โรคฉี่หนู

28 พ.ค. 2563 | เขียนโดย พญ.ร่มเย็น ศักดิ์ทองจีน ศูนย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรคฉี่หนู หรือโรค leptospirosis คือโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คนชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อ แบคทีเรียที่มีลักษณะเป็นเส้นเกลียว ชื่อว่า Leptospira เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้พบได้ใน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ทั้ง ม้า วัว ควาย แพะ แกะ สุกร สุนัข แมว กระรอก และ หนู ทั้งหนูบ้าน หนูนา หนูพุก หนูตะเภา



โรคฉี่หนู คืออะไร

ทำไมถึงเรียกว่าโรคฉี่หนู มาจากสัตว์ชนิดใดบ้าง

โรคฉี่หนู หรือโรค leptospirosis คือโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คนชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อ แบคทีเรียที่มีลักษณะเป็นเส้นเกลียว ชื่อว่า Leptospira เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้พบได้ใน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ทั้ง ม้า วัว ควาย แพะ แกะ สุกร สุนัข แมว กระรอก และ หนู ทั้งหนูบ้าน หนูนา หนูพุก หนูตะเภา

 

โรคนี้เรียกว่า โรคฉี่หนู เนื่องจากพบว่าหนูเป็นแหล่งรังโรค และเป็นพาหะที่สำคัญ และ พบได้บ่อยที่สุด เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะมีการติดกันไปมาระหว่างสัตว์ด้วยกันโดยการ สัมผัสกันโดยตรง แล้วเชื้อจะไปอยู่ที่ท่อไตของหนูเป็นเวลานาน ทำให้หนูเป็นตัวแพร่ เชื้อที่สำคัญออกสู่สิ่งแวดล้อมผ่านทางปัสสาวะตลอดระยะเวลาที่มีเชื้ออยู่ ซึ่งมักนานเป็น ปี หรือตลอดชีวิต

 

โรคฉี่หนู มักจะระบาดในฤดูฝน และต้นฤดูหนาว เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีอุณหภูมิ และ ความชื้นพอเหมาะ ทำให้เชื้อสามารถทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน ในบริเวณที่เป็นแหล่ง น้ำขัง น้ำท่วม ท้องนา บ่อน้ำ ลำคลอง ที่โดนแดดน้อย หรือไม่โดนแดด และมีสภาวะ เป็นกลางหรือค่อนด่าง

 

คนติดเชื้อได้อย่างไร

คนรับเชื้อโรคฉี่หนูเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม

การรับเชื้อทางตรง รับโดยการสัมผัสปัสสาวะ เลือด หรือเนื้อเยื่อสัตว์ที่มีการติดเชื้อ โดยตรง เช่น ผู้ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย สัตวแพทย์ พนักงานดูแลสัตว์ เป็นต้น

หรือโดยการรับเชื้อทางอ้อมจากการสัมผัสกับเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม ได้ 3 ทางคือ

  1. ผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผลหรือรอยถลอก หรือผิวหนังปกติที่เปื่อยจากการแช่ น้ำนาน ๆ
  2. ผ่านทางเยื่อบุต่าง ๆ เช่นเยื่อบุตา จมูก ช่องปาก
  3. ผ่านทางการดื่มน้ำ หรือ กินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อ มักจะเป็นผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับสัตว์ หรือต้องสัมผัสกับ ดินแฉะ แหล่งน้ำต่าง ๆ ได้แก่ เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เหมือง แร่ ส่วนประชาชนทั่วไปที่อาศัยในเขตเมืองมักมีความเสี่ยงในช่วงหน้าฝน มีน้ำท่วม ละแวกบ้านมีหนูชุกชุม หรือเป็นนักกีฬาทางน้ำ เช่น เรือแคนู วินเซิร์ฟ สกีน้ำ เป็นต้น

 

 

อาการของคนเป็นโรคฉี่หนู

ผู้ที่ได้รับเชื้อโรคฉี่หนู มีตั้งแต่ ไม่มีอาการ มีอาการน้อย มีอาการมาก อาการรุนแรง มี ภาวะแทรกซ้อน บางรายเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนใหญ่ของผู้ที่ได้รับเชื้อจะไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย มีเพียงประมาณ 10-15% ที่จะมีอาการรุนแรง

เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะเข้ากระแสเลือดและกระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของ ร่างกาย มีระยะฟักตัวก่อนเกิดอาการเร็วช้าแต่ละคนไม่เท่ากัน บางรายเร็วภายใน 2 วัน บางรายนานหลายสัปดาห์หรือประมาณ 1 เดือน โดยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย

