
ปัสสาวะไม่ออก (Urinary retention) คือ ภาวะที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะออกได้หมดแม้ว่าปวดปัสสาวะหรือเบ่งปัสสาวะเต็มที่แล้ว เป็นภาวะที่พบได้บ่อย เพศชายพบมากกว่าเพศหญิง พบได้ในทุกช่วงวัยแต่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ
ปัสสาวะไม่ออก (Urinary retention) คือ ภาวะที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะออกได้หมดแม้ว่าปวดปัสสาวะหรือเบ่งปัสสาวะเต็มที่แล้ว เป็นภาวะที่พบได้บ่อย เพศชายพบมากกว่าเพศหญิง พบได้ในทุกช่วงวัยแต่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ
อาการของปัสสาวะไม่ออกเป็นอย่างไร ?
ภาวะปัสสาวะไม่ออก แบ่งเป็นภาวะปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลันและปัสสาวะไม่ออกเรื้อรัง ตามระยะเวลาและลักษณะอาการ
- ปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลัน อาการจะเกิดขึ้นทันที มักมีอาการปวดปัสสาวะและปวดท้องน้อยมาก อาจคลำได้กระเพาะปัสสาวะที่โตขึ้นบริเวณท้องน้อยเหนือหัวหน่าวเนื่องจากมีปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะปริมาณมาก
- ปัสสาวะไม่ออกเรื้อรัง มักไม่มีอาการปวดท้องน้อยรุนแรงแต่อาจมีปวดหน่วงเป็นครั้งคราว ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะไม่พุ่ง ต้องออกแรงเบ่งปัสสาวะ บางครั้งอาจมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
สาเหตุของปัสสาวะไม่ออกเกิดจากอะไร ?
- โรคต่อมลูกหมากโต
- ภาวะท่อปัสสาวะตีบ
- นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
- กระเพาปัสสาวะไม่บีบตัวหรือหูรูดของท่อปัสสาวะบีบตัวผิดปกติ เนื่องจากความผิดปกติของระบบประสาท เช่น ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ โรคหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บบริเวณอุ้งเชิงกราน โรคเบาหวาน การคลอดบุตร
- กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรงในผู้สูงอายุ
- อวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานหย่อน
- ภาวะท้องผูก
- เนื้องอกหรือมะเร็งบางชนิด
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้แพ้ ยารักษาซึมเศร้า ยาลดอาการบีบเกร็งท้อง
ภาวะแทรกซ้อนของปัสสาวะไม่ออกมีอะไรบ้าง ?
- การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- นิ่วทางเดินปัสสาวะ
- ไตทำงานผิดปกติ
การรักษาปัสสาวะไม่ออกทำอย่างไร ?
การรักษาภาวะปัสสาวะไม่ออก แพทย์ต้องหาสาเหตุและให้การรักษาที่สาเหตุนั้น เช่น การให้ยารักษาต่อมลูกหมากโต การรักษานิ่วทางเดินปัสสาวะ การรักษาท่อปัสสาวะตีบโดยการขยายท่อปัสสาวะ
ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถปัสสาวะออกได้เลย แพทย์จะใส่สายสวนปัสสาวะเพื่อระบายน้ำปัสสาวะ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใส่สายสวนปัสสาวะได้แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อเจาะรูใส่สายระบายปัสสาวะทางหน้าท้อง