วิธีพยาบาลผู้ป่วย CAPD ให้ล้างไตที่บ้านได้อย่างปลอดภัย

29 เม.ย. 2565 | เขียนโดย แผนกอายุรกรรมโรคไต โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

“การล้างไต” เป็นวิธีการรักษาของผู้ป่วยโรคไตที่จะช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยนั้นทำงานอย่างเป็นปกติมากขึ้น

 

เพราะว่าภาวะไตวายหรือภาวะไตเรื้อรัง (CKD: Chronic Kidney Disease) เป็นภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถกรองและขับของเสียออกจากร่างกายได้อย่างปกติ ซึ่งอาจทำให้ของเสียสะสมและตกค้างภายในร่างกาย ส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติตามมาได้ 

 

ดังนั้น ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดที่เหมาะสม เพื่อรักษาอาการและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต 

 

ล้างไต vs ฟอกไต เหมือนกันหรือไม่?

การล้างไตหรือการฟอกไตนั้นเป็นวิธีในการบำบัดแทนไตเหมือนกัน แต่จะใช้ในความหมายที่แตกต่างกัน เช่น การฟอกไตทางเส้นเลือด หรือการล้างไตทางหน้าท้อง เป็นต้น ทั้งนี้ สามารถใช้แทนกันได้เช่นกัน โดยวิธีการบำบัดทดแทนไตนั้นสามารถทำได้ทั้งหมด 3 วิธี ได้แก่ 

 

  1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
  2. การล้างไตทางหน้าท้อง 
  3. การปลูกถ่ายไต 

โดยผู้ป่วยโรคไตจะต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีไหนนั้น ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยและดุลยพินิจของแพทย์

 

วิธีการล้างไตที่นิยมใช้

วิธีการล้างไตที่นิยมใช้ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่ การล้างไตด้วยการใช้ไตเทียม และการล้างไตผ่านทางช่องท้อง โดยวิธีการล้างไตแต่ละแบบนั้นมีรายละเอียด ดังนี้

 

  • การล้างไตด้วยการใช้ไตเทียม

การล้างไตด้วยการใช้ไตเทียม (Hemodialysis) คือ วิธีการฟอกไตที่จะนำของเสีย และน้ำออกจากเลือด ด้วยการนำเลือดออกจากตัวผู้ป่วยผ่านทางเส้นเลือดดำและผ่านตัวกรอง โดยตัวกรองนั้นจะมีเนื้อเยื่อในการช่วยกรองของเสียและน้ำออกจากเลือด หลังจากเลือดผ่านตัวกรองแล้วก็จะกลายเป็นเลือดดี และเครื่องไตเทียมก็จะนำเลือดนั้นกลับเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งการฟอกไตด้วยการใช้ไตเทียมในแต่ละครั้งนั้นจะต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมงขึ้นไป และจะต้องทำการฟอกไตอย่างน้อยประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ 

 

การล้างไตผ่านทางช่องท้อง

  • การล้างไตผ่านทางช่องท้อง

การล้างไตผ่านทางช่องท้อง เป็นวิธีล้างไตที่ผู้ป่วยจะได้รับการฝังสายท่อล้างไตแบบถาวรเข้าไปในช่องท้อง เพื่อเป็นช่องทางเข้า-ออกของน้ำยาล้างไต โดยการล้างไตผ่านทางหน้าท้องนั้นจะทำการใส่น้ำยาล้างไตประมาณ 1-2 ลิตร เข้าไปค้างไว้ในช่องท้องประมาณ 4-8 ชั่วโมงต่อครั้ง และจะเปลี่ยนน้ำยาประมาณ 4-6 ครั้งต่อวัน เพื่อแลกเปลี่ยนน้ำและของเสีย ระหว่างเลือดกับน้ำยาล้างไตในช่องท้องผ่านทางผนังเยื่อบุช่องท้อง เมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว ก็จะต้องปล่อยน้ำยาล้างไตที่ค้างอยู่ภายในช่องท้องออกมา และทำการเติมน้ำยาล้างไตใหม่เข้าไปในช่องท้องอีกครั้ง

 

