ผู้หญิงวัย 25 กับการตรวจภายใน ป้องกันมะเร็งปากมดลูก และเชื้อ HPV ก่อนสายเกินไป

26 ก.พ. 2568 | เขียนโดย โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

ผู้หญิงวัย 25 กับการตรวจภายใน ป้องกันมะเร็งปากมดลูก และเชื้อ HPV ก่อนสายเกินไป

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจภายใน ในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่ที่อายุ 25 ปี และตรวจ HPV ตั้งแต่ 30 ปี แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์หากพบความผิดปกติใด ๆ ที่เกี่ยวกับระบบภายในของผู้หญิง เช่น มีอาการตกขาวเรื้อรัง เลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือเลือดปนกับตกขาว ก็สามารถตรวจได้ทันที เพราะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้จนเริ่มมีอาการปวดท้อง ถ่ายแล้วเป็นเลือด นั่นอาจเป็นไปได้ว่าเชื้ออาจจะลุกลามไปยังบริเวณอื่น ๆ ของร่างกายแล้ว ทำให้การรักษาจะมีความยากมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการตรวจมะเร็งบริเวณปากมดลูกทุกปีจึงจะเป็นแนวทางที่แพทย์สูตินรีส่วนใหญ่แนะนำมากที่สุด โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ จะมาบอกเล่าความสำคัญของการคัดกรอง พร้อมแนะนำวิธีตรวจยอดนิยม 3 วิธี รวมถึงวิธีป้องกัน เพื่อให้ทุกคนห่างไกลจากโรคดังกล่าว

 

การตรวจคัดกรองมะเร็งบริเวณปากมดลูก สำคัญยังไงกับผู้หญิง

การตรวจคัดกรองมะเร็งบริเวณปากมดลูก มีความสำคัญกับผู้หญิงมาก ๆ เพราะจากสถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ชี้ให้เห็นว่าในแต่ละปี มีคนไทยที่ป่วยเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นประมาณ 140,000 คน และเสียชีวิต 83,000 คน จากมะเร็ง 5 บริเวณ ซึ่งมะเร็งปากมดลูก ติด 1 ใน 5 ที่พบได้บ่อยในรอบปีที่ผ่าน ๆ มา

การตรวจเพื่อหาโรคดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่ผู้หญิงควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าหากพบความเสี่ยง ความผิดปกติตั้งแต่ระยะก่อนที่จะเป็นมะเร็ง จะสามารถรักษาได้ง่าย และมีประสิทธิภาพ เรียกได้ว่ามีโอกาสสำเร็จเกือบจะ 100% ดังนั้นปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การตรวจภายในประจำปี หรือตรวจเมื่อพบอาการผิดไปจากที่เคยเป็นมา เป็นวิธีป้องกันมะเร็งตรงปากมดลูกได้ดีที่สุด

 

ตรวจมะเร็งปากมดลูก สินแพทย์

 

การตรวจคัดกรองมะเร็งบริเวณปากมดลูก มีกี่วิธี

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีให้เลือกตรวจทั้งหมด 3 วิธี โดยแต่ละวิธีมีรายละเอียดและวิธีการเก็บตัวอย่างสำหรับตรวจที่แตกต่างกัน ดังนี้

 

การตรวจลิควิดเบส แป๊บสเมียร์  (Liquid prep Pap Smear) 

การตรวจลิคควิด เบส แปปสเมียร์ แนะนำให้ตรวจตอนอายุ 25 ปี โดยจะเน้นไปที่การเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว โดยแพทย์จะใช้แปรงที่มีขนาดเล็กเก็บเซลล์ที่อยู่ตรงบริเวณปากมดลูก หลังจากนั้นจะนำหัวแปรงลงในน้ำยาเพื่อคงสภาพเซลล์ และส่งเข้าห้องตรวจ เมื่อได้ผลแล้ว จะมาแปลผลให้แก่ผู้เข้ารับการตรวจฟัง 

