ออฟฟิศ ซินโดรม (Office Syndrome)

15 ธ.ค. 2562 | เขียนโดย ศูนย์กายภาพบำบัด โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

อาการนี้พบได้บ่อยกับหนุ่มสาวคนเมืองในปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานในออฟฟิศ ที่ทำงานอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา คนทั่วไปอาจคิดว่าพนักงานออฟฟิตน่าจะสุขสบาย เพราะเห็นได้แต่นั่งทำงานในออฟฟิศหรู ใส่สูทผูกเนคไท ไม่ต้องลำบากตรากตรำ ออกแรงออกเหงื่อใดๆ ใช้แต่คอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์สื่อสาร ฟังดูก็น่าจะห่างไกลจากปัญหาเจ็บปวด เคล็ดขัดยอกต่างๆ แต่ความจริงพบว่าชาวออฟฟิศกลุ่มใหญ่กำลังเผชิญกับความทุกข์ทรมานกับอาการต่างๆ มากมาย เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดหัว ปวดเบ้าตา ซึ่งเมื่อค้นหาสาเหตุก็ไม่ได้เกิดจากข้อกระดูกเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เช่นที่พบเจอในผู้สูงอายุ



“คุณหมอคะ ทำไมดิฉันมีอาการปวดหลัง ปวดคอไม่รู้จักหายสักที งานก็ไม่หนัก วันๆแค่นั่งทำงานอยู่กับคอมพิวเตอร์ ไปหาหมอมาหลายที่ตรวจมาก็ไม่พบมีอะไรผิดปกติ หรือว่าดิฉันเป็นโรคประสาทอย่างที่ใครๆว่ากัน”

 

อาการนี้พบได้บ่อยกับหนุ่มสาวคนเมืองในปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานในออฟฟิศ ที่ทำงานอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา คนทั่วไปอาจคิดว่าพนักงานออฟฟิตน่าจะสุขสบาย เพราะเห็นได้แต่นั่งทำงานในออฟฟิศหรู ใส่สูทผูกเนคไท ไม่ต้องลำบากตรากตรำ ออกแรงออกเหงื่อใดๆ ใช้แต่คอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์สื่อสาร ฟังดูก็น่าจะห่างไกลจากปัญหาเจ็บปวด เคล็ดขัดยอกต่างๆ แต่ความจริงพบว่าชาวออฟฟิศกลุ่มใหญ่กำลังเผชิญกับความทุกข์ทรมานกับอาการต่างๆ มากมาย เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดหัว ปวดเบ้าตา ซึ่งเมื่อค้นหาสาเหตุก็ไม่ได้เกิดจากข้อกระดูกเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เช่นที่พบเจอในผู้สูงอายุ

 

กลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม

เกิดจากการปวดกล้ามเนื้อ ที่รู้สึกคล้ายๆ “เส้นตึง” “ปวดลึกๆ เมื่อยๆ หนักๆ ชาๆ” รู้สึกรำคาญตลอดเวลา สาเหตุของอาการปวดเกิดจากพฤติกรรม และลักษณะการทำงานของคนเมืองในปัจจุบัน ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ร่วมกับลักษณะท่าทางในการนั่งทำงานที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน ไม่มีการยืดเส้นยืดสาย หรือเปลี่ยนอิริยาบท ทั้งหมดเป็นตัวการสำคัญของการสะสมความเครียดให้กับกล้ามเนื้อโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้เกิดความรู้สึกปวด จนไม่อยากลุกไปทำงานในทุกๆเช้าวันทำงาน อาการปวดในกลุ่มนี้จึงถูกเรียกว่า “ออฟฟิศ ซินโดรม” หรือกลุ่มปัญหาสุขภาพของคนที่ทำงานออฟฟิศ ซึ่งพบได้มากกว่า 50% อาการอาจจะมาในลักษณะเดี่ยวๆ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ แต่ที่พบบ่อยกว่า คือ มากันเป็นแพ็คเก็จ อาจมีอาการใดอาการหนึ่งมากน้อยแตกต่างกันไป ทั้งปวดหัว ปวดตา ปวดสะบัก ชามือ หรือเมื่อยตัว ทำให้หลายๆคนเป็นกังวล กลัวเป็นโน่น เป็นนี่ กลัวเป็นมะเร็ง อัมพฤกษ์ อัมพาต จนทำงานไม่ได้ บางคนก็ปวดจนเป็นสาเหตุให้ลาหยุดงานบ่อย ทำให้เกิดปัญหากับเจ้านายและเพื่อนร่วมงานตามมา

 

