รู้ทัน ป้องกัน เบาหวานขึ้นจอประสาทตา

5 มี.ค. 2564 | เขียนโดย ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์

โรคแทรกซ้อนของเบาหวานที่ควบคุมไม่อยู่ลุกลามไปที่ตา และทำให้เกิดอันตราย ตั้งแต่ตามัวเห็นภาพซ้อน มองภาพแคบลง ไปจนถึงมองไม่เห็นไปเลย อาจทำให้สูญเสียการมองเห็น โดยเป็นผลมาจากจอประสาทตาเสื่อม



โรคแทรกซ้อนของเบาหวานที่ควบคุมไม่อยู่ลุกลามไปที่ตา และทำให้เกิดอันตราย ตั้งแต่ตามัวเห็นภาพซ้อน มองภาพแคบลง ไปจนถึงมองไม่เห็นไปเลย อาจทำให้สูญเสียการมองเห็น โดยเป็นผลมาจากจอประสาทตาเสื่อม

 

อาการแสดงของโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

  • ในระยะแรกของโรค  ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติ แต่อาจจะตรวจพบมีเลือดออกที่จอประสาทตา โดยค่อยๆ เป็น
  • ต่อมาพบว่าการมองเห็นอาจปกติ หรือมีอาการตามัว เนื่องจากจอประสาทตาบวม ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการตามัวโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยบางรายไม่ทรายว่าตนเองเป็นเบาหวานมาก่อน
  • ในบางรายที่มีอาการมากขึ้น จะมีการสร้างเส้นเลือดใหม่ออกมามาก ซึ่งเปาะแตกง่าย ทำให้เป็นจุดเลือดออก ถ้าเลือดออกมาอาจจะมองไม่เห็นเลย
  • ระยะลุกลามของโรค พบว่าจอประสาทตาจะขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นจุดๆ ส่งผลให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่หลอดเลือดที่เกิดใหม่ผนังหลอดเลือดจะบางและแตกง่ายหลอดเลือดที่แตกแล้วน้ำเหลืองจะออกที่จอประสาทตาและในน้ำวุ้นของลูกตา ทำให้เกิดอาการตามัวและมองไม่เห็นถ้าเลือดออกมามากและนำวุ้นที่เลือดอยู่นานก็จะเกิดพังผืดและดึงให้จอประสาทตาหลุดลอก เป็นสาเหตุให้ตาบอดได้
  • ตาบอดจากเบาหวาน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของจอประสาทตา ทำให้มีเลือด น้ำเหลือง น้ำตา มาเกาะที่จอประสาทตา ส่งผลให้มองไม่เห็น

 

การป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อนทางตา

  • ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง ให้ตรวจตาหลังจากวินิจฉัยได้เพื่อป้องกันไม่ให้ตาบอด ควรตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้งหากพบความผิดปกติ จักษุแพทย์จะนัดถี่ขึ้น
  • หากจักษุแพทย์พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดใกล้กับประสาทตา (Optic Disc) หรือบริเวณใกล้จุดศูนย์กลางของการมองเห็น การรักษาด้วยการยิงแสงเลเซอร์จะป้องกันมิให้ตาบอดได้  อย่างไรก็ตามยิงเลเซอร์อาจจะทำให้ผู้ป่วยมีลานสายตาแคบลง หรือส่งผลให้ความสามารถในการมองเห็นภาพตอนกลางคืนลดลง นอกจากนี้การยิงเลเซอร์ไม่สามารถทำให้ตาที่มองไม่เห็นหรือมัวอยู่แล้วตั้งแต่ต้นกลับชัดขึ้นได้  แต่เป็นการป้องกันมิให้อาการรุนแรงขึ้นหรือตาบอดเท่านั้น
  • ในกรณีที่เบาหวานขึ้นตารุนแรงจนมีเส้นเลือดออกในน้ำวุ้นของลูกตา (Vitreous Hemorrhage) เกิดการลอกหลุดของจอประสาทตาทำให้ การผ่าตัดอาจจะช่วยให้การมองเห็นดีขึ้นได้ แต่จะไม่เหมือนปกติ
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่ตั้งครรภ์หรือมีแผนจะตั้งครรภ์ต้องตรวจตาอย่างสม่ำเสมอ ควรตรวจทุก 3 เดือน แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ไม่จำเป็นต้องตรวจเนื่องจากกลุ่มนี้มีโรคแทรกทางตาน้อย
  • ควรรักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงคนปกติ
  • ควบคุมความดันให้ต่ำกว่า 140/90 มม. ปรอท
  • ห้ามสูบบุหรี่

 

ข้อแนะนำในการตรวจสุขภาพตาสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน

  • ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อตรวจตาหลังจากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน
  • ผู้ป่วยควรมาพบจักษุแพทย์ทันที เมื่ออาการปวดตามากขึ้น ตามัวลง 1-2 วัน โดยที่ตามัว ไม่สัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือด, มองเห็นจุดดำ เห็นแสงไฟแลบหรือเห็นเป็นใยแมงมุม มองเห็นได้เพียงด้านหนึ่งของตา เห็นภาพซ้อน

 

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ได้ที่ สาขาใกล้บ้านคุณ แผนกอายุรกรรม
คลิกลิงค์เพื่อปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทาง

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

SHARE