วิธีรับมือโรคแพนิคง่าย ๆ แค่ “ลอยแพความคิด” จบที่เรา เบาที่สุด
หากคุณเคยมีอาการจู่ ๆ ก็กลัวแบบไม่มีสาเหตุสุดขีด รู้สึกอึดอัดจนอยากออกจากพื้นที่บริเวณนั้น รู้สึกว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือใกล้แตะคำว่าสติหลุด คุณอาจจะกำลังเผชิญกับ “แพนิค” โรคทางจิตเวชที่ไม่อันตราย แต่เป็นตัวขโมยความสุขในชีวิตให้หายไปโดยที่เราไม่ทันได้ระวังตัว
โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ เพียงแค่ต้องรู้จักปล่อยวาง ปล่อยความคิด ทำจิตใจให้สงบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก ๆ เพราะด้วยการรับมือกับปัญหาของแต่ละคนทำได้ไม่เท่ากัน และสินแพทย์ ศรีนครินทร์ ขอเป็นคนอาสาพาไปทำความเข้าใจว่าจริง ๆ แล้วแพนิค คืออะไร เกิดจากอะไร ดูแลตัวเองอย่างไร ที่จะทำให้สุขภาพจิตใจกลับมาสดใสแข็งแรงอีกครั้ง
แพนิค คืออะไร
แพนิค (Panic Disorder) หรือโรคตื่นตระหนก คือ หนึ่งในประเภทของโรควิตกกังวลที่เกิดมาจากระบบประสาทอัตโนมัติมีการทำงานผิดปกติ เป็นระบบที่เข้ามาควบคุมการทำงานในหลาย ๆ ส่วนของร่างกาย เมื่อโรคกำเริบ จะส่งผลให้เกิดเกิดความกลัวหรือความวิตกกังวลที่รุนแรงและเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน มักจะมาพร้อมกับอาการทางกายและจิตใจ เช่น ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม เหงื่อออกมาก หรือรู้สึกเหมือนจะตาย จะเกิดอาการแบบเดิมซ้ำ ๆ และปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้ผู้ป่วยจะกลัว ตื่นตระหนก จนไม่กล้าออกไปไหน จะเก็บตัว หมกมุ่นอยู่กับเรื่องสุขภาพ เฝ้ารอ เฝ้าระวังอาการว่าจะกลับมาเป็นอีกเมื่อไหร่ จนส่งผลกระทบโดยตรงกับชีวิตประจำวัน บางคนไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ และหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาจจะลุกลามไปสู่โรคซึมเศร้าได้ในอนาคต
แพนิค เกิดจากอะไร
แพนิค เกิดจากอะไร ในความเป็นจริงแล้วเกิดจากหลายปัจจัย และไม่ได้มีสาเหตุของการอุบัติโรคที่แน่นอน แต่ในเบื้องต้น สามารถแยกได้หลัก ๆ 3 ปัจจัย ดังนี้
พันธุกรรม
พันธุกรรม ในส่วนนี้ขออธิบายเพิ่มเติมว่า แพนิคไม่ใช่โรคติดต่อ แต่คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคดังกล่าว มักจะประวัติครอบครัวที่มีโรคแพนิคร่วมอยู่ด้วย นั่นสามารถพยากรณ์ได้ว่า หากคนในครอบครัวเป็นแพนิค ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสเป็นได้สูงกว่าคนทั่ว ๆ ไป
ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง
ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง สารเคมีในสมองไม่สมดุล เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) โดยเฉพาะในบริเวณที่ทำหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์ ความยับยั้งชั่งใจ และการประมวลผลต่าง ๆ เช่น อะมิกดาลา (Amygdala) และคอร์เทกซ์ส่วนหน้า (PFC) ซึ่งถ้าอยู่ในช่วงที่ขาดความสมดุล อาจจะทำให้เกิดอาการวิตกกังวล ก้าวร้าวผิดปกติ และซึมเศร้าได้
สภาวะจิตใจ ความเครียด ความสูญเสีย
สภาวะจิตใจ ความเครียด ความสูญเสีย เหตุการณ์กดดัน เจอเรื่องกระทบจิตใจ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นความเจ็บปวด ความวิตกกังวล และความดำดิ่งชั้นดี สำหรับคนที่หาทางออก ยังไม่สามารถหาหนทางหาในการแก้ปัญหาเรื่องที่เจอได้ จะจมอยู่กับความคิดของตัวเอง เริ่มแยกตัวออกจากสังคม จนส่งผลให้กระตุ้นการเกิดโรคแพนิค ได้ในที่สุด
วิธีดูแลตัวเองเมื่อได้รับวินิจฉัยว่าเป็นแพนิค
ก่อนจะเริ่มต้นเรียนรู้ วิธีดูแลตัวเองเมื่อได้รับวินิจฉัยว่าเป็นแพนิค เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรค และยอมรับว่าเราคือผู้ป่วย เพื่อเป็นการเปิดใจในการเริ่มต้นดูแลตัวเองอย่างจริงจัง ซึ่งสามารถทำตามได้ง่าย ๆ 5 ข้อ ได้แก่
