ตรวจสุขภาพ ป้องกันความดันโลหิตสูง โรคยอดฮิตของคนมีอายุ
เพราะเมื่ออายุเยอะขึ้น การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอนั้นมีความจำเป็นมาก เพราะถือเป็นการเช็ก และตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย โดยควรตรวจปีละ 1 ครั้ง หรือในกลุ่มคนสูงอายุควรตรวจทุก 6 เดือน เพื่อติดตามผลของร่างกายอย่างละเอียด ในวันนี้สินแพทย์ ศรีนครินทร์ จะพาไปดูความเสี่ยงที่ต้องเตรียมตัวรับมือเมื่ออายุมากขึ้น ว่าจะมีโรคอะไร อาการแบบไหน พร้อมแนะนำวิธีป้องกันความเจ็บป่วย ประคองร่างกายให้คุณตา คุณยาย หรือครอบครัวที่มีผู้สูงอายุสุขภาพแข็งแรง และอายุยืนยาว รวมถึงแพ็กเพจตรวจสุขภาพที่เราอยากจะแนะนำให้ลองตรวจแบบครอบคลุม
ผู้สูงอายุ เสี่ยงที่จะเป็นโรคอะไรได้บ้าง
สำหรับผู้สูงอายุ เสี่ยงที่จะป่วยเป็น 9 โรคเด่น ๆ ดังนี้
โรคความดันโลหิตสูง
อาการ
อาการของโรคความดันโลหิตสูงจะไม่ได้เด่นชัด แต่ในบางคนอาจจะแสดงอาการออกมาเช่น ปวดศีรษะ หน้ามืด อ่อนเพลีย ตาพร่ามัว นอนไม่ค่อยหลับ และเลือดกำเดาไหล แต่อาการทั้งหมดที่บอกไปอาจจะเกิดได้ในโรคอื่น ๆ เช่นเดียวกัน ดังนั้นหากมีสัญญาณเหล่านี้เบื้องต้นควรวัดความดันโลหิตก่อนเป็นอันดับแรก
วิธีการรักษา
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ วันละ 15-30 นาที ขั้นต่ำ 3 วัน ต่อสัปดาห์
- ควบคุมน้ำหนักให้ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด
- งดแอลกอฮอล์ งดบุหรี่
- ลดความเครียดลง
- เลือกทานอาหารมากขึ้น เช่น อาหารที่ไม่มีโซเดียม ผัก ผลไม้ และอาหารไขมันต่ำ เลี่ยงอาหารเนื้อแดง เป็นต้น
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ในกรณีที่มีการทานยาอยู่แล้ว
โรคไขมันในเลือดสูง
อาการ
อาการที่เห็นได้อย่างเด่นชัดของโรคไขมันในเลือดสูง จะคล้าย ๆ กับโรคความดัน คือ เวียนหัว ปวดหัว ใจสั่น และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาจจะเกิดอาการแทรกซ้อนอย่างลิ่มเลือดอุดตัน จนนำไปสู่ภาวะหัวใจขาดเลือด และหลอดเลือดในสมอง
วิธีการรักษา
วิธีลดไขมันในเลือดแบบเร่งด่วนที่ทำได้ดีทั้งในระยะสั้นและระยะยาวที่สุด ก็คือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และในรายที่มีคอเลสเตอรอลสูง ห้ามกินอะไร ขอแนะนำให้ควบคุมอาหาร กินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ นอกจากนี้ในกรณีที่ต้องทานยาแพทย์จะจ่ายยาลดระดับไขมันในเลือด ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ด้วย
โรคไต
อาการ
อาการของโรคไต ได้แก่ ปัสสาวะเป็นฟอง ปัสสาวะมีเลือดปน มีอาการบวมที่ใบหน้า ขา และเท้า เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดกระดูก และกล้ามเนื้อกระตุก เป็นต้น
วิธีการรักษา
วิธีรักษาโรคไต เน้นรักษาตามอาการ เช่น ยาขับปัสสาวะ รักษาความดันโลหิตสูง รักษาเบาหวาน ในส่วนของพฤติกรรม ควรงดอาหารรสเค็ม งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และการบำบัดทดแทนไต
โรคเบาหวาน
อาการ
อาการของโรคเบาหวาน ได้แก่ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน รู้สึกหิวน้ำบ่อย น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว มองไม่ชัด รู้สึกอ่อนเพลียง่าย แผลหายช้ากว่าปกติ และเริ่มชาตามปลายมือปลายเท้าจากเส้นประสาทถูกทำลาย
วิธีการรักษา
วิธีรักษาโรคเบาหวาน คือ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ผ่านการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยวิธีการรักษาที่พบบ่อย ๆ ได้แก่ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาตามแพทย์สั่ง
โรคหัวใจ
อาการ
อาการของโรคหัวใจ ได้แก่ รู้สึกเจ็บแน่นหน้าอก ไม่สามารถนอนราบได้ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หน้ามืด ในรายที่มีความรุนแรงอาจจะเป็นลมหมดสติไปได้
วิธีการรักษา
