เลเซอร์เจาะเปลือกตัวอ่อน (Laser Assisted-Hatching)

25 พ.ค. 2563 | เขียนโดย Smart Center ศูนย์ผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

เทคโนโลยีล่าสุด คือ การใช้เลเซอร์เจาะเปลือกตัวอ่อนมาช่วยในการเจาะเปิดเปลือกไข่ โดยใช้เทคนิคของแสงเลเซอร์ ซึ่งจะมีความแม่นยำและปลอดภัย สามารถกำหนดขนาดของการเจาะและความลึกได้ ช่วยให้เปลือกของไข่บางลง ตัวอ่อนจะสามารถฟักตัวออกมาจากเปลือกได้ง่ายขึ้นวิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงที่ตัวอ่อนอาจได้รับความบอบช้ำจากการใช้สารเคมี หรือ ใช้เข็มขนาดเล็กสะกิดแบบวิธีดั้งเดิม



เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่นำมาใช้ในกระบวนการรักษาภาวะมีบุตรยาก เพราะถึงแม้จะมีการใช้เทคโนโลยีเด็กหลอดแก้ว หรือ อิ๊กซี่แล้ว ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ทั้งที่ได้ไข่จำนวนที่มากพอ ได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพและมีการเคลื่อนย้ายตัวอ่อนในช่วงวันเวลาที่เหมาะสมแล้ว แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ

 

ในปัจจุบันเชื่อว่าน่าจะเป็นปัญหาเรื่องความพร้อมของตัวมดลูก หรือ ความสมบูรณ์ของตัวอ่อน หรือ บางกรณีอาจเกิดจากการที่ตัวอ่อนไม่สามารถฟักตัวออกมาจากเปลือกของไข่ได้ เพราะมีเปลือกที่หนา หรือ เหนียวเกินไป จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ประความล้มเหลว

 

การใช้เลเซอร์เจาะเปลือกตัวอ่อนมาช่วยในการเจาะเปิดเปลือกไข่ โดยใช้เทคนิคของแสงเลเซอร์ ซึ่งจะมีความแม่นยำและปลอดภัย สามารถกำหนดขนาดของการเจาะและความลึกได้ ช่วยให้เปลือกของไข่บางลง ตัวอ่อนจะสามารถฟักตัวออกมาจากเปลือกได้ง่ายขึ้นวิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงที่ตัวอ่อนอาจได้รับความบอบช้ำจากการใช้สารเคมี หรือ ใช้เข็มขนาดเล็กสะกิดแบบวิธีดั้งเดิม

เลเซอร์เจาะเปลือกตัวอ่อน

 

 

อัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ ด้วยวิธีการต่างๆ มีมากน้อยเพียงใด

 

ความสำเร็จในแต่ละรอบของการรักษาภาวะมีบุตรยากจะแตกต่างกัน ตามวิธีการ ดังนี้

 

  1. การคัดเลือกเชื้ออสุจิ สำหรับฉีดผสมเทียม (IUI) อัตราความสำเร็จประมาณ 10-15 %
  2. การทำเด็กหลอดแก้ว และ อิ๊กซี่ อัตราความสำเร็จประมาณ 30-40%

 

ความสำเร็จในการตั้งครรภ์นอกจากจะขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีหรือ วิธีการแล้วความร่วมมือกันของสามีภรรยาในการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ให้ความร่วมมือในการรับการรักษาในขั้นตอนต่างๆ ร่วมกัน มาเป็นเพื่อนภรรยาทุกครั้ง ที่แพทย์นัดเท่าที่จะทำได้ อาจจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น

 

ปัญหา หรือ ภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง

 

  • รอบของการรักษาถูกยกเลิกไป เนื่องจากได้ถุงไข่จำนวนน้อยเกินไป หรือ มากเกินไป จนทำให้รังไข่บวมโต มีน้ำในช่องท้อง หรือ ช่องปอด
  • ไข่ที่เก็บได้ไม่มีการปฏิสินธิ มีการติดเชื้อจากการเก็บไข่ หรือ ขั้นตอนการใส่ตัวอ่อน
  • การตั้งครรภ์แฝด ประมาณ 15-20%
  • การแท้ง ซึ่งมีโอกาสแท้งได้สูงกว่าคนทั่วไปบ้างเล็กน้อย

 

ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร หลังได้รับการรักษาภาวะมีบุตรยาก

 

  • ทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล
  • ไม่ควรยกของหนัก และ ออกกำลังกายหักโหม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ลดความวิตกกังวล ความเครียด
  • รับประทานยา และ ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
  • หากมีอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์

 

Smart Center ศูนย์ผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ

แพ็กเกจคลอดและแพ็กเกจฝากครรภ์
โปรแกรม ฝากครรภ์ เหมาจ่าย
ราคา
23,000 ฿
รักษามีบุตรยาก Synphaet Fertility Center
แพ็กเกจฉีดเชื้อผสมเทียม IUI
ราคา
14,900 ฿
รักษามีบุตรยาก Synphaet Fertility Center
เด็กหลอดแก้วและอิ๊กซี่ (IVF&ICSI PACKAGE)
ราคา
159,000 ฿