ฝึกสมาธิ
ฝึกสมาธิ วิธีแรก ไม่ใช่เป็นการนั่งสมาธิตลอดเวลา หรือนั่งสมาธิแบบปลีกวิเวกไกล ๆ แต่หมายถึงการนั่งวันละ 5-10 นาที และค่อย ๆ เพิ่มเวลาไป เพื่อเป็นการฝึกกำหนดลมหายใจ การนั่งสมาธิยังช่วยให้เรามีสติ รู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เมื่อทำไปจนชำนาญและเชี่ยวชาญ คุณจะรู้สึกว่าการนั่งสมาธิแต่ละครั้งเวลาผ่านไปแปปเดียว และทำให้จิตใจและร่างกายโดยรวมของคุณนั้นดีมากขึ้น
ปรับพฤติกรรม ออกกำลังกาย นอนหลับ
ปรับพฤติกรรม ออกกำลังกาย นอนหลับ จริง ๆ แล้วโรคนี้เปรียบเสมือนโรคที่ทำให้เรากลับมารักตัวเองมากยิ่งขึ้น ใครที่ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยงมาโดยตลอด นอนดึก พักผ่อนน้อย ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ในตอนนี้ถึงเวลาที่จะต้องมาจัดสรรตารางเวลากันใหม่ ควรออกกำลังกายวันละ 30 นาที เพื่อให้ร่างกายเผาผลาญและสร้างสารเอ็นโดรฟิน (Emdorphins) สารแห่งความสุข มาช่วยบรรเทาความวิตกกังวลหรือซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ควรนอนอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง เพื่อให้ในทุกการตื่นนอนเต็มไปด้วยความสดชื่น
งดแอลกอฮอล์ และสารเสพติดทุกชนิด
งดแอลกอฮอล์ สารเสพติดทุกชนิด นอกจากนี้ควรงดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสมร่วมอยู่ด้วย เพราะทั้งหมดนี้ล้วนมีฤทธิ์ให้เกิดอาการใจสั่นตามมาได้ และนั่นหมายถึงว่าเป็นผลต่อการกระตุ้นให้เกิดโรคแพนิคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่สำคัญหากคุณสามารถหยุดทั้งหมดได้ ยังทำให้ภาพลักษณ์และสุขภาพของคุณดีขึ้นอีกด้วย
วางแผนกิจกรรม และระบายความรู้สึก
วางแผนกิจกรรม และระบายความรู้สึก แนะนำให้คุณหากิจกรรมทำในวันหยุด โดยเริ่มจากงานอดิเรกที่อยากทำ หรือมองหาความน่าสนใจใหม่ ๆ ที่อยากลอง รวมไปถึงการมีไดอารี่สักเล่มไว้เพื่อระบายความรู้สึกในแต่ละวัน ว่าเจอเรื่องอะไรมาบ้าง และรับมือได้อย่างไร พลังของการเขียนไดอารี่ จะทำให้คุณได้รับการระบายและปลอบประโลม โดยที่คุณเองก็ไม่ทันได้รู้ตัว จนกว่าคุณจะค้นพบได้ว่ามันเป็นมากกว่าเพื่อนแท้ ในวันที่คุณเล่าให้ใครฟังไม่ได้กับบางเรื่อง บางสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่
รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่นการบำบัด หรือใช้ยาตามคำแนะนำแพทย์
รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่นการบำบัด หรือใช้ยาตามคำแนะนำแพทย์ วิธีนี้เป็นทางออกที่ง่ายที่สุด หากเมื่อไหร่ก็ตามที่สงสัยว่าควรไปหาจิตแพทย์ดีไหม คำตอบคือ “ดี” เพราะการตั้งคำถามแบบนี้ นั่นหมายถึงว่าจิตใจของเรากำลังเผชิญกับภาวะอะไรบางอย่าง ควรเข้ารับคำปรึกษาเพื่อให้แพทย์ประเมินอาการและเริ่มต้นการรักษา เพื่อหยุดยั้งตัวโรคให้ได้รวดเร็ว
หากหยุดยาเอง จะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง
หากหยุดยาเอง จะเกิดผลกระทบ หลัก ๆ คือ คลื่นไส้ หงุดหงิด นอนไม่หลับ อาจมีอาการกลับมารุนแรง ดังนั้นหากมีความคิดที่จะลองหยุดยา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง และไม่ควรหยุดยาด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะรู้สึกอาการดีขึ้นมากแค่ไหนก็ตาม
รักษาอาการแพนิค ที่ไหนดี
รักษาอาการแพนิคที่สินแพทย์ ศรีนครินทร์ หรือโรงพยาบาลที่มีความน่าเชื่อถือ น่าไว้วางใจ เพื่อปรับสมดุลของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ และรักษาจิตใจควบคู่ไปด้วย อีกทั้งยังตรวจหาสาเหตุที่อาจจะเกิดจากโรคทางกาย
ถ้าหากคุณกำลังเผชิญกับความเครียด ความกังวล หรือรู้สึกกลัวโดยไม่มีสาเหตุ และประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตประจำวันลดลง แนะนำให้ลองมาพบแพทย์ รับคำปรึกษา เพื่อมาหาคำตอบของสุขภาพไปพร้อมกัน