เวียนศีรษะ-เวียนหัว

27 ต.ค. 2563 | เขียนโดย ศูนย์สมอง โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

เป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่ผู้ที่มีอาการนี้จะไปพบแพทย์ด็ต่อเมื่อมีอาการมากแล้วเท่านั้น หากถามว่าอาการเวียนศีรษะนั้นเป็นอย่างไร ส่วนมากจะตอบด้วยความคลุมเครือ เช่นตอบว่า มึนๆ งงๆ พอถูกถามมากๆ เข้าก็บอกได้แค่ว่า ”ก็มันเวียนๆ” ซึ่งทำให้แพทย์สับสนและให้การวินิจฉัยที่ผิดพลาดได้ ผู้เขียนจึงอยากใช้เวลาสักเล็กน้อยทำความเข้าใจกับอาการเวียนศีรษะ อาการเวียนศีรษะมีหลายลักษณะจากประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมาเป็นเวลานานขอสรุปดังนี้ อาการเวียนแบบหมุนๆ อาการวิงเวียนหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม อาการมึนงงแต่ไม่เวียนหมุน อาการทรงตัวไม่อยู่แต่ไม่มึนงง



เป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่ผู้ที่มีอาการนี้จะไปพบแพทย์ด็ต่อเมื่อมีอาการมากแล้วเท่านั้น หากถามว่าอาการเวียนศีรษะนั้นเป็นอย่างไร ส่วนมากจะตอบด้วยความคลุมเครือ เช่นตอบว่า มึนๆ งงๆ พอถูกถามมากๆ เข้าก็บอกได้แค่ว่า ”ก็มันเวียนๆ” ซึ่งทำให้แพทย์สับสนและให้การวินิจฉัยที่ผิดพลาดได้ ผู้เขียนจึงอยากใช้เวลาสักเล็กน้อยทำความเข้าใจกับอาการเวียนศีรษะ อาการเวียนศีรษะมีหลายลักษณะจากประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมาเป็นเวลานานขอสรุปดังนี้

  1. อาการเวียนแบบหมุนๆ
  2. อาการวิงเวียนหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม
  3. อาการมึนงงแต่ไม่เวียนหมุน
  4. อาการทรงตัวไม่อยู่แต่ไม่มึนงง

 

ผู้ที่มีความรู้สึกว่าเวียนศีรษะควรทำความเข้าใจกับอาการของตัวเอง เนื่องจากว่าทั้งสี่แบบที่กล่าวมาข้างต้นมีสาเหตุมาจากโรคที่แตกต่างกัน พึงจำไว้เสมอว่าเวียนศีรษะไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการของโรค เหมือนกับอาการปวดหัว อาการไข้เหล่านี้ไม่ใช่โรคทั้งสิ้น การรักษาจึงต้องหาสาเหตุแล้วรักษาที่สาเหตุไม่ใช่รักษาที่อาการคือกินแต่ยาแก้เวียนศีรษะโดยไม่มีเป้าหมาย และพึงจำไว้ว่าเวียนศีรษะเป็นคนละเรื่องกับคำว่าน้ำในหูไม่เท่ากัน

 

หลายๆ คนมีความเชื่อว่าเมื่อมีอาการเวียนศีรษะจะต้องทำการตรวจพิเศษมากมายเพื่อหาสาเหตุ เช่น ทำทีซีสแกนสมอง หรือตรวจสแกนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือการตรวจทางประสาทหู เช่น การทำ ABR, VNG, ENG Ecog ทั้งหมดนี้ส่วนมากทำเสียเปล่าไม่ค่อยพบความผิดปกติ ดังนั้นก่อนที่จะข้ามไปทำการตรวจพิเศษเหล่านี่จึงควรทำการวินิจฉัยด้วยการซักประวัติและตรวจร่างกายก่อน ซึ่งมากกว่า 70% สามารถพบสาเหตุได้

 

อาการเวียนศีรษะเป็นอาการที่พบบ่อย เป็นที่เข้าใจว่าอาการเวียนศีรษะจะพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามในคนอายุน้อยยังคงพบได้บ่อย เมื่อผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะจะทำให้ไม่สามารถทำงานได้ต้องหยุดพักเป็นเวลาหลายวัน ภาวะเวียนศีรษะ มีกลไกการเกิดและวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไปตามสาเหตุ บางสาเหตุสามารถหายเองได้ เนื่องจากร่างกายมีกลไกในการปรับตัว เช่น การอักเสบของประสาททรงตัว (vestibular neuronitis) บางสาเหตุสามารถควบคุมไม่ให้อาการกำเริบได้แม้จะไม่สามารถให้หายขาด และบางสาเหตุหากไม่รักษาอาจมีอันตราย เช่น เนื้องอกชนิด acoustic neuroma

 

สาเหตุจากหูชั้นใน (vestibular endorgan)

อาการเวียนศีรษะซึ่งแพทย์จะสังเกตลักษณะการกระตุกของลูกตาจากการกระตุ้นนี้ และจะทำให้วินิจฉัยได้ด้วยว่าเป็นจากหูข้างใด ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักเป้นซ้ำเกือบทุกวัน หากไม่ได้รับการรักษาก็สามารถหายเองได้ในสองสามสัปดาห์ แต่ระหว่างที่ยังไม่หายจะมีความทุกข์ทรมานจากอาการเวียนศีรซึ่งบางรายเป็นมากถึงขั้นคลื่นไว้อาเจียน บางรายกลายเป็นโรควิตกกังวลถึงขั้นไม่กล้าออหจากบ้าน ไม่กล้าลุกจากที่นอน ไม่สามารถทำการทำงานได้ การรักษาที่ถูกต้องคือการทำกายภาพจัดท่าของศีรษะ เพื่อให้หินปูดกลับเข้าที่ ซึ่งต้องทำโดยแพทย์ด้านระบบเวียนศีรษะ หลังทำกายภาพต้องรู้จักระมัดระวังท่าก้มศีรษะ หรือการทำโยคะที่ศีรษะต้องก้ม ท่าหงายศีรษะที่ร้านสระผมเป็นต้นมิฉะนั้นก็อาจเป็นซ้ำได้อีก คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีอาการกำเริบโดยที่ยังไม่ได้ไปพบแพทย์คือให้นั่งศีรษะตรงอย่าห้อยไปมา อย่าลุกๆ นอนๆ เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดอาการเวียนมากขึ้น

 

โรคเวียนศีรษะไมเกรน

โรคนี้พบได้บ่อยมากและคนส่วนใหญ่ที่เป็นมักไม่ทราบว่าไมเกรน หลายคนเข้าใจว่าไมเกรนเป็นโรคปวดหัวข้างเดียว อันที่จริงไมเกรนอาจปวดหัวสองข้างก็ได้ แต่มักมีอาการปวดแบบตุบๆ ตามจังหวะเต้นของหัวใจ ในหลายครั้งอาการปวดหัวไม่ใช่อาการเด่นแต่มีอาการเวียนศีรษะเป็นอาการเด่น เราเรียกว่าโรคนี้ว่า เวียนศีรษะไมเกรน (vestibular migraine) ผู้ป่วยจะมีเวียนศีรษะที่หมุนหรือแค่มึนๆ ก็ได้ มักเป็นๆ หายๆ อาจร่วมกับอาการปวดศีรษะหรือไม่ก็ได้ อาจมีหู้อื้อ หรือประสาทการได้ยินลดลง อีกทั้งมักมีอาการแพ้แสงจ้า รำคาญเสียงดัง หรือมีอาการทางตา เช่น เห็นแสงวูบวาบ หรือเห็นเป็นดาวๆ การวินิจฉัยจะต้องทำการซักประวัติและตรวจร่างกายให้ดีโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวกระตุ้นไมเกรนซึ่งผู้เขียนได้สรุปไว้ดังต่อไปนี้

  1. นอนให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงการนอนดึก ควรหลับให้ได้ 7-8 ชั่วโมง
  2. รับประทานอาหารให้ตรงเวลาหลีกเลี่ยงการอดอาหาร
  3. หลีกเลี่ยงอาหารและยาดังนี้
  • สุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ เช่น กาแฟ ชา ชาเขียว น้ำอัดลมบางชนิด
  • อาหารรสจัด เช่น หวานจัด หรือมันมากเกินไป
  • อาหารที่มีเนย หรือเนยแข็งเป็นส่วนผสม
  • อาหารที่มีชอคโกแล็ตเป็นส่วนผสม
  • น้ำตาลเทียม เช่น แอสปาเตม

 

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ได้ที่ แผนกอายุรกรรมระบบประสาทและสมอง โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ 

SHARE