ภาวะโคเลสเตอรอล… ในหลอดเลือดสูง

22 ก.ค. 2563 | เขียนโดย แพทย์ผู้ชำนาญการแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ภัยร้ายของโคเลสเตอรอล หากมีโคเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์ มากเกินไป อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคต่างๆที่สำคัญ ดังนี้ สมอง ไขมันไปอุดตันในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้สมองขาดเลือด เกิดโรคอัมพฤกษ์ หัวใจ ไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย ขา หลอดเลือดแดงที่ขาโดนไขมันพอก อุดตัน ทำให้ ปวดขา ชา ขาเสียในที่สุด



โคเลสเตอรอลคืออะไร

โคเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันที่พบอยู่เป็นปกติในร่างกายทุกคน เป็นสิ่งจำเป็นในการทำงานของร่างกาย เช่นใช้ในการสร้างฮอร์โมนต่างๆ

 

ภัยร้ายของโคเลสเตอรอล

หากมีโคเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์ มากเกินไป อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคต่างๆที่สำคัญ ดังนี้

  • สมอง ไขมันไปอุดตันในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้สมองขาดเลือด เกิดโรคอัมพฤกษ์
  • หัวใจ ไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย
  • ขา หลอดเลือดแดงที่ขาโดนไขมันพอก อุดตัน ทำให้ ปวดขา ชา ขาเสียในที่สุด

 

โคเลสเตอรอลในหลอดเลือดแบ่งเป็นหลายชนิด

Total Cholesterol เป็นการวัดค่าโคเลสเตอรอลรวมของหลอดเลือด

LDL-Cholesterol เป็นโคเลสเตอรอลชนิดที่หากมีมากเกินไปอาจก่อให้เกิดภาวะอุดตันของหลอดเลือด

HDL-Cholesterol เป็นโคเลสเตอรอลชนิดที่ดี หากมีระดับสูงพอ ช่วยลดคราบที่อุดตันในหลอดเลือดได้

Triglyceride เป็นไขมันชนิดที่จำเป็นแต่หากมีมากเกินไป อาจก่อโรคหลอดเลือดแข็ง อุดตันได้เช่นกัน

 

คุณมีระดับโคเลสเตอรอลเท่าไร

Total Cholesterol 

  • < 200 เหมาะสม
  • 200-239 เกือบสูง
  • > 240 สูง

 

HDL-Cholesterol  

  • < 40 ต่ำ
  • > 60 ดี

 

LDL-Cholesterol     

  • < 100 เหมาะสม
  • 100-129 เกินเหมาะสม
  • 130-159 เกือบสูง
  • 160-189 สูง
  • > 190 สูงมาก

 

Triglyceride 

  • < 150 เหมาะสม
  • 150-199 เกือบสูง
  • 200-499 สูง
  • > 500 สูงมาก

 

หากตรวจพบว่ามีตัวเลขไม่เหมาะสม ควรได้รับการแก้ไขต่อไป แพทย์จ้เป็นผู้ให้คำแนะนำ แก่ท่านเพื่อวางแผนในการควบคุมระดับโคเลสเตอรอล ให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

ได้แก่อาหารไขมันสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไขมันชนิดอิ่มตัว

  • ปลาหมึก ไข่ปลา หอยนางรม กุ้ง
  • ตับ สมองสัตว์ เครื่องในสัตว์
  • เนื้อสัตว์ที่ติดมัน เบคอน ไส้กรอก
  • ชีส ครีม เนย
  • เค้ก คุกกี้ โดนัท
  • อาหารทอด อาหารที่ปรุงจากน้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว
  • อาหารที่มีกะทิมาก
  • ไข่แดงไมควรบริโภคเกินสัปดาห์ละ 4-7 ฟอง

 

อาหารที่ควรกิน

ได้แก่อาหารไขมันต่ำ และเส้นใยอาหารสูง จะช่วยควบคุมระดับโคเลสเตอรอล

  • ปลา เนื้อไก่ เนื้อเป็ดที่ไม่ติดหนัง
  • โปรตีนจากพืช เช่นถั่วต่างๆ และ เต้าหู้
  • นมพร่องไขมัน หรือปราศจากไขมัน
  • ผักใบเขียวและผลไม้ต่างๆ
  • ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ
  • อาหารที่มี ไฟเบอร์ ส้ม แอปเปิล ข้าวโอ๊ต ถั่วต่างๆ
  • ควรเลือกใช้น้ำมันมะกอก แทนน้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม

 

ออกำลังกายที่เหมาะสม

  • เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่นการเดิน วิ่งเหยาะๆ หรือแกว่งแขน เป็นเวลาอย่างน้อย 20-30 นาทีติดต่อกัน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
  • จะช่วยลดโคเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี LDL และช่วยเพิ่มไขมันที่ดี HDLได้

 

คำแนะนำเพิ่มเติม สำหรับผู้ต้องการลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด

  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • ตรวจระดับโคเลสเตอรอล อย่างสม่ำเสมอ ตามคำแนะนำของแพทย์
  • ลดเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์
  • งดสูบบุหรี่หากรับยาลดระดับไขมันในเลือด ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ และติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา   

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE