกติที่ทำให้เกิดรอยฟกช้ำหรือเป็นจ้ำเลือดได้ง่าย แบ่งออกเป็น

  1. ความผิดปกติของผนังเส้นเลือดฝอยหรือการที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อข้างเคียงที่ช่วยปกป้องเส้นเลือดบางลง ทำให้เส้นเลือดเปราะแตกง่าย เช่น

  • ผู้สูงอายุที่ชั้นผิวหนังและชั้นใต้ผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลงบางลงตามวัย
  • การขาดวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินซี
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ เป็นเวลานาน
  1. ความผิดปกติของเกร็ดเลือดทำให้มีภาวะเกร็ดเลือดต่ำหรือเกร็ดเลือดทำงานผิดปกติ เช่น

  • โรคเกร็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกัน
  • ภาวะที่ไขกระดูกทำงานบกพร่อง โรคไขกระดูกฝ่อ
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • การติดเชื้อบางอย่าง
  • การรับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อการทำงานหรือปริมาณของเกร็ดเลือด การรับยาเคมีบำบัด
  1. ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดจากสาเหตุต่างๆ เช่น

  • การขาดวิตามินเค
  • โรคฮีโมฟีเลีย
  • การรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด

 

ถ้าท่านใดมีปัญหาเป็นรอยฟกช้ำง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีอาการผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย เช่น อ่อนเพลียง่าย ซีด น้ำหนักลด เป็นแผลแล้วเลือดหยุดยาก ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากการที่มีภาวะเลือดออกง่ายผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้

 

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ได้ที่ สาขาใกล้บ้านคุณ แผนกอายุรกรรม
คลิกลิงค์เพื่อปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทาง

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

 

SHARE