โรคพิษสุนัขบ้า

28 พ.ค. 2563 | เขียนโดย พญ.ร่มเย็น ศักดิ์ทองจีน ศูนย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดเชื้อของระบบประสาทที่มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงจากเชื้อ Rabies virus ซึ่ง ติดต่อจาก สัตว์สู่สัตว์ หรือ สัตว์สู่คน ผ่านทางการสัมผัสถูกน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรค เช่น ถูกสัตว์กัด หรือ ข่วน หรือจากแหล่งที่มีเชื้อ rabies virus อยู่ เช่น จากซากสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า หรือผู้ที่ทำงานกับเชื้อโรค โดยตรง โรคพิษสุนัขบ้านี้สามารถเกิดได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ในประเทศไทยพบในสุนัขมากที่สุด รองลงมาเป็นแมว ซึ่งสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคจะต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของโลก เช่น ในอเมริกากลาง อเมริกาใต้ และยุโรป พบว่าค้างคาวเป็นสาเหตุที่สำคัญ ส่วนในสหรัฐอเมริกา แคนาดา พบในแรคคูน สกั้ง สุนัขจิ้งจอก โคยอท และค้างคาว



โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดเชื้อของระบบประสาทที่มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงจากเชื้อ Rabies virus ซึ่ง ติดต่อจาก สัตว์สู่สัตว์ หรือ สัตว์สู่คน ผ่านทางการสัมผัสถูกน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรค เช่น ถูกสัตว์กัด หรือ ข่วน หรือจากแหล่งที่มีเชื้อ rabies virus อยู่ เช่น จากซากสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า หรือผู้ที่ทำงานกับเชื้อโรค โดยตรง โรคพิษสุนัขบ้านี้สามารถเกิดได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ในประเทศไทยพบในสุนัขมากที่สุด รองลงมาเป็นแมว ซึ่งสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคจะต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของโลก เช่น ในอเมริกากลาง อเมริกาใต้ และยุโรป พบว่าค้างคาวเป็นสาเหตุที่สำคัญ ส่วนในสหรัฐอเมริกา แคนาดา พบในแรคคูน สกั้ง สุนัขจิ้งจอก โคยอท และค้างคาว

 

โรคพิษสุนัขบ้ามีระยะฟักตัวแตกต่างกันมาก มีรายงานว่าเกิดขึ้นเร็วได้ตั้งแต่ 5-6 วัน หรือนานมากกว่า 6

เดือน– 6 ปี (น้อยกว่า 1%) ส่วนใหญ่มักจะเกิดอาการในช่วงประมาณ 20 – 60 วันภายหลังจากการสัมผัส เชื้อ โดยหากตำแหน่งที่ถูกสัตว์กัดใกล้กับบริเวณศีรษะจะมีระยะฟักตัวที่เร็วกว่า

 

อาการของโรคพิษสุนัขบ้า

 

เป็นอาการทางระบบประสาท และ ดำเนินอย่างรวดเร็ว คือ ผู้ป่วยจะมีไข้ กระสับ กระส่าย กลืนไม่ได้ ไวต่อสิ่งกระตุ้น ม่านตาขยาย น้ำลายฟูมปาก ชัก หมดสติ หรือ ในบางกรณีจะกลายเป็น อัมพาตคล้ายกับผู้ป่วยโรค Guillain-Barreʹsyndrome ได้ ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดจะเสียชีวิต ในปัจจุบันมี รายงานการรอดชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าน้อยกว่า 10 ราย และยังไม่มีวิธีการรักษาที่ประสบความสำเร็จ ด้วย เหตุนี้การให้วัคซีนและ การให้อิมมูโนกลอบูลิน (rabies immune globulin: RIG) ภายหลังการสัมผัสเชื้อ ทันที จึงเป็นวิธีการป้องกันโรคภายหลังจากการสัมผัสโรคที่ดีที่สุด

 

การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

 

การเกิดโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่ผู้ที่ถูกสัตว์กัดหรือมีการสัมผัสกับสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ามี 2 วิธี คือ

 

  1. การให้ภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายแบบทันที หรือที่เรียกว่าการให้อิมมูโนกลอบูลิน rabies immune globulin (RIG) โดยฉีดเข้าตรงตำแหน่งที่สัมผัสกับเชื้อไวรัสให้มากที่สุดในทันทีที่ทำได้ภายในเวลาไม่ควรเกิน 48 ชั่วโมง (หลังจากการทำความสะอาดแผลอย่างดี) เพื่อให้แอนติบอดีสามารถทำงานต้านเชื้อไวรัสได้มากที่สุด ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบประสาท และจำเป็นต้องให้ร่วมกับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเสมอ

 

  1. การให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เป็นวิธีการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่จำเป็นต้องให้ในผู้ป่วยทุกรายที่ถูก สัตว์กัดหรือมีการสัมผัสที่มีโอกาสติดโรคจากสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า โดยวิธีการฉีดและจำนวนครั้ง ของการฉีดวัคซีนแตกต่างกัน ตามลักษณะการสัมผัส ประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ประวัติการ เลี้ยงดูและอาการของสัตว์ที่กัด และเหตุจูงใจที่ถูกสัตว์กัด

 

โดยแบ่งเป็นความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าเป็น 3 ระดับ

 

