เนื้องอกในมดลูก เป็นก้อนเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็ง เกิดขึ้นบริเวณชั้นกล้ามเนื้อของมดลูก มีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ตั้งแต่เท่าหัวไม้ขีดไปจนใหญ่ถึงขนาดผลส้มโอลูกใหญ่ ศูนย์สุขภาพสตรี ศูนย์สูตินรีเวช โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 027935000
เนื้องอกในมดลูก เป็นก้อนเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็ง เกิดขึ้นบริเวณชั้นกล้ามเนื้อของมดลูก มีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ตั้งแต่เท่าหัวไม้ขีดไปจนใหญ่ถึงขนาดผลส้มโอลูกใหญ่ มดลูกของผู้หญิงมีลักษณะคล้ายลูกแพร์อยู่ระหว่างกระเพาะปัสสาวะที่อยู่ติดผนังท้องน้อยกับลำไส้ใหญ่ ซึ่งอยู่ด้านหลังติดกระดูกก้นกบ ส่วนปากมดลูกเป็นส่วนประกอบที่ต่อเชื่อมกับช่องคลอด และปีกมดลูกเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างรังไข่กับมดลูก
สาเหตุ ที่ทำให้เกิดเนื้องอกในมดลูก
- ยังไม่พบสาเหตุโดยตรงของการเกิดโรคเนื้องอกในมดลูก แต่เชื่อว่ากรรมพันธุ์อาจมีส่วนในการเกิดโรคเนื้องอกในมดลูก
- ซึ่งพบในผู้หญิงวัย 30-50 ปี และยังมีประจำเดือนอยู่
- พบในผู้หญิงที่มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น ก่อนอายุ 12 ปี ซึ่งพบว่ามีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไป
- การรับประทานยาคุมกำเนิด ยังไม่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเนื้องอกในมดลูก
- การได้รับฮอร์โมนทดแทนในการรักษาวัยทอง ยังไม่พบว่าทำให้ก้อนเนื้อชนิดนี้
- โรคประจำตัวบางโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง อาจทำให้เกิดเป็นโรคนี้ได้สูงกว่าคนทั่วไป
อาการ ของโรคเนื้องอกในมดลูก
ขึ้นอยู่กับ ชนิด ขนาด และ ตำแหน่ง ที่เนื้องอกเจริญเติบโตทำให้อาการ ดังต่อไปนี้
- อาการที่พบบ่อยที่สุด คือ ประจำเดือนมามากและนานกว่าปกติ ในบางคนอาจจะมีเลือดออกนานถึง 2 สัปดาห์
- มีอาการปวดหน่วงตรงท้องน้อย หรือ บริเวณหลัง หรือ ปวดเหมือนปวดประจำเดือนมากผิดปกติ หรือ นานกว่าปกติ
- คลำเจอก้อน หรือ รู้สึกได้ว่ามีก้อนเกิดขึ้นตรงบริเวณท้องน้อย หากก้อนโตมากๆ อาจดูเหมือนมีการตั้งครรภ์ ในขณะที่ประจำเดือนยังมาปกติ
- เนื่องจากมดลูกอยู่ด้านหลังกระเพาะปัสสาวะ ดังนั้น ก้อนเนื้อของมดลูกอาจทำให้เกิดการปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะบ่อยขึ้น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โดยเฉพาะเวลาที่นอนราบ
- มีอาการหน่วงท้องและท้องผูก หากก้อนเนื้อกดลงบนลำไส้ใหญ่
- แน่นท้องจากก้อนที่โตเร็ว สงสัยการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็ง โดยทั่วๆ ไปเป็นมะเร็งกล้ามเนื้อมดลูก แต่พบได้น้อย
- อาการที่พบได้แต่ไม่บ่อย เช่น เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
- ภาวะมีบุตรยาก
- มีภาวะแท้งคุกคาม
การตรวจวินิจฉัย โรคเนื้องอกในมดลูก
- ตรวจร่างกายโดยสูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการ
- ตรวจอัลตราซาวด์ ทั้งการตรวจทางหน้าท้อง และการตรวจภายใน
- ตรวจด้วยเครื่องเอกซเรยคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง CT Scan หรือ ตรวจด้วยเครื่องสนามแม่เหล็กไฟ้ฟ้า MRI
- ตรวจด้วยการส่องกล้องโพรงมดลูก
การรักษา โรคเนื้องอกในมดลูก
- ควรพบสูตินรีแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
- หากเนื้องอกมดลูกยังมีขนาดเล็ก ต้องเฝ้าติดตามอาการ อาจรับการรักษาด้วยการใช้ยา
- ตรวจติดตามด้วยการรอัลตราซาวนด์ เพื่อติดตามขนาดของก้อนเนื้องอกเป็นระยะ สูตินรีแพทย์ อาจนัดตรวจทุก 3-6 เดือน
- มีการวัดปริมาณเลือดที่ออก และควรได้รับการรักษาอาการโลหิตจาง หากมีภาวะโลหิตจางร่วมด้วย
- กรณีเนื้องอกในมดลูกส่งผลให้ผู้ป่วยเสียเลือดมาก จะใช้ยาเพื่อลดปริมาณการเสียเลือดและทำให้อาการทุเลาลง
- หากเนื้องอกมีขนาดใหญ่ ควรได้รับการผ่าตัดเนื้องอกมดลูกออก
- หากเนื้องอกมีการลุกลาม ขนาดใหญ่ และทำให้อวัยวะภายในเสียหาย อาจได้รับการผ่าตัดนำมดลูกออก ในกรณีที่ร้ายแรงและไม่ต้องการมีบุตรแล้ว