ผู้ป่วยแบบใดเหมาะกับการล้างไตทางช่องท้องที่บ้าน

ผู้ป่วยแบบใดเหมาะกับการล้างไตทางช่องท้องที่บ้าน 

สำหรับการล้างไตทางช่องท้องที่บ้านนั้น เป็นวิธีการรักษาที่ใช้กับผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย (ESRD: End Stage Renal Disease) เพราะว่าเป็นภาวะที่ไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียออกจากเลือด และไม่สามารถขับของเสียผ่านทางปัสสาวะได้ ส่งผลมีของเสียตกค้างอยู่ในร่างกาย ทำให้ระดับน้ำ เกลือแร่ และแร่ธาตุต่าง ๆ ในร่างกายขาดความสมดุล เป็นเหตุให้ระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติ และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที 

 

ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายจึงมักจะล้างไตทางช่องท้องที่บ้าน เพราะจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องหรือตลอดชีวิต 

 

นอกจากการล้างไตทางช่องท้องที่บ้านจะเป็นการรักษาที่ใช้กับผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายแล้ว การรักษาในลักษณะนี้ก็เหมาะกับผู้ป่วยที่มีเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้

 

  • ผู้ป่วยที่ไม่ต้องการไปรักษาโรงพยาบาล
  • ผู้ป่วยสูงอายุ ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก อาจเกิดอุปสรรคเมื่อต้องเดินไปทางโรงพยาบาล
  • ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหัวใจ ซึ่งจะเกิดปัญหาขึ้นถ้าต้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตตก เป็นต้น

 

ท้ายที่สุดแล้ว ในการตัดสินใจว่าผู้ป่วย CADP จะรักษาด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้องที่บ้าน หรือวิธีการอื่น ๆ อย่าง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมนั้น ทางแพทย์จะพิจารณาและปรึกษาร่วมกับผู้ป่วยในการเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสม

 

 

การล้างไตทางช่องท้องที่บ้าน vs การฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกไตเทียมที่โรงพยาบาล แตกต่างกันอย่างไร?

การล้างไตทางช่องท้องที่บ้าน vs การฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกไตเทียมที่โรงพยาบาล แตกต่างกันอย่างไร?

การล้างไตทางช่องท้องที่บ้านกับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่โรงพยาบาลนั้นมีความแตกต่างกันอย่างแน่นอน โดยการล้างไตทางช่องท้องที่บ้านนั้นใช้น้ำยาล้างไตอย่างเดียว ไม่มีอุปสรรคในการเดินทาง ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ หรือเคลื่อนไหวลำบาก อย่างไรก็ตาม การล้างไตทางช่องท้องที่บ้านอาจจะมีอุปกรณ์ไม่ครบครันเท่ากับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่โรงพยาบาล เพราะว่าที่โรงพยาบาลนั้นมีทั้งห้องปลอดเชื้อ เพื่อป้องกันผู้ป่วยติดเชื้อ นอกจากนั้นยังมีความสะอาด และความปลอดภัยสูงกว่าที่บ้าน แถมยังมีตัวเลือกในการล้างไตที่หลากหลาย เช่น กาฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกไตปกติ การใช้น้ำบริสุทธิ์ในการล้างไตออนไลน์ (OL-HDF) เป็นต้น

 

 

วิธีล้างไตทางหน้าท้องด้วยตัวเองที่บ้าน

วิธีล้างไตทางหน้าท้องด้วยตัวเองที่บ้าน

สำหรับผู้ป่วยไตระยะสุดท้าย (ESRD: End Stage Renal Disease) นั้นสามารถล้างไตที่บ้านด้วยการใช้ 5 วิธีการล้างไตทางหน้าท้องที่มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน โดยวิธีการล้างไตผ่านทางหน้าท้องทั้ง 5 วิธี มีดังนี้

 

ขั้นตอนที่ 1: ต่อน้ำยาล้างไต

การต่อน้ำยาล้างไต โดยทำการต่อถุงน้ำยาล้างไตถุงใหม่เข้ากับสายท่อล้างไต ซึ่งในขั้นตอนนี้จะใช้เทคนิคปลอดเชื้อ ด้วยการล้างมือให้สะอาด และไม่ให้มือสัมผัสกับข้อต่อระหว่างต่อถุงน้ำยาล้างไต เพื่อป้องกันการติดเชื้อ 