ระดับที่ 1

การสัมผัสที่ไม่ติดโรค ได้แก่ การถูกต้องตัวสัตว์ ป้อนอาหารให้สัตว์ หรือ ถูกเลียสัมผัสน้ำลายหรือ เลือดสัตว์ แต่ผิวหนังไม่มีแผลหรือรอยถลอกใด ๆ ในกรณีนี้ไม่ต้องฉีดวัคซีน

 

ระดับที่ 2

การสัมผัสที่มีโอกาสติดโรค ได้แก่ การถูกงับเป็นรอยช้ำที่ผิวหนังแต่ไม่มีเลือดออก หรือเลือดออกซิบ ๆ การถูกข่วนที่ผิวหนังเป็นรอยถลอก หรือมีเลือดออกซิบ ๆ และการถูกเลียโดยที่น้ำลายถูกผิวหนังที่มีแผลหรือ รอยถลอกหรือรอยขีดข่วน ในกรณีนี้จำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีน

 

ระดับที่ 3

การสัมผัสโรคที่มีโอกาสติดโรคสูง ได้แก่ การถูกกัดโดยฟันสัตว์แทงทะลุผ่านผิวหนังและมีเลือดออก การถูกข่วนจนผิวหนังขาดและมีเลือดออก น้ำลายหรือสิ่งคัดหลั่งถูกเยื่อบุของตา ปาก จมูก หรือแผลลึก แผลที่มี เลือดออก การมีแผลที่ผิวหนังและสัมผัสสารคัดหลั่งจากร่างกายสัตว์ ซากสัตว์ เนื้อสมองสัตว์ รวมทั้งการ ชำแหละซากสัตว์ และลอกหนังสัตว์ และการกินอาหารดิบที่ปรุงจากสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่เป็นโรคพิษ สุนัขบ้า ในกรณีนี้จำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนและพิจารณาให้อิมมูโนกลอบูลิน โดยเร็วที่สุดในผู้ป่วยที่ไม่เคย ได้รับวัคซีนมาก่อน

 

ลักษณะสัตว์ที่ให้สงสัยหรือถือเสมือนว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ได้แก่

  • สัตว์เลี้ยงที่กัดโดยไม่มีเหตุโน้มนำ เช่น อยู่ดีๆ สุนัขก็วิ่งเข้ามากัด กัดเจ้าของ คนเลี้ยง
  • สุนัขและแมวที่มีอาการเปลี่ยนไป เช่น ไม่เคยกัดใคร แต่เปลี่ยนนิสัยเป็นดุร้าย กัดเจ้าของ กัด คนหลายๆ คนหรือสัตว์ ในเวลาใกล้เคียงกัน หรือมีอาการเซื่องซึม เปลี่ยนไปจากเดิม
  • สุนัข แมว ค้างคาว สัตว์จรจัด สัตว์ป่า ที่กัดแล้วหนีหายไปหรือผู้ถูกกัดจำสัตว์ที่กัดไม่ได้
  • สัตว์เลี้ยงอื่นๆ ที่เป็นสัตว์เลี้ยง ลูกด้วยนม เช่น กระรอก กระแต หนู ฯลฯ

 

ในกรณีสงสัยว่าสุนัขหรือแมวเป็นโรคพิษสุนัขบ้า

 

ให้กักขังสุนัขและแมวที่เลี้ยงไว้ดูอาการ หากอาการปกติ ภายใน 10 วันจึงหยุดฉีดวัคซีนได้ หากสัตว์ตายให้ส่งตรวจหาเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าถ้าผลการตรวจเป็นลบ แต่ สัตว์มีอาการน่าสงสัยอาจพิจารณาให้ฉีดวัคซีนต่อไปจนครบ ถ้าผลการตรวจเป็นบวก ให้ฉีดวัคซีนจนครบชุด

 

ในพื้นที่ที่มีการระบาด หรือ ประชากรกลุ่มเสี่ยง

 

ที่ต้องทำงานกับสัตว์ หรือ ในห้องทดลองที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อ โรคพิษสุนัขบ้า ในปัจจุบันมีวิธีการป้องกันโดยการฉีดวัคซีนวัคซีนล่วงหน้าก่อนการสัมผัสสัตว์ โดยแนะนำให้ ฉีดทั้งหมด 3 เข็ม ในวันที่ 0, 7, และ 21 หรือ 28 วัน ซึ่งประโยชน์ของการฉีดวัคซีนแบบล่วงหน้านี้ คือการ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า จะทำให้ร่างกายมี ภูมิคุ้มกันต่อสู้กับเชื้อได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่จำเป็นต้องได้รับอิมมูโนกลอบูลินเพิ่มเติม แต่ยังต้องได้รับวัคซีน กระตุ้นอยู่ โดยหากเคยได้รับวัคซีนครบแล้วในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน จะฉีดวัคซีนกระตุ้นเพียง 1 เข็ม แต่ หากได้รับวัคซีนมาก่อนเกิน 6 เดือน จะได้รับการฉีดกระตุ้น 2 เข็มในวันที่ 0 และ 3 หลังการสัมผัสโรค

 

วิธีการฉีดวัคซีนในปัจจุบัน

 

ไม่ได้ฉีดรอบสะดือเหมือนในอดีต แต่จะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือ ในผิวหนัง แทน ซึ่งผู้ ป่วยควรมารับวัคซีนให้ตรงนัดทุกครั้ง เพื่อประโยชน์สูงสุดของการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องจากโรคนี้ไม่มี วิธีการรักษาให้หายในปัจจุบันและผู้ป่วยจะเสียชีวิตทุกราย ดังนั้นจึงไม่มีข้อยกเว้นในการรับวัคซีน

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