โรคเบาหวานในระยะแรก ๆ นั้นแทบจะไม่แสดงอาการผิดปกติ หรือ มีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงทำให้ยากแก่การสังเกต และทำให้หลาย ๆ คนมองข้าม จนเริ่มลุกลาม และอาการของโรคเริ่มแสดงออกมา ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ หากมีอาการ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคต่อไป
การตรวจเบาหวานคืออะไร ?
คือการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อวินิจฉัยว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ โดยมีวิธีการตรวจอยู่หลายประเภท หากตรวจพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน อาจมีการนัดแนะ เพื่อมาตรวจซ้ำตามคำแนะนำของแพทย์ชำนาญการ
มีอาการแบบไหน ถึงควรมาตรวจเบาหวาน ?
โรคเบาหวานในระยะแรก ๆ นั้นแทบจะไม่แสดงอาการผิดปกติ หรือ มีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงทำให้ยากแก่การสังเกต และทำให้หลาย ๆ คนมองข้าม จนเริ่มลุกลาม และอาการของโรคเริ่มแสดงออกมา ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ หากมีอาการ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคต่อไป
สัญญาณเสี่ยงของโรคเบาหวาน
- ปวดปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในตอนกลางคืน และปัสสาวะมีปริมาณที่มากผิดปกติ
- รู้สึกหิวน้ำบ่อย ดื่มน้ำเยอะกว่าปกติ
- หิวง่าย หิวบ่อย แม้จะเพิ่งทานอาหารไปไม่นาน
- รู้สึกอ่อนแรง เหนื่อยง่าย
- รอยฟกช้ำ และบาดแผลต่าง ๆ หายช้ากว่าที่ควร
นอกจากสัญญาณเตือนเหล่านี้แล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ควรรับการตรวจเบาหวาน อย่างเช่น
- คนที่เป็นโรคอ้วน หรือ มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI : Body Mass Index) ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป
- มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคเบาหวาน หากทั้งคุณพ่อ และคุณแม่เป็นเบาหวานทั้งคู่ ลูกยิ่งมีโอกาสเสี่ยงสูงมากขึ้น
- มีประวัติป่วยเป็นโรคหัวใจ หรือ มีภาวะไขมันในเลือด รวมถึงความดันโลหิตที่สูง
- ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่าสม่ำเสมอ
- ผู้ที่ไม่เข้าข่ายความเสี่ยงใด ๆ แต่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น ก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นเบาหวานได้มากขึ้น
วิธีการตรวจเบาหวานมีอะไรบ้าง ?
- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดช่วงอดอาหาร (Fasting Blood Sugar) เป็นการเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด หลังจากที่อดอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิดมาแล้วอย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง
- ระดับน้ำตาลอยู่ระหว่าง 70 – 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ระดับน้ำตาลอยู่ระหว่าง 100 – 125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือว่ามีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน
- ระดับน้ำตาลตั้งแต่ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือว่าอาจเป็นโรคเบาหวาน ควรมารับการตรวจซ้ำ หากตรวจอีกครั้งระดับน้ำตาลยังมีค่ามากกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะถือว่าเป็นโรคเบาหวาน
- การตรวจน้ำตาลสะสมในฮีโมโกลบิน (Hemoglobin A1c) เป็นการตรวจวัดค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือดช่วง 3 เดือนก่อนหน้า ว่าร่างกายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้มีประสิทธิภาพหรือไม่ การตรวจด้วยวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร และผลลัพธ์สามารถวินิจฉัยโรคได้เลย ไม่ต้องตรวจซ้ำ
- ผลออกมาค่าน้อยกว่า 5.7% ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ผลออกมาระหว่าง 5.7% – 6.4% ถือว่ามีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน
- ผลออกมาตั้งแต่ 6.5% ขึ้นไป ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน
ก่อนจะมาตรวจเบาหวาน ต้องเตรียมตัวอย่างไร ?
การตรวจเบาหวานเบื้องต้นส่วนมากจะใช้วิธีการเจาะเลือดตรวจ ดังนั้นควรจะพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในภาวะปกติ นอกจากนี้หากตรวจด้วยวิธีการ Fasting Blood Sugar ควรงดอาหาร และเครื่องดื่ม 6 – 8 ชั่วโมง ก่อนถึงเวลานัดตรวจ
โรคเบาหวาน เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ในอนาคต ดังนั้นควรมาตรวจตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อประเมินความเสี่ยง หาทางป้องกัน หรือ แนวทางการรักษาที่เหมาะสม
ตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวานได้ที่นี่
https://bit.ly/3Ef8Zou
หากสนใจ สามารถตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมตรวจสุขภาพหาปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น
พร้อมโปรโมชันพิเศษ คลิก https://bit.ly/3DmNly3
พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์หัวใจ หรือ ศูนย์หัวใจล้มเหลว ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)