 

ขั้นตอนที่ 2: ปล่อยน้ำยาล้างไต

การปล่อยน้ำยาล้างไต โดยทำการปล่อยน้ำยาล้างไตที่ค้างอยู่ภายในช่องท้องออกมา เพื่อกำจัดของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย ก่อนจะใส่น้ำยาล้างไตใหม่เข้าไปค้างไว้ในช่องท้องอีกครั้ง

 

ขั้นตอนที่ 4: เติมน้ำยาล้างไต

การเติมน้ำยาล้างไต โดยทำการเติมน้ำยาล้างไตใหม่เข้าไปในช่องท้อง หลังจากทำการปล่อยน้ำยาล้างไตเก่าออกจากช่องท้องหมดแล้ว และชะล้างสายท่อล้างไตเรียบร้อยแล้ว

 

ขั้นตอนที่ 5: ปลดสายต่อ และถุงน้ำยาต่าง ๆ

การปลดสายต่อและถุงน้ำยาต่าง ๆ ในขั้นตอนนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อเติมน้ำยาล้างไตใหม่เต็มช่องท้องแล้ว โดยทำการปลดสายต่อและถุงน้ำยาต่าง ๆ ด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ พร้อมกับเก็บสายท่อล้างไตไว้ที่เดิมและปิดด้วยฝาจุกปลอดเชื้อตั้งแต่ตอนปลดสาย จนกว่าจะถึงการล้างไตครั้งถัดไป

 

 

วิธีการพยาบาลผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้องที่บ้าน

วิธีการพยาบาลผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้องที่บ้าน

การล้างไตที่บ้านนั้นจะไม่มีพยาบาลหรือแพทย์คอยดูแลเหมือนกับการล้างไตที่โรงพยาบาล ดังนั้น จำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องด้วยตัวเองอย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัย และป้องกันการติดเชื้อ โดยวิธีการพยาบาลผู้ป่วยล้างไตผ่านทางช่องท้องที่บ้าน มีดังนี้

 

วิธีที่ 1: ลดปริมาณการใส่น้ำยา

การลดปริมาณการใส่น้ำยาในช่องท้อง โดยผู้ดูแลจะต้องคอยสังเกตว่าผู้ป่วยใส่น้ำยาเข้าช่องท้องในปริมาณที่มากเกินไปหรือไม่ ถ้าหากใส่น้ำยาในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัด หรือแน่นท้อง เนื่องจากแรงดันในช่องท้องสูงมากขึ้น 

 

วิธีที่ 2: ลดแรงดันในช่องท้อง

การลดแรงดันในช่องท้อง นอกจากแรงดันสามารถเกิดจากการใส่ปริมาณน้ำยาล้างไตเข้าช่องท้องในปริมาณมากแล้ว ยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้เช่นกัน ดังนั้น ผู้ดูแลจึงควรช่วยลดแรงดันในช่องท้องให้กับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกอึดอัด หรือแน่นท้อง ซึ่งสามารถช่วยได้หลากหลายวิธี เช่น การให้ผู้ป่วยใส่น้ำยาเข้าช่องท้องในท่านอนราบ หรือให้ผู้ป่วยสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวม หรือไม่รัดแน่นจนเกินไป เป็นต้น

 

วิธีที่ 3: ปรับอุณหภูมิของน้ำยา

การปรับอุณหภูมิของน้ำยา เพราะว่าการปรับอุณหภูมิของน้ำยาให้พอดีกับอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยนั้นจะช่วยลดการเกิดอาการปวดท้อง หรือลดอาการไม่สบายท้องในขณะที่ใส่น้ำยาเข้าช่องท้อง และปล่อยน้ำยาออกจากช่องท้องได้

 

วิธีที่ 4: ใช้น้ำยาที่มีความเข้มข้นต่ำ

การใช้น้ำยาที่มีความเข้มข้นต่ำ เป็นอีกวิธีการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่บ้าน สามารถพยาบาลได้ด้วยการเลือกใช้น้ำยาล้างไตที่มีความเข้มข้นต่ำ ประมาณ 1.5 Dextrose เพราะถ้าหากใช้น้ำยาที่มีความเข้มข้นสูงมากเกินไป อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดท้อง อึดอัด แน่นท้อง หรือไม่สบายท้องได้ 