อาการของโรคฉี่หนูที่เป็นลักษณะเด่น ๆ จะแบ่งเป็น 2 ระยะ (biphasic pattern) คือ ระยะแรก อาการแสดงต่าง ๆ จะเป็นอาการที่เกิดจากการติดเชื้อโดยตรง ผู้ป่วยจะมี อาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดหน้าท้อง ปวดต้น ขา ปวดน่อง เจ็บคอ เจ็บหน้าอก ไอ คลื่นไส้ อาเจียน ตาแดง เยื่อบุตาบวม มีผื่น ต่อมน้ำ เหลืองโต ตับโต ม้ามโต อาการมักเป็นหลายอย่าง ๆ ร่วมกันไม่เฉพาะเจาะจงกับอวัยวะ ใดอวัยวะหนึ่ง คล้าย ๆ กับอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก มาลาเรีย ไข้ไทฟัส เป็นต้น ซึ่งอาการระยะแรกนี้มักจะเป็นอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วอาการจะดีขึ้นแต่หลัง จากนั้น 2-3 วันผู้ป่วยจะมีอาการในระยะที่ 2 ตามมา เป็นอาการที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของ ตนเองซึ่งมักทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้หลายอย่าง เช่น การเกิดภาวะเยื่อหุ้ม สมองอักเสบ ตาอักเสบ หลอดเลือดอักเสบ ปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เลือด ออกในเนื้อปอด ตัวเหลืองตาเหลืองหรือภาวะดีซ่าน ไตวายเฉียบพลัน ภาวะเลือดออก ง่ายตามอวัยวะต่าง ๆ และอาจทำให้อวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลวและเป็นอันตรายถึงชีวิตใน ที่สุด

 

อันตรายของโรคฉี่หนู

 

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนมาก อาจเกิดความทุพพลภาพตามมาหรือ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ภาวะแทรกซ้อนระยะหลัง หรือระยะยาวที่อาจเกิดตามมาได้แก่ ภาวะเยื่อบุตาอักเสบ เรื้อรัง ม่านตาอักเสบเรื้อรัง (uveitis , iridocyclitis) ซึ่งอาจทำให้การมองเห็นผิดปกติได้ ผู้ที่เคยเป็นแล้วสามารถเป็นซ้ำได้อีก

 

การวินิจฉัยโรคฉี่หนู

แพทย์วินิจฉัยโรคฉี่หนูจากประวัติความเสี่ยงในการรับเชื้อ อาการแสดง การตรวจ ร่างกาย และการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น เป็นหลัก เนื่องจากการเพาะเชื้อ leptospira โดยตรงทำได้ยากและใช้เวลานาน การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยัน การวินิจฉัยในปัจจุบันจึงใช้วิธีตรวจภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นจำเพาะต่อเชื้อเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามการแปลผลก็ต้องใช้ความระมัดระวังและต้องอ้างอิงตามอาการผู้ ป่วยในเวลานั้นด้วย

 

วิธีการรักษา

การักษาหลักคือการให้ยาปฎิชีวนะที่เหมาะสมกับอาการผู้ป่วย ให้ยารักษาบรรเทา อาการต่าง เฝ้าระวังและรักษาภาวะแทรกซ้อน

 

ควรดูแลตนเองอย่างไร? ป้องกันโรคฉี่หนูได้อย่างไร?

  1. ดูแลที่อยู่อาศัยให้สะอาด ไม่ให้มีหนูมาอยู่อาศัย
  2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อโดยไม่ใส่เครื่องป้องกัน เช่น การย่ำน้ำขัง การเดินลุยน้ำ หรือทำงานในแหล่งน้ำ เป็นต้น
  3. ควรสวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบู๊ต ถุงมือยาง ถุงเท้ายาง เมื่อต้องทำงานที่ เกี่ยวข้องกับสัตว์ที่อาจมีเชื้อ หรือต้องทำงานในพื้นที่เสี่ยง
  4. รีบทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วหากสัมผัสกับแหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจมีเชื้อปน เปื้อน
  5. เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรแยกบริเวณที่เลี้ยงสัตว์กับที่อยู่อาศัยของคนให้ชัดเจน เช่นมีคอกกั้น ไม่ให้สัตว์เข้ามาในบริเวณบ้านอยู่อาศัย ไม่ใช้ภาชนะร่วมกัน
  6. การมีผู้ป่วยอยู่ในบ้าน ไม่จำเป็นต้องแยกห้องนอน สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้ ระวังเรื่องการขับถ่ายให้ถูกสุขลักษณะ คือถ่ายลงส้วม ราดนำ้ให้สะอาด ล้างมือ ทุกครั้ง ควรงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ การให้นมบุตร แม้ว่าโอกาสที่จะติดจากคน สู่คนจะน้อยมากก็ตาม
  7. ปัจจุบันมีวัคซีนระยะสั้น สำหรับเชื้อบางสายพันธุ์เท่านั้นในประเทศจีน คิวบา ฝรั่งเศส และรัสเซีย ยังไม่มีการใช้วัคซีนในประเทศไทย และไม่ทราบถึง ประสิทธิภาพในการป้องกันมากนัก จึงไม่มีการแนะนำให้ฉีดวัคซีน

 

ควรพบแพทย์ เมื่อมีอาการ ไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ไม่ทราบสาเหตุ สงสัย ว่ามีอาการผิดปกติที่อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคตามที่กล่าวมาข้างต้น

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