รักษาหัวใจล้มเหลว ด้วย เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ ICD

13 ก.ค. 2563 | เขียนโดย นายแพทย์เอกลักษณ์ อาจนาฝาย ศูนย์หัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

รักษาหัวใจล้มเหลว ด้วย เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ ICD ICD (ไอ-ซี-ดี) Implantable Cardioverter Defibrillatorเครื่่อง ICD หรือ "เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ"  เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดฝังในตัวผู้ป่วย ทำหน้าที่ติดตามไปตลอด 24 ชั่วโมง เหมือนมีแพทย์คอยเฝ้าระวังภาวะหัวใจต้นผิดจังหวะให้ที่บ้าน เมื่อมีการเต้นผิดจังหวะเกิดขึ้น เครื่องจะรักษาอัตโนมัติ ภายในเวลาไม่กี่วินาที " โดยปล่อยไฟไปช็อก (กระตุกหัวใจ)"  ให้กลับมาเต้นถูกจังหวะ ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเป็นลมหมดสติ หรือ เสียชีวิตฉับพลัน



รักษาหัวใจล้มเหลว ด้วย เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ ICD

ICD (ไอ-ซี-ดี) Implantable Cardioverter Defibrillator

เครื่่อง ICD หรือ “เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ”  เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดฝังในตัวผู้ป่วย ทำหน้าที่ติดตามไปตลอด 24 ชั่วโมง เหมือนมีแพทย์คอยเฝ้าระวังภาวะหัวใจต้นผิดจังหวะให้ที่บ้าน เมื่อมีการเต้นผิดจังหวะเกิดขึ้น เครื่องจะรักษาอัตโนมัติ ภายในเวลาไม่กี่วินาที ” โดยปล่อยไฟไปช็อก (กระตุกหัวใจ)”  ให้กลับมาเต้นถูกจังหวะ ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเป็นลมหมดสติ หรือ เสียชีวิตฉับพลัน

 

ตัวเครื่อง (Pulse generator) ประมวลผลคอยสั่งช็อกไฟฟ้าเมื่อมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ และเป็นกล่องเก็บแบตเตอรี่ของเครื่องด้วย

 

สายไฟ (Lead)  วางในหัวใจห้องล่างขวา รับสัญญาณไฟฟ้าจากหัวใจ ส่งไปให้เครื่องวิเคราะห์ และ ปล่อยกระแสไฟฟ้า กระตุกหัวใจให้กลับมาเต้นในจังหวะปกติ

 

ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ที่ควรใส่เครื่อง ICD

  1. หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรงมาก่อน เช่น VT, VF
  2. เคยหัวใจหยุดเต้นจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  3. ยังหอบเหนื่อยทั้งที่ปรับยาเต็มที่แล้ว + หัวใจบีบตัวไม่ดี (ค่า LVEF ≤ 35%)

 

หมายเหตุ : LVEF (Left Ventricular Ejection Frarion ) คือ ค่าการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย ประเมินจากการทำอัลตราซาวด์หัวใจ

 

ศูนย์หัวใจ หรือ ศูนย์หัวใจล้มเหลว 

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

SHARE