บาดเจ็บที่ศีรษะ (Head Injury)

21 ก.ค. 2563 | เขียนโดย ศูนย์สมอง โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ในปัจจุบัน การบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นสาเหตุการตาย และความพิการที่สำคัญที่สุดของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทุกๆ ประเภท นอกจากนี้ยังพบว่าการบาดเจ็บที่ศีรษะมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ และสมองนับว่าเป็นเรื่องสำคัญ และมีอันตรายอย่างมากอาจถึงแก่ชีวิติหรือพิการได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ



ในปัจจุบัน การบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นสาเหตุการตาย และความพิการที่สำคัญที่สุดของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทุกๆ ประเภท นอกจากนี้ยังพบว่าการบาดเจ็บที่ศีรษะมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ และสมองนับว่าเป็นเรื่องสำคัญ และมีอันตรายอย่างมากอาจถึงแก่ชีวิติหรือพิการได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ

ศูนย์สมอง โรงพยาบาลสินแพทย์  ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงพร้อมที่จะให้การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะด้วยความรวดเร็ว เร่งด่วน และมาตรฐานทางการแพทย์ โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาท พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย

 

บาดเจ็บที่ศีรษะ หมายถึงอะไร

บาดเจ็บที่ศีรษะ หมายถึง การบาดเจ็บที่ผู้บาดเจ็บมีลักษณะ ดังต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่า เช่น

  • มีประวัติศีรษะถูกกระทบกระแทก
  • หลังได้รับบาดเจ็บมีการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกตัวแม้เพียงชั่วขณะ เช่น วูบ หมดสติชั่วคราว หรือ จำเหตุการณ์ขณะเกิดอุบัติเหตุไม่ได้
  • ตรวจพบบาดแผลฉีกขาดที่หนังศีรษะ หรือหน้าผาก ทั้งนี้ไม่รวมถึงบาดเจ็บที่ใบหน้า มีสิ่งแปลกปลอมในตา หู หรือ จมูก และเลือดกำเดาไหล ซึ่งการบาดเจ็บเหล่านี้อาจพบร่วมกับการบาดเจ็บที่ศีรษะได้

 

ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะจำเป็นต้องตรวจร่างกายอะไรบ้าง ประกอบด้วย

  1. การตรวจทางรังสีวิทยา ประกอบ
    • เอกซเรย์ดูกะโหลกศีรษะ
    • เอกซเรย์ดูกระดูกสันหลังส่วนคอ (กรณีที่ได้รับบาดเจ็บที่คอร่วมด้วย)
  1. การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan) โดยจะพิจารณา โดยดูจากความรุนแรงของการบาดเจ็บ เช่น มีอาการหมดสติหลังได้รับบาดเจ็บ เบลอ ซึม มีอาการรุนแรง
  2. การตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) จะตรวจเพิ่มเติมในกรณีที่ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถบ่งบอกความผิดปกติได้
  3. เครื่องติดตามการเปลี่ยนแปลงของแรงดันสมอง (ICP Monitoring)

 

คำแนะนำสำหรับผู้ ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ

ในกรณี ที่แพทย์ทำการตรวจผู้ป่วยแล้วมีความเห็นว่า การบาดเจ็บที่ศีรษะที่ผู้ป่วยได้รับในขณะนี้ยังไม่มีอาการที่รุนแรงถึงขนาดจะต้องนอนในโรงพยาบาล และให้กลับไปพักผ่อนต่อที่บ้านได้ ผู้ป่วยหรือญาติต้องสังเกตอาการทางสมองซึ่งถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบกลับมาพบแพทย์

  1. ง่วงซึมมากขึ้นกว่าเดิม หรือ ไม่รู้สึกตัว หมดสติ ปลุกตื่นยาก
  2. กระสับกระส่ายมาก พูดลำบาก หรือมีอาการชักกระตุก
  3. แขน ขา อ่อนแรงลง หรือมีกำลังน้อยลงกว่าเดิม
  4. ชีพจรเต้นช้า มีอาการไข้สูง
  5. คลื่นไส้ / อาเจียน มาก ติดต่อกันหลายครั้ง
  6. ปวดศีรษะรุนแรง โดยไม่ทุเลาลง
  7. มีเลือด หรือน้ำใสๆ ไหลออกจากหู หรือจมูก ไม่ควรพยายามสั่งออก หรือเช็ดเข้าไปในช่องหูและจมูก
  8. ตาพร่ามัว หรือมองเห็นภาพซ้อน
  9. มีอาการ หรือพฤติกรรมอื่นๆ ที่ผิดปกติ เช่น เอะอะโวยวายเดินพล่านเป็นต้น

 

ทุกวินาทีมีค่า บาดเจ็บที่สมองต้องรีบรักษา อย่าเสียเวลากับการเดินทางที่คุณไม่อาจคาดเดาได้

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์สมอง โรงพยาบาลสินแพทย์

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์   

SHARE