เป็นหนึ่งในวิธีการคัดกรองโรคด้วยการใช้เซลล์ในการวิเคราะห์และหาความผิดปกติ เป็นวิธีที่ใหม่กว่าแบบแปปเสมียร์ ข้อดี คือ จะไม่พบเจอปัญหาการเก็บตัวอย่างไม่เพียงพอ เพราะเซลล์สามารถเก็บได้เยอะ  เห็นตัวอย่างเซลล์ชัดเจน เห็นผลชัดเจน สามารถนำเซลล์ไปหาเชื้อ HPV ได้เลย ไม่จำเป็นต้องเก็บผลซ้ำ ๆ

 

การตรวจลิควิดเบส แป๊บสเมียร์ + หาเชื้อ HPV (HPV CO-Testing /Pap smear & HPV DNA

การตรวจลิคควิด เบส แปปสเมียร์ + หาเชื้อ HPV หรือเรียกว่า HPV CO-Testing แนะนำให้ตรวจตอนอายุ 30 ปี เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เน้นตรวจไปถึงระดับ DNA วิธีนี้นอกจากตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกแล้ว ยังสามารถหาเชื้อสายพันธุ์ HPV ที่จะมีโอกาสก่อให้เกิดมะเร็ง แบบระบุเจาะจงสายพันธุ์ ได้แก่ 16, 18, 31, 33, 35, 39, 45, 51, 52, 56, 58, 59, 66 และ สายพันธุ์ 68 ได้ด้วย

 

Primary HPV DNA Testing 

Primary HPV DNA Testing การตรวจด้วยตัวเอง แนะนำเริ่มตรวจตอนอายุ 30 ปี

  • มีทั้งระบุสายพันธ์ุจำเพาะ 16 หรือ 18 
  • มีแบบเพื่อที่ดูว่าเป็น Positive หรือไม่ ตรวจหาเชื้อ HPV ที่มีโอกาสพัฒนาไปเป็นมะเร็ง

 

ใครบ้างที่เหมาะกับการตรวจคัดกรองมะเร็งบริเวณปากมดลูก

การตรวจคัดกรองมะเร็งบริเวณปากมดลูก เหมาะสำหรับกลุ่มคนเหล่านี้

  • ผู้หญิงที่มีอายุอย่างน้อย 25 ปี
  • ผู้ที่ตรวจภายในเป็นปกติทุกปี โดยแนะนำให้ตรวจหลังประจำเดือนหมดประมาณ 1 อาทิตย์

 

มะเร็งปากมดลูก สินแพทย์

 

วิธีป้องกันมะเร็งบริเวณปากมดลูกทำยังไง

วิธีป้องกันมะเร็งบริเวณปากมดลูก ทำได้ 4 แนวทางหลัก ๆ ได้แก่

  • การฉีดวัคซีน HPV : วัคซีน HPV สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งบริเวณปากมดลูก ซึ่งฉีดได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยผู้หญิงควรฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 9-45 ส่วนผู้ชายควรฉีดตั้งแต่ 9-26 ปี โดยช่วงที่ดีที่สุดในการป้องกันคืออายุ 9-14 ปี
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งบริเวณปากมดลูก : การตรวจคัดกรองมะเร็งบริเวณปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติในระยะเริ่มต้นและทำการรักษาได้ทันท่วงที
  • การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง : ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็งบริเวณปากมดลูก ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย การมีคู่นอนหลายคน การสูบบุหรี่ ดังนั้นการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จึงช่วยลดความเสี่ยงได้
  • การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย : การใช้ถุงยางอนามัยช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งบริเวณปากมดลูก

 

ตรวจคัดกรองมะเร็งบริเวณปากมดลูกกับสินแพทย์ ศรีนครินทร์

การตรวจคัดกรองมะเร็งบริเวณปากมดลูกเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้หญิงทุกคน เพื่อตรวจหาความผิดปกติในระยะเริ่มต้นและทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ มีบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Liquid prep Pap Smear ซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่มีประสิทธิภาพและแม่นยำ คุณสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดแพ็กเกจ ได้ที่เว็บไซต์ รวมไปถึงช่องทางติดต่อที่กำหนดได้โดยตรง

 

 

SHARE