โรคพิษสุนัขบ้าหลายคนอาจคิดว่าไม่ร้ายแรงหรือติดเชื้อได้ยาก ทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงส่วนหนึ่งมาพบแพทย์ช้าไป วันนี้โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ จึงขอนำข้อมูลที่ถูกต้องมาฝากเพื่อให้ทุกท่านได้เข้าใจและรู้เท่าทันโรคพิษสุนัขบ้ากันมากขึ้น
โรคพิษสุนัขบ้าหลายคนอาจคิดว่าไม่ร้ายแรงหรือติดเชื้อได้ยาก ทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงส่วนหนึ่งมาพบแพทย์ช้าไป วันนี้โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ จึงขอนำข้อมูลที่ถูกต้องมาฝากเพื่อให้ทุกท่านได้เข้าใจและรู้เท่าทันโรคพิษสุนัขบ้ากันมากขึ้น
➤ ทำความเข้าใจใน…”โรคพิษสุนัขบ้า”
โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) หรือโรคกลัวน้ำ (Hydrophobia) คือ โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่มีอันตรายร้ายแรง โดยผู้ป่วยที่สัมผัสกับสัตว์ติดเชื้อ จะได้รับเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าในตระกูล Rhabdoviridae ผ่านทางน้ำลายของสัตว์ที่กัด ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท เช่น ชัก ประสาทหลอน อัมพาต โดยโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคร้ายแรงถึงชีวิต เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรค อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถป้องกันได้ โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
➤ อาการโรคพิษสุนัขบ้า
- อาการเริ่มแรก : ไข้ต่ำ เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย และต่อมาจะมีอาการคันบริเวณแผลที่ถูกกัด มีอาการคลุ้มคลั่ง
- อาการทางประสาท : กระสับกระส่าย กลัวแสง ไม่ชอบเสียงดัง กระวนกระวาย มีอาการหนาวสั่น กลืนลำบากโดยเฉพาะของเหลว อย่างเช่นน้ำ โดยจะมีอาการเกร็ง ทำให้ไม่อยากดื่มน้ำ
- อาการสุดท้าย : เกร็ง หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก กล้ามเนื้อกระตุก รวมถึงแขนขาอ่อนแรงลง หมดสติและเสียชีวิตในที่สุด
➤ ควรทำอย่างไรหากถูกกัด
หากถูกกัด ให้ทำความสะอาดบาดแผลทันทีด้วยน้ำและสบู่เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หลังจากนั้นให้ไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด แพทย์ที่มีประสบการณ์จะบอกได้ว่าผู้ที่ถูกกัดจำเป็นต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหรือที่เรียกว่ายาป้องกันหลังสัมผัสสัตว์ (post-exposure prophylaxis; PEP) หรือไม่ โดยวินิจฉัยจาก
- สัตว์ที่กัดมีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่
- แผลมีความรุนแรงมากพอต่อการได้รับวัคซีน
- การรักษาจำเป็นต้องใช้อิมมูโนโกลบูลิน (ซึ่งหายากในบางครั้ง) ร่วมกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ (ในกรณีส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาทั้งสองประเภทร่วมกันเพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพในการป้องกันโรค)