วัคซีนปอดอักเสบ เสริมภูมิต้านทาน

6 พ.ค. 2563 | เขียนโดย พญ.ร่มเย็น ศักดิ์ทองจีน ศูนย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

วัคซีนปอดอักเสบ    วัคซีนปอดอักเสบ หรือ วัคซีนนิวโมคอกคัส (Pneumococcal vaccine) เป็นวัคซีนสำหรับป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี  สำหรับประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบอยู่ 2 ชนิด โดยสามารถป้องกันเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสสายพันธุ์ต่างกัน ได้แก่ - วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (PCV 13) ป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส 13 ชนิด - วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดโพลีแซคคาไรด์ (PPSV 23) ป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส 23 ชนิด



วัคซีนปอดอักเสบ….เสริมภูมิต้านทาน พร้อมสู้ปอดอักเสบ !!!

 

โรคปอดอักเสบ (Pnemonia) เกิดจากอะไร ?

โรคปอดอักเสบ (Pnemonia)  เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง โดยเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา โดยเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ เชื้อสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae)  ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มีมากกว่า 90 สายพันธุ์

เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอีนี้ก่อให้เกิดโรคได้ตั้งแต่ คออักเสบ ปอดอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ และอาจลุกลามจนเกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบและติดเชื้อในกระแสเลือดได้

 

วัคซีนปอดอักเสบ

วัคซีนปอดอักเสบ หรือ วัคซีนนิวโมคอกคัส (Pneumococcal vaccine) เป็นวัคซีนสำหรับป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี  สำหรับประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบอยู่ 2 ชนิด โดยสามารถป้องกันเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสสายพันธุ์ต่างกัน ได้แก่

– วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (PCV 13) ป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส 13 ชนิด

– วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดโพลีแซคคาไรด์ (PPSV 23) ป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส 23 ชนิด

 

ใครบ้างที่ควรได้รับวัคซีนปอดอักเสบ ?

– ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป

– ผู้ที่มีอายุ 2-64 ปี ที่มีโรคเรื้อรังหรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น

– โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

– โรคหอบหืด

– ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ

– โรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี

– โรคหัวใจวายเรื้อรัง

– โรคตับเรื้อรัง

– โรคไตวายเรื้อรัง

– บุคคลที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง เช่น ผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างการได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ที่กำลังได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

– ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะหรือไขกระดูก

– ผู้ที่ไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานบกพร่อง

 

สำหรับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปหรือมีข้อบ่งชี้ดังกล่าวข้างต้น สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนปอดอักเสบได้ โดยระยะเวลาที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิดขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