ป้องกันอย่างไร ไม่ให้กระดูกพรุน

25 ก.ค. 2566 | เขียนโดย โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะที่มีการลดลงของมวลกระดูก ทำให้กระดูกบางลง มีโครงสร้างผิดไป เปราะมากขึ้น ทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือหกล้ม จะเกิดการหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกบริเวณข้อสะโพก กระดูกสันหลังส่วนเอว และกระดูกข้อมือ



ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน?

  • ผู้สูงอายุ
  • เพศหญิง โดยเฉพาะสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนแล้ว หรือผู้ที่ผ่าตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลง การสลายของกระดูกเกิดเร็วขึ้น
  • คนผิวขาวหรือคนเอเชีย มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนสูงกว่าคนแอฟริกัน
  • กรรมพันธุ์ มีคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
  • ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ผู้ที่เคลื่อนไหวร่างกายน้อยหรือถูกจำกัดการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น คนที่ต้องเข้าเฝือกเป็นเวลานาน ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • ผู้ที่อยู่แต่ในอาคาร ไม่มีโอกาสได้รับแสงแดด ทำให้ร่างกายไม่ได้รับวิตามินดี
  • ผู้ที่มีรูปร่างผอมเกินไป มีโอกาสจะเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่า และมีความเสี่ยงกระดูกหักสูงกว่าคนรูปร่างปกติ
  • ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูก โดยเฉพาะแคลเซียมและวิตามินดี
  • สูบบุหรี่จัด
  • ดื่มแอลกอฮอล์ ชา หรือกาแฟ ปริมาณมากเป็นประจำ
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยากันชัก ยาทดแทนไทรอยด์

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ?

การตรวจหาภาวะกระดูกพรุน สามารถตรวจได้โดยการตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone Mineral Density) ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่เจ็บปวด ใช้ตรวจกระดูกได้หลายส่วน ที่นิยมตรวจคือกระดูกสันหลังส่วนเอว กระดูกข้อสะโพก และกระดูกปลายแขน ซึ่งจะได้ค่าเป็นตัวเลขแสดงความเบี่ยงเบนจากค่ามาตรฐาน
ผู้ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงควรเริ่มตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกเมื่ออายุ 60 ปี ส่วนผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ต้องรับประทานยาสเตียรอยด์เป็นประจำ ควรรับการตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกเร็วขึ้น

 

กระดูกพรุนป้องกันได้อย่างไร ?

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้ได้ปริมาณแคลเซียมและวิตามินดีเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย งาดำ ถั่วต่าง ๆ เต้าหู้ ผักใบเขียว เช่น ผักโขม บร็อคโคลี่ คะน้า ใบชะพลู
  • ลดอาหารที่มีไขมันสูง อาหารเค็ม ชา กาแฟ น้ำอัดลม เพราะจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม และทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกมากขึ้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 – 60 นาที
  • งดสูบบุหรี่
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามคำแนะนำของแพทย์

 

ปรึกษาแพทย์ชำนาญการศูนย์กระดูกและข้อ ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา
โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา
โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์
โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์
โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์
โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี

โรงพยาบาลสินแพทย์ นครปฐม

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ

แพ็กเกจกระดูกและข้อ
แพ็กเกจฉีดน้ำเลี้ยงไขข้อฉีด 5 เข็ม
ราคา
31,000 ฿
แพ็กเกจผ่าตัดและผ่าตัดส่องกล้อง
แพ็กเกจผ่าตัดส่องกล้องเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า (ACL)
ราคา
230,000 ฿