 

วิธีที่ 5: ปล่อยน้ำยาล้างไตให้ช้าลง

การปล่อยน้ำยาล้างไตให้ช้าลง เพราะการปล่อยน้ำยาล้างไตเข้าสู่ช่องท้องในอัตราที่เร็วเกินไป อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดท้อง หรือไม่สบายท้องได้ ดังนั้น จึงควรปล่อยน้ำยาล้างไตเข้าสู่ช่องท้องด้วยอัตราเร็วที่ช้าลง ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัด หรือแน่นท้องในขณะที่กำลังเปลี่ยนถ่ายน้ำยาได้

 

 

ผลข้างเคียงของการล้างไตผ่านทางหน้าท้อง

ผลข้างเคียงของการล้างไตผ่านทางหน้าท้อง

ถึงแม้ว่าการล้างไตผ่านทางหน้าท้องนั้นจะค่อนข้างสะดวก และสามารถทำได้ด้วยตัวเองที่บ้าน แต่ว่าก็ยังมีผลข้างเคียงที่ควรรู้ไว้ ดังนี้

 

  • ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อบุช่องท้อง

ผู้ป่วยที่ล้างไตผ่านทางหน้าท้องมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับเยื่อบุช่องท้อง เพราะว่าผนังเยื่อบุช่องท้องนั้นรับหน้าที่เป็นตัวกรองฟอกเลือด และแยกระหว่างส่วนของเลือดกับน้ำยาล้างไต ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นทั้งตัวกั้นและตัวกรอง ดังนั้น ผู้ที่ล้างไตผ่านทางช่องท้องจึงต้องใช้งานเยื่อบุช่องท้องอยู่เป็นประจำ ซึ่งอาจส่งผลให้มีปัญหาเกี่ยวกับเยื่อบุช่องท้องตามมาในภายหลังได้

 

  • ระบบขับถ่ายไม่ปกติ

การล้างไตผ่านทางหน้าท้องทำให้ระบบขับถ่ายของผู้ป่วยไม่ปกติ โดยเกิดจากการสะสมของเสียที่บริเวณทางเดินอาหาร และลำไส้ในจำนวนมากอยู่บ่อยครั้ง จึงส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการท้องเสียและท้องผูกอยู่เป็นประจำ หรือผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และเบื่ออาหารร่วมด้วย

 

  • น้ำตาลในเลือดสูง

ผู้ป่วยที่ทำการล้างไตผ่านทางช่องท้องมักจะมีน้ำตาลในเลือดสูง โดยเป็นผลข้างเคียงที่เกิดจากการฟอกไตทางหน้าท้อง เพราะว่าผู้ป่วยจะได้รับน้ำตาลจากน้ำยาที่ใช้ในการฟอกไต ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้ง่ายมากขึ้น ดังนั้น ผู้ป่วยที่ฟอกไตทางหน้าท้องควรทำการเจาะติดตามระดับน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลให้การล้างไตมีประสิทธิภาพลดลง และเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

 

  • นอนไม่ค่อยหลับ

อาการนอนไม่ค่อยหลับ เป็นอีกผลข้างเคียงของผู้ป่วยที่ทำการฟอกไตทางหน้าท้องที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของของเสียในเลือด และสมอง จึงส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัว และทำให้เกิดอาการนอนไม่ค่อยหลับ ถ้าหากผู้ป่วยคนใดมีอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์และรับการตรวจวินิจฉัย ว่ามีโรคหรืออาการอื่น ๆ แทรกซ้อนหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยและป้องกันไม่ให้มีผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจตามมาภายหลังได้

 

  • ปวดกระดูก

ผู้ป่วยโรคไตหรือผู้ป่วยที่ฟอกไตผ่านทางหน้าท้องมักจะมีอาการปวดกระดูก เพราะว่าไตมีหน้าที่ในการควบคุมระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส และวิตามินดี จึงทำให้ผู้ป่วยไตนั้นมีระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ และมีฟอสฟอรัสในเลือดสูง ส่งผลให้กระดูกผุกร่อนและเปราะบางได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยไตเกิดอาการปวดกระดูกได้ง่ายกว่าผู้ป่วยโรคอื่น ๆ 