แม้ว่าโรคหัวใจอาจจะดูรุนแรง แต่ในความเป็นจริงแล้ว สามารถดูแลตัวเองได้ง่าย ๆ เพียงปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น ลดการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล โซเดียม ไขมันอิ่ม คอเลสเตอรอลสูง แต่ให้ทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 ทดแทน หมั่นทานผัก ผลไม้ รวมถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควรงดบุหรี่ แอลกอฮอล์เหมือนโรคอื่น ๆ นอกจากนี้อาจจะต้องมีการรับประทานยาร่วมด้วย แต่เป็นการรับประทานภายใต้คำแนะนำของแพทย์
โรคเกี่ยวกับสมอง
อาการ
อาการของโรคเกี่ยวกับสมอง ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับความจำ รู้สึกสับสน มีความเปลี่ยนแปลงอารมณ์อย่างรวดเร็ว การพูดติดขัด ขยับร่างกายลำบาก แขน ขา อ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุก ภาพเบลอ เวียนหัว และคลื่นไส้เป็นต้น
วิธีการรักษา
การรักษาโรคเกี่ยวกับสมองขึ้นอยู่กับชนิดและสาเหตุของโรค โดยมีวิธีการรักษาที่หลากหลาย เช่น การใช้ยา การผ่าตัด การทำกายภาพบำบัด และการบำบัดจิต เป็นต้น ขึ้นอยู่กับว่าโรคเกี่ยวกับสมองที่ตรวจพบเป็นโรคอะไร
โรคเกี่ยวกับดวงตา
อาการ
อาการของโรคเกี่ยวกับดวงตา ที่สามารถพบได้บ่อย ๆ คือ มองไม่ชัด ตาแห้ง ตาแดง คันตา ปวดตา ตาพร่ามัว ตามองเห็นเป็นจุดดำหรือเส้นลอย
วิธีการรักษา
การรักษาโรคเกี่ยวกับดวงตา ขึ้นอยู่กับชนิดและสาเหตุของโรคเช่นเดียวกับโรคเกี่ยวกับสมอง โดยวิธีหลัก ๆ ในการรักษามีตั้งแต่ระดับเริ่มต้นคือใช้ยาหยอดตา การใส่แว่นตา การเลเซอร์ ไปจนถึงการผ่าตัด
โรคในช่องปาก
อาการ
อาการของโรคในช่องปาก ที่พบได้บ่อย ๆ ได้แก่ อาการปวดฟัน ฟันผุ เหงือกอักเสบ แผลในปาก ลิ้นเป็นขุย และมีความรู้สึกชาหรือเสียวฟัน
วิธีการรักษา
โดยทั่วไป การรักษาจะทำโดยทันตแพทย์ และอาจรวมถึงวิธีการดังต่อไปนี้ ได้แก่ การอุดฟัน การอุดฟัน การรักษารากฟัน การขูดหินปูน การใช้ยาปฏิชีวนะ การถอนฟัน และการผ่าตัด สำหรับกรณีที่ซับซ้อน เช่น โรคเหงือกอักเสบขั้นรุนแรง หรือเนื้องอกในช่องปาก
โรคเกี่ยวกับกระดูก
อาการ
อาการของโรคเกี่ยวกับกระดูก ที่พบได้บ่อยในช่วงที่เริ่มเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ได้แก่ ปวดข้อต่อ กล้ามเนื้อ กระดูกอักเสบ บวม ข้อต่อเคลื่อนไหวไม่สะดวก กระดูกผิดรูป ความสูงลดลง หกล้มง่าย และเดินกะเผลกจากข้อเสื่อม
วิธีการรักษา
การรักษาสามารถทำได้โดยการใช้ยาบำรุงกระดูก กายภาพบำบัดเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การสวมอุปกรณ์ช่วยพยุง การฉีดยาเข้าข้อเพื่อลดการอักเสบ รวมถึงการผ่าตัด เช่น กระดูกหักรุนแรง ข้อเสื่อมรุนแรง หรือเนื้องอกในกระดูก
วิธีป้องกันการเกิดโรคสำหรับผู้สูงอายุ
วิธีป้องกันการเกิดโรคสำหรับผู้สูงอายุ สามารถทำตามได้ง่าย ๆ โดย
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เช่น ความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด รวมถึงการตรวจเฉพาะทางอื่น ๆ ตามที่แพทย์แนะนำ
- เลือกอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้ ธัญพืช ไม่ขัดสี โปรตีนจากปลา เนื้อไก่ และไข่ จำกัดอาหารมัน อาหารหวาน และอาหารเค็ม และการทานอาหารให้ตรงเวลา จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
- เลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่น เดิน ปั่นจักรยาน หรือทำโยคะ โดยออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที
- นอนหลับให้ได้วันละ 7-8 ชั่วโมง สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย จะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน น้ำหนักเกินหรืออ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลายชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ
- ดูแลสุขภาพจิต ลดความเครียด หาเวลาทำกิจกรรมที่ชอบ พบปะผู้คน และผ่อนคลาย
แพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์
แพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ มีแพ็กเกจน่าสนใจอยู่หลายแพ็กเกจ ทั้งนี้หากไม่แน่ใจว่าจะตรวจสุขภาพอย่างไรดี สามารถโทรสอบถามได้ที่โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ โดยตรง