ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต… ดูแลตัวเอง ดูแลหัวใจไม่ให้ล้มเหลว

13 ก.ค. 2563 | เขียนโดย นายแพทย์เอกลักษณ์ อาจนาฝาย ศูนย์หัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว อยากมีสุขภาพดี...ต้องลงทุน คุมอาหาร ออกกำลังกาย ฉีดวัคซีนป้องกันโรค 



ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว อยากมีสุขภาพดี…ต้องลงทุน คุมอาหาร ออกกำลังกาย ฉีดวัคซีนป้องกันโรค

 

การจำกัดน้ำ หัวใจล้มเหลวบางรายต้องจำกัดน้ำ

  • โดยทั่วไปไม่ต้องจำกัดน้ำ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจแนะนำจำกัดน้ำ วันละ 1.5-2 ลิตร
  • น้ำที่ทานรวมของเหลวในอาหารอื่นๆ ด้วย ได้แก่ แกงจืด นม น้ำหวาน น้ำผลไม้
  • ไม่ซื้อยาทานเองโดยไม่จำเป็นเพราะยาบางชนิดทำให้น้ำเกินได้ เช่น ยาชุด ยาลูกกลอน ยาแก้ปวด
  • จำกัดโซเดียม = จำกัดน้ำทานโซเดียมมากไป เกิดภาวะคั่งน้ำ การลดเค็มช่วยคุมน้ำอีกวิธีหนึ่ง
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว แนะนำจำกัดการทานโซเดียม ≤ 2 กรัม / วัน

 

การจำกัดน้ำหนัก รู้จักชั่งน้ำหนักเพื่อติดตามภาวะน้ำเกิน

  • ปัสสาวะและขับถ่ายให้เรียบร้อย งดดื่มน้ำ งดอาหาร ไปชั่งน้ำหนักก่อน
  • เสื้อผ้าที่ใส่ควรมีน้ำหนักเบา และใกล้เคียงเดิม
  • ชั่งตอนเช้า เวลาเดิมของทุกวัน เครื่องชั่งตัวเดิม จะได้แม่นยำ
  • จดบันทึกน้ำหนักลงในสมุดแล้วนำไปพบแพทย์ด้วย
  • หากน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 กิโลกรัม ใน 2-3 วัน แสดงถึงภาวะน้ำคั่ง อาจปรับเพิ่มยาขับปัสสาวะ ตามที่แพทย์แนะนำ หรือ มาพบแพทย์ก่อนนัด

 

อาหาร211

 

อาหารสูตร 2:1:1

  • ในผู้ป่วยบางราย อาจแนะนำจำกัดน้ำวันละ 1.5-2 ลิตร งดแอลกอฮอล์ ลดน้ำหวานและน้ำอัดลม ชา กาแฟ ทานได้ แต่ใช้นมไขมันต่ำและหวานน้อย
  • ผักผลไม้ 50% ต่อมื้อ หรือ 1/2 จาน ทานผักและผลไม้หลากชนิดอย่างน้อย 5 ส่วนต่อวัน (พยายามให้ได้ 8-10 ส่วน) ทานผักและผลไม้สด งดอาหารหมัก ดอง เชื่อม กวน
  • คาร์โบไฮเดรต 25% (ข้าว แป้ง น้ำตาล บะหมี่ เผือก มัน ข้าวโพด)  รู้จักอาหารแลกเปลี่ยน รู้จักนับคาร์บ ทานธัญพืชไม่ขัดสี การคุมน้ำหนักเบื้องต้นแนะนำผู้หญิงทาน 2-3 คาร์บ/มื้ิอ ผู้ชาย 3-4 คาร์บ/มื้อ  (1 คาร์บ = 1 ส่วน = ข้าว 1 ทัพพี = ข้าว 5 ช้อนโต๊ะ ∼ 80 กิโลแคลอรี่ (Kcal))
  • โปรตีน 25% ทานเนื้อขาว (ปลา สัตว์ปีก) มากกว่าเนื้อแดง (หมู วัว)  ลดเครื่องในสัตว์ ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง การประกอบอาหารเลือกต้ม นึ่ง อบ มากกว่า ทอดด้วยน้ำมันความร้อนสูง ลดอาหารแปรรูป ได้แก่ แฮม ไส้กรอก เบคอน กุนเชียง หมูยอ หมูหยอง ผลิตภัณฑ์จำพวกนม ได้แก่ นม ชีส เนย แนะนำทานแบบไขมันต่ำ

 

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ & นิวโมคอคคัส

สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 แนะนำ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และ การติดเชื้อนิวโมคอคคัส ดังนี้

  1. แนะนำให้ฉีดในภาวะหัวใจล้มเหลว เพราะมีความเสี่ยงสูง ในการเกิดภาวะแทรกซ้อน
  2. สามารถให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ร่วมกับ วัคซีนป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสได้

 

ศูนย์หัวใจ หรือ ศูนย์หัวใจล้มเหลว 

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

SHARE