ภัยเงียบ!! โรคหลอดเลือดหัวใจ… ในผู้เป็นเบาหวาน

27 ก.ค. 2563 | เขียนโดย ศูนย์เบาหวานและต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจขณะที่มีอายุน้อยกว่าคนทั่วไปและมีความรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป มีอัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าคนทั่วไปเมื่อเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน โอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนทั่วไป 2 - 4 เท่า โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้เป็นเบาหวาน ผู้หญิงที่เป็นเบาหวานมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าผู้ชาย มักจะมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ความดัน ไขมันสูง อุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจสูงขึ้นเนื่องจากมีปัจจัยเส่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย เป็นความดันไขมันสูง



  • ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจขณะที่มีอายุน้อยกว่าคนทั่วไปและมีความรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป
  • มีอัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าคนทั่วไปเมื่อเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน
  • โอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนทั่วไป 2 – 4 เท่า
  • โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้เป็นเบาหวาน
  • ผู้หญิงที่เป็นเบาหวานมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าผู้ชาย
  • มักจะมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ความดัน ไขมันสูง อุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจสูงขึ้นเนื่องจากมีปัจจัยเส่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย เป็นความดันไขมันสูง

 

ทำไม..ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่า หรือรุนแรงกว่าคนทั่วไปหรือคนที่เป็นโรคอื่น?

เนื่องจากระดับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดความเสื่อมของผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ภาวะเบาหวานทำให้มีสารบางชนิดเพิ่มสูงขึ้นในเลือดและสารต่างๆ เหล่านี้ทำให้หลอดเลือดแดงเสื่อมได้เพิ่มขึ้น ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 อาจจะมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน และมักจะมีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และมีโรคอ้วน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ระดับอินซูลินในเลือดสูง ส่งผลทำให้หลอดเลือดมีโครงสร้างและหน้าที่ผิดปกติไป หลอดเลือดต่างๆที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดอักเสบมีโอกาสปริแตกทำให้มีลิ่มเลือดอุดตันอย่างฉับพลันได้

 

อาการโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้เป็นเบาหวาน แตกต่างจาก ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอื่นๆ หรือไม่?

อาการเจ็บหน้าอกของโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่เป็นเบาหวานมักไม่ชัดเจนหรือไม่มี เนื่องจากมักมีปัญหาปลายประสาทรับความรู้สึกเสื่อมสภาพร่วมด้วย ทำให้วินิจฉัยโรคได้ยากกว่าปกติ แต่จะมีอาการอื่นที่ทำให้สงสัยว่าอาจเป็นโรคหัวใจ ได้แก่

  • อาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • อาการแน่น อึดอัดบริเวณกลางหน้าอกข้างซ้ายหรือลิ้นปี่
  • อาการคล้ายจุกเสียด อาหารไม่ย่อย
  • อาการปวดร้าวที่ท้องแขนด้านใน
  • หน้ามืด วิงเวียน
  • เหงื่อออก ตัวเย็น
  • ใจสั่นจะเป็นลมหรือหมดสติ

อาการอาจมีหลายอย่างร่วมกันเกิดขึ้นเวลาใดก็ได้ อาจมีภายหลังจากที่รับประทานอาหารในปริมาณมาก หรือช่วงตื่นนอนตอนเช้า อากาศเย็น หลังออกกำลังกาย ขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ (ในรายที่ท้องผูก) เป็นต้น อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบพบแพทย์

การป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดหัวใจจากเบาหวาน

พยายามควบคุมเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติมากที่สุด ได้แก่

  • การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ
  • แก้ไขภาวะผิดปกติที่พบร่วมกับโรคเบาหวาน เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ความอ้วน และอื่นๆ
  • ในรายที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบเกิดขึ้นแล้ว ควรดูแลตนเอง รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
  • พบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อติดตามภาวะเบาหวานและการดำเนินของโรคได้

การป้องกันไม่ให้เกิดโรค ย่อมดีกว่าการปล่อยให้เกิดโรคแล้วค่อยทำการรักษา ผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องพยายามดูแลตนเองด้วยการควบคุมเบาหวานให้ดี เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในผู้ป่วยเบาหวานด้วย

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์เบาหวานและต่อมไร้ท่อ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ 

SHARE