แล้วทำไมงานเบาๆ อย่างออฟฟิศ จึงทำให้เกิดอาการปวดที่แสนสาหัสขนาดนี้

กล้ามเนื้อของคนเรา เปรียบเสมือนเส้นเชือกที่ร้อยโยงต่อกันตั้งแต่ศีรษะ กระดูก จนถึงแขน ขา การทำงานอย่างต่อเนื่องแม้จะเป็นงานเบาๆ แต่ถ้าทำติดต่อกันนานๆ ภายนอกดูเหมือนทำงานสบาย แต่ในร่างกายเส้นเชือกกล้ามเนื้อต่างๆ เริ่มเกิดปม ผูกเป็นเกลียวค่อยๆสะสม จากปมเล็กๆที่พอจะแกะได้ ก็เริ่มเปลี่ยนเป็นเงื่อนตาย ปวดไม่หาย จนหาต้นตอของปมแท้จริงไม่เจอ และกลายเป็นปมในจิตใจในเวลาต่อมา ทำให้เครียดนอนไม่หลับ กังวลเพราะไม่รู้ว่าเป็นอะไร สุดท้ายกลายเป็นกลุ่มอาการปวดเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว

 

วิธีการรักษากลุ่มอาการ ออฟฟิศ ซินโดรม

จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และรักษาอย่างเหมาะสม คำว่าเหมาะสมในที่นี้หมายถึง สะดวกและสอดคล้องกับวิถีของแต่ละคน ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของ DIY (Do It Yourself) หรือทำด้วยตัวคุณเอง โดยมีแพทย์เป็นผู้ให้คำแนะนำ และวางแนวทางการรักษาที่ถูกต้องให้กับตัวคุณ ซึ่งการรักษาจะแบ่งออกได้เป็น การรักษาระยะแรก และการรักษาระยะยาว ซึ่งควรจะต้องทำคู่ขนานกันไป

 

  • การรักษาระยะแรก เป็นการรักษาอาการต่างๆ ให้ได้ผลทันที แต่เป็นเพียงชั่วคราว ได้แก่ การยืดกล้ามเนื้อเป็นระยะในขณะทำงาน การทำกายภาพฟื้นฟู นวดรักษา ฝังเข็ม และการใช้ยา
  • การรักษาระยะยาว เป็นการรักษาที่สาเหตุ ซึ่งมี 2 สาเหตุหลักๆ คือ
    สภาพภายในออฟฟิศ ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น แสงไฟไม่เหมาะ เก้าอี้โต๊ะทำงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ได้สัดส่วนกับร่างกาย หรือจัดวางและใช้ไม่ถูกตำแหน่ง
    2. สภาพร่างกาย ต้องจัดสมดุลของโครงสร้างร่างกายให้เหมาะสมในการทำงาน เริ่มจากจัดท่าทางของหลัง ต้นคอ ให้ถูกสุขลักษณะ อาจฝึกสมดุลของโครงสร้างร่างกาย เช่น ฝึกโยคะ หากปรับแล้วจะเห็นผลใน 1-2 อาทิตย์ว่าเริ่มดีขึ้น หากยังไม่ดีพอ ต้องทำการเสริมสมรรถภาพร่างกายให้แข็งแรงทนทานด้วยการออกกำลังกายแบบแอโรบิค หากปฏิบัติอย่างจริงจัง 2-3 เดือน สมรรถภาพกายและใจ รวมถึงบุคลิกภาพจะเปลี่ยนไปในทางที่ดี ทำงานได้สบายและมีประสิทธิภาพ

 

หากยังไม่ดีขึ้น ให้ลองนั่งพักแล้วคิดดูว่ามีอะไรอย่างอื่นซ่อนอยู่อีก ที่พบบ่อยมีอีก 2 ตัวแปร คือ งานมากเกินไป และความเครียด ถ้าพบที่สาเหตุและแก้ที่สาเหตุได้ ก็จะช่วยแก้ไขและตอบโจทย์ได้

 

อาการแบบไหน ที่เข้าข่าย ออฟฟิศ ซินโดรม

  1. ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เกินวันละ 6 ชั่วโมง
  2. ปวดหลัง/ปวดคอ /ปวดสะบักตลอดเวลา
  3. ปวดล้ากระบอกตา ปวดหัว อ่อนเพลีย
  4. อาการดีขึ้นชั่วคราว เมื่อทำสปาหรือออกกำลังกาย
  5. ลาหยุดงานบ่อยๆ เนื่องจากอาการปวด
  6. ตรวจไม่พบสาเหตุที่ชัดเจนของอาการปวด

”Thermoscan” เป็นเครื่องมือตรวจวินิจฉัยกลุ่มอาการปวดจากกล้ามเนื้อ และระบบประสาท โดยใช้กล้องอินฟาเรด ตรวจจับความร้อนหรืออุณหภูมิของร่างกายมาแสดงเป็นภาพ Thermograph เพื่อตรวจหาความผิดปกติ และตำแหน่งปวด ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ช่วยให้การรักษาอาการปวดจากกล้ามเนื้อและระบบประสาทมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ

แพ็กเกจกายภาพบำบัด
แพ็กเกจบำบัด TMS (15 ครั้ง)
ราคา
27,000 ฿
แพ็กเกจกายภาพบำบัด
แพ็กเกจบำบัด TMS (10 ครั้ง)
ราคา
20,000 ฿