 

 

การฟอกเลือดที่โรงพยาบาล กับนวัตกรรมล้างไตที่ช่วยขจัดของเสียในเลือดได้มากยิ่งขึ้น

การฟอกเลือดที่โรงพยาบาล กับนวัตกรรมล้างไตที่ช่วยขจัดของเสียในเลือดได้มากยิ่งขึ้น

ในปัจจุบันนั้น มีวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 2 วิธีหลัก ๆ ได้แก่ การฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกไตปกติ (Conventional Hemodialysis) และ การฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกไตประสิทธิภาพสูง หรือ การล้างไตออนไลน์ (OL- HDF: Online Hemodiafiltration)

 

เริ่มต้นรู้จักกระบวนการแพร่ (Diffusion) ในการฟอกเลือด ที่ช่วยกำจัดของเสียโมเลกุลเล็กที่คั่งค้างในเลือดจากภาวะไตวาย

การฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกไตปกติ ซึ่งเป็นวิธีการล้างไตโดยทั่วไปนั้น จะใช้กระบวนการแพร่ (Diffusion) ซึ่งกำจัดได้เฉพาะของเสียขนาดโมเลกุลเล็กที่คั่งค้างในเลือดจากภาวะไตวาย ส่งผลให้มีของเสียที่มีขนาดโมเลกุลที่ใหญ่กว่านั้น ยังคั่งค้างอยู่ในเลือด ซึ่งอาจส่งผลเสียในระยะยาว ได้แก่ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น 

 

กระบวนการพา (Convection) ในการฟอกเลือดประสิทธิภาพสูง เทคโนโลยีที่ได้รับพัฒนา เพื่อการกำจัดของเสียที่คั่งค้างในเลือดอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกไตประสิทธิภาพสูง (OL-HDF: Online Hemodiafiltration) หรือที่เรียกว่า การล้างไตออนไลน์ (OL-HDF: Online Hemodiafiltration) นั้น ได้รับการพัฒนาเทคโนโลยีในการฟอกเลือด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดของเสีย โดยอาศัยกระบวนกำจัดของเสีย 2 กระบวนการด้วยกัน ได้แก่ กระบวนการแพร่ (Diffusion) และกระบวนการพา (Convection) ส่งผลให้กำจัดของเสียได้ทั้งของเสียที่มีขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดของเสียให้ดียิ่งขึ้น 

 

การล้างไตด้วยวิธี Online HDF กับการทดแทนสารน้ำในร่างกายด้วยน้ำบริสุทธิ์

จากกระบวนการแพร่ (Diffusion) และกระบวนการพา (Convection) ที่ได้รับการพัฒนาในการล้างไตออนไลน์ นั้น กระบวนการพาจะช่วยขจัดของเสียจากร่างกายด้วยการใช้แรงดันผลักสารน้ำ (Plasma) ในเลือดทิ้งออกไปจากร่างกาย ส่งผลให้ของเสียที่อยู่ในสารน้ำถูกพาออกไปด้วยเช่นกัน ซึ่งสารน้ำนั้นจะถูกผลักออกไปในปริมาณมาก จากปกติที่คนเรามีสารน้ำในร่างกาย 4-5 ลิตรโดยประมาณ จึงต้องเติมสารน้ำและเกลือแร่บริสุทธิ์ทดแทนตลอดช่วงที่มีการล้างไต เพื่อรักษาสมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ของร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติ

 

จากประสิทธิภาพในการกรองที่สูงและการใช้น้ำบริสุทธิ์สูงระดับ Ultra Pure Water ในการกำจัดของเสียด้วยการล้างไตออนไลน์ นั้น จะช่วยลดภาวะติดเชื้อ และลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ แถมยังช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หรือมีชีวิตยืนยาวมากกว่าการฟอกเลือดแบบปกติในระยะยาวอีกด้วย

 

ทางโรงพยาบาลสินแพทย์ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาให้ผู้ป่วยไตวายได้รับการดูแลรักษาที่ดีที่สