ทอนซิลอักเสบ

29 ก.พ. 2563 | เขียนโดย โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) เป็นภาวะอักเสบของต่อมทอนซิล ซึ่งเป็นต่อมที่อยู่บริเวณด้านหลังของลำคอซ้ายและขวา มีหน้าที่หลักคือการจับทำลายเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางลำคอ แต่ต่อมทอนซิลเองก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะอักเสบติดเชื้อได้เช่นกัน โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสประมาณร้อยละ 70 รองลงมาเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่พบได้บ่อยคือ สเตร็ปโตคอคคัสกรุ๊ปเอ (Group A Streptococcus) ทอนซิลอักเสบพบได้บ่อยในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นต่อมทอนซิลจะทำงานน้อยลง



ทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)

เป็นภาวะอักเสบของต่อมทอนซิล ซึ่งเป็นต่อมที่อยู่บริเวณด้านหลังของลำคอซ้ายและขวา มีหน้าที่หลักคือการจับทำลายเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางลำคอ แต่ต่อมทอนซิลเองก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะอักเสบติดเชื้อได้เช่นกัน โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสประมาณร้อยละ 70 รองลงมาเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่พบได้บ่อยคือ สเตร็ปโตคอคคัสกรุ๊ปเอ (Group A Streptococcus) ทอนซิลอักเสบพบได้บ่อยในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นต่อมทอนซิลจะทำงานน้อยลง

 

อาการที่พบได้บ่อยคือ

– เจ็บคอ
– กลืนเจ็บ กลืนลำบาก
– มีกลิ่นปาก
– ไข้ หนาวสั่น
– เสียงเปลี่ยน
– ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว
– ปวดที่บริเวณหู
– ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต

 

การรักษาทอนซิลอักเสบ

– รักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ
– ยาปฏิชีวนะ ในกรณีที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
– ให้สารน้ำทางหลอดเลือด ในกรณีที่รับประทานไม่ได้และมีภาวะขาดน้ำ
– รับประทานอาหารอ่อนๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์
– การผ่าตัดในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ฝีที่ต่อมทอนซิล

 

เมื่อไรที่ต้องผ่าตัดต่อมทอนซิล ?

– ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังที่รักษาด้วยยาปฏิชีวนะไม่ได้ผล ฝีที่ต่อมทอนซิล
– ต่อมทอนซิลอักเสบที่เป็นซ้ำปีละหลายครั้งหลายปีติดต่อกัน
– ต่อมทอนซิลโตมากจนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ เช่น มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนกรน หายใจลำบาก
– สงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งของต่อมทอนซิล

 

การผ่าตัดต่อมทอนซิลออกมีผลเสียหรือไม่ ?

ถ้าตัดต่อมทอนซิลออกตามข้อบ่งชี้ที่เหมาะสมจะไม่ก่อให้เกิดผลเสียใดๆ ต่อมทอนซิลที่ควรตัดออกนั้นมักไม่สามารถทำงานได้ตามปกติและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ในบริเวณคอยังมีเนื้อเยื่อน้ำเหลืองอื่นๆที่ทำงานแทนต่อมทอนซิลได้ การผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลออกจึงไม่ได้ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง

 

พบแพทย์เฉพาะทาง
ศูนย์โรค หู ตา คอ จมูก (EENT)
ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์  

SHARE