การบาดเจ็บทางกีฬา “การวินิจฉัยที่แม่นยำ นำไปสู่การรักษาที่ถูกต้อง”

19 ก.พ. 2564 | เขียนโดย นพ.อุกฤษฏ์ ปุระสิริ

ปัจจุบันการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน เพราะการออกกำลังกายที่เหมาะสม อาหารที่ดี การพักผ่อนที่เพียงพอ นำไปสู่สุขภาพที่แข็งแรง

 

การบาดเจ็บ และ การออกกำลังกาย,กีฬา  เป็นสิ่งที่อยู่คู่กัน การบาดเจ็บที่พบบ่อย ๆ จะเป็นการบาดเจ็บบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ที่บ่อย ๆ คือข้อเข่าได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้ข้ออื่น ๆ ก็พบได้ประจำ ข้อไหล่ ข้อศอก และ ข้อเท้า ผู้ได้รับบาดเจ็บบางท่าน อาจจะคิดว่า อาการไม่มาก ไม่เป็นอะไรมากน่าจะหายเองได้ แต่บางทีการที่ได้รับการวินิจฉัยที่ล่าช้า ก็ส่งผลให้การบาดเจ็บนั้นหายได้ยากขึ้น หรือไม่ได้รับการรักษาในแนวทางที่ถูกต้อง

 

การมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยแยกโรคที่อันตรายออกไปนั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัยที่แน่นอน และมีแนวทางการรักษาที่ดีต่อไป หากสามารถมาพบแพทย์ได้ตั้งแต่แรกที่ได้รับบาดเจ็บนั้นเป็นการดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตามหากท่านไม่ได้มาพบแพทย์ตั้งแต่แรก แล้วทานยาอาการไม่ดีขึ้น หรือ อาการเป็น ๆ หาย ๆ อาการไม่หายสักที สมควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม ซึ่งทางโรงพยาบาลสินแพทย์ศรีนครินทร์นั้น มีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการวินิจฉัย ไม่ว่าจะเป็น X-ray ต่าง ๆ และที่สำคัญคือ MRI (magnetic resonance image) การใช้เอ็กซ์เรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะสามารถให้ข้อมูลการบาดเจ็บในข้อต่อต่าง ๆ ได้มากขึ้น ทำให้ได้รับการวินิจฉัยที่แม่นยำ

 

การบาดเจ็บจากกีฬานั้น แบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆดังนี้

  1. การบาดเจ็บจากการใช้งานมากเกินไป (overuse activity)
    เช่น เส้นเอ็นอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ จุดเกาะเส้นเอ็นอักเสบ
  1. การบาดเจ็บจากโครงสร้างอวัยวะได้รับบาดเจ็บ (injury)
    เช่น เส้นเอ็นไขว้หน้าเข่าขาด หมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด เส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด ข้อต่อหัวไหล่หลุดซ้ำ

ในด้านการรักษานั้น ขึ้นอยู่กับโรคที่วินิจฉัย ซึ่งการรักษานั้นมีตั้งแต่

1.การรักษาแบบไม่ผ่าตัด ได้แก่ การใช้ ยากิน ยาฉีดเข้าจุดเส้นเอ็นต่าง ๆ ยาฉีดเข้าข้อ การทำกายภาพในรูปแบบต่าง ๆ

2.การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งใช้ในโรคที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

ยกตัวอย่างโรคที่พบบ่อย ๆ คือ เส้นเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด หมอนรองกระดูกเข่าฉีดขาด ข้อไหล่หลุดซ้ำ เส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด

 

ปัจจุบันการรักษาโดยการผ่าตัดนั้น ไม่ได้มีแผลใหญ่และน่ากลัวอย่างเช่นในอดีตอีกต่อไปแล้ว ในการบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า  ข้อไหล่ นั้นสามารถใช้เทคโนโลยี การผ่าตัดแผลเล็กเจ็บน้อย ( minimal invasive surgery) ได้ โดยเป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง (Arthroscopic surgery) ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถทำการรักษาได้เต็มประสิทธิภาพ แผลเล็กเจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว หมอขอยกตัวอย่างโรคที่พบบ่อย และรักษาโดยการผ่าตัดผ่านกล้องได้ผลดี เช่น

 

1.เส้นเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด

( Anterior cruciate ligament injury)

2.หมอนรองกระดูกเข่าฉีดขาด (meniscus injury)

3.เส้นเอ็นไหขว้หลังเข่าฉีดขาด

( posterior cruciate ligmament injury

4.ข้อไหล่หลุดซ้ำ (recurrent shoulder dislocation)

5.เส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด (rotator cuff injury)

 

นอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆอีก ที่สามารถใช้การรักษาโดยการผ่าตัดผ่านกล้องได้

ในโอกาศหน้าหมอจะมาเล่าถึงโรคในแต่ละโรคว่า มีอาการอย่างไรบ้าง ควรปฏิบัติตัวอย่างไร และมีแนวทางการรักษาเช่นไร

สุดท้ายนี้อยากฝากทุกท่านที่รักการออกกำลังกาย อย่าลืมยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังการออกกำลังกาย เพื่อลดโอกาสการเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ด้วยความหวังดีจากโรงพยาบาลสินแพทย์ศรีนครินทร์ครับ…

 


สอบถามเพิ่มเติมที่ได้ที่ 02-006-8888

สนใจปรึกษาแพทย์สาขาใกล้บ้านคุณ

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

 

#เบื้องหลังทุกการรักษาคือความใส่ใจ

#ให้สินแพทย์เป็นเพื่อนคุณ

#โรงพยาบาลสินแพทย์ศรีนครินทร์

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ

โปรแกรมศูนย์กระดูกและข้อ
แพ็กเกจตรวจคัดกรอง MRI ข้อเข่า P.2
ราคา
12,000 ฿