รวมเรื่องที่ควรรู้ ก่อนไปตรวจเบาหวาน

27 ต.ค. 2564 | เขียนโดย ศูนย์เบาหวาน และ ต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลสินแพทย์

โรคเบาหวานในระยะแรก ๆ นั้นแทบจะไม่แสดงอาการผิดปกติ หรือ มีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงทำให้ยากแก่การสังเกต และทำให้หลาย ๆ คนมองข้าม จนเริ่มลุกลาม และอาการของโรคเริ่มแสดงออกมา ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ หากมีอาการ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคต่อไป



การตรวจเบาหวานคืออะไร ?

คือการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อวินิจฉัยว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ โดยมีวิธีการตรวจอยู่หลายประเภท หากตรวจพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน อาจมีการนัดแนะ เพื่อมาตรวจซ้ำตามคำแนะนำของแพทย์ชำนาญการ

 

มีอาการแบบไหน ถึงควรมาตรวจเบาหวาน ?

โรคเบาหวานในระยะแรก ๆ นั้นแทบจะไม่แสดงอาการผิดปกติ หรือ มีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงทำให้ยากแก่การสังเกต และทำให้หลาย ๆ คนมองข้าม จนเริ่มลุกลาม และอาการของโรคเริ่มแสดงออกมา ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ หากมีอาการ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคต่อไป

 

สัญญาณเสี่ยงของโรคเบาหวาน

  • ปวดปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในตอนกลางคืน และปัสสาวะมีปริมาณที่มากผิดปกติ
  • รู้สึกหิวน้ำบ่อย ดื่มน้ำเยอะกว่าปกติ
  • หิวง่าย หิวบ่อย แม้จะเพิ่งทานอาหารไปไม่นาน
  • รู้สึกอ่อนแรง เหนื่อยง่าย
  • รอยฟกช้ำ และบาดแผลต่าง ๆ หายช้ากว่าที่ควร

 

นอกจากสัญญาณเตือนเหล่านี้แล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ควรรับการตรวจเบาหวาน อย่างเช่น

  • คนที่เป็นโรคอ้วน หรือ มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI : Body Mass Index) ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป
  • มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคเบาหวาน หากทั้งคุณพ่อ และคุณแม่เป็นเบาหวานทั้งคู่ ลูกยิ่งมีโอกาสเสี่ยงสูงมากขึ้น
  • มีประวัติป่วยเป็นโรคหัวใจ หรือ มีภาวะไขมันในเลือด รวมถึงความดันโลหิตที่สูง
  • ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่าสม่ำเสมอ
  • ผู้ที่ไม่เข้าข่ายความเสี่ยงใด ๆ แต่มีอายุ 45  ปีขึ้นไป เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น ก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นเบาหวานได้มากขึ้น

 

วิธีการตรวจเบาหวานมีอะไรบ้าง ?

  • การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดช่วงอดอาหาร (Fasting Blood Sugar) เป็นการเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด หลังจากที่อดอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิดมาแล้วอย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง
    • ระดับน้ำตาลอยู่ระหว่าง 70 – 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
    • ระดับน้ำตาลอยู่ระหว่าง 100 – 125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือว่ามีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน
    • ระดับน้ำตาลตั้งแต่ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือว่าอาจเป็นโรคเบาหวาน ควรมารับการตรวจซ้ำ หากตรวจอีกครั้งระดับน้ำตาลยังมีค่ามากกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะถือว่าเป็นโรคเบาหวาน
  • การตรวจน้ำตาลสะสมในฮีโมโกลบิน (Hemoglobin A1c) เป็นการตรวจวัดค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือดช่วง 3 เดือนก่อนหน้า ว่าร่างกายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้มีประสิทธิภาพหรือไม่ การตรวจด้วยวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร และผลลัพธ์สามารถวินิจฉัยโรคได้เลย ไม่ต้องตรวจซ้ำ
    • ผลออกมาค่าน้อยกว่า 5.7% ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
    • ผลออกมาระหว่าง 5.7% – 6.4% ถือว่ามีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน
    • ผลออกมาตั้งแต่ 6.5% ขึ้นไป ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน

 

ตรวจเบาหวาน

ก่อนจะมาตรวจเบาหวาน ต้องเตรียมตัวอย่างไร ?

การตรวจเบาหวานเบื้องต้นส่วนมากจะใช้วิธีการเจาะเลือดตรวจ ดังนั้นควรจะพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในภาวะปกติ นอกจากนี้หากตรวจด้วยวิธีการ Fasting Blood Sugar ควรงดอาหาร และเครื่องดื่ม 6 – 8 ชั่วโมง ก่อนถึงเวลานัดตรวจ

 

โรคเบาหวาน เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ในอนาคต ดังนั้นควรมาตรวจตั้งแต่เนิ่น ๆ  เพื่อประเมินความเสี่ยง หาทางป้องกัน หรือ แนวทางการรักษาที่เหมาะสม

 

ตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวานได้ที่นี่
https://bit.ly/3Ef8Zou

 

หากสนใจ สามารถตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมตรวจสุขภาพหาปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น

พร้อมโปรโมชันพิเศษ คลิก https://bit.ly/3DmNly3

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์หัวใจ หรือ ศูนย์หัวใจล้มเหลว ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

 

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ได้ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ แผนกอายุรกรรม

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์

SHARE