ไขข้อกังวลเมื่อการรักษาต้องใช้ยาสลบ

17 ก.ค. 2563 | เขียนโดย รพ. สินแพทย์ ลำลูกกา

เมื่อเราต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล บางครั้งการรักษาอาจจำเป็นต้องใช้ยาสลบ หลาย ๆ คนคงกังวลเมื่อได้ยินคำว่า ‘ยาสลบ’ และเกิดคำถามต่าง ๆ ตามมา



  • ยาสลบใช้แล้วอันตรายไหม?
  • ยาสลบใช้แล้วจะเกิดผลข้างเคียงไหม?
  • จำเป็นต้องใช้ยาสลบไหม? 

คำถามต่าง ๆ เหล่านี้ วันนี้เรามีคำตอบให้ทุกคน

 

ทำไมต้องใช้ยาสลบ

การใช้ยาสลบ จะใช้เมื่อเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น การผ่าตัดทุกชนิดก่อให้เกิดความเจ็บปวดได้ และผู้ป่วยที่ทำการรักษาอยู่จะมีความรู้สึก ทำให้ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้สำเร็จ การใช้ยาสลบจึงจำเป็นในการผ่าตัด เพื่อลดการรับรู้ความรู้สึก และปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อความเจ็บระหว่างผ่าตั

การระงับความรู้สึกของผู้ป่วยขณะผ่าตัด มักให้ผู้ป่วยดมยาสลบ เพื่อทำให้หมดสติชั่วคราว ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัว และไม่เจ็บตลอดการผ่าตัด ผู้ป่วยจะหลับด้วยฤทธิ์ของยาสลบ โดยมีทีมวิสัญญีแพทย์เป็นผู้ดูแลตั้งแต่ก่อนเริ่มการผ่าตัดตลอดจนถึงหลังการผ่าตัด เมื่อผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเสร็จเรียบร้อย วิสัญญีแพทย์จะตามดูผู้ป่วยในห้องพักฟื้น จนผู้ป่วยเริ่มรู้สึกตัว หากผู้ป่วยมีอาการปวด ก็จะได้รับการดูแลให้บรรเทาลง

 

อันตรายหรือภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ

ในการระงับความรู้สึกขณะผ่าตัด อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยเกิดได้ 10-30% แต่ไม่เป็นอันตราย อาการที่เกิดขึ้นได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บคอ ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บบริเวณแผลผ่าตัดเป็นต้น ในบางครั้งอาจพบภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ แต่พบได้น้อยมาก ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับสุขภาพ และความแข็งแรงของผู้ป่วย แต่ก่อนเข้ารับการรักษาหรือผ่าตัดนั้น จะมีการตรวจสอบ และเตรียมตัวของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดอยู่เสมอ จึงทำให้โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง พบได้น้อยมาก

 

การดมยาสลบจึงไม่ได้น่ากลัว และไม่อันตรายอย่างที่คิด เพราะเป้าหมายหลักของวิสัญญีแพทย์คือการทำให้ผู้ป่วย ❝ ปลอดภัย ❞ ในขณะเข้ารับการผ่าตัด โดยดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มการผ่าตัดไปตลอดจนผู้ป่วยเข้ารับการพักฟื้นตัว วิสัญญีแพทย์จึงมีความจำเป็นมากต่อการรักษาผู้ป่วยด้วยการผ่าตัดในทุกการรักษา

 

พบแพทย์เฉพาะทาง แผนกวิสัญญี ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพบแพทย์เฉพาะทาง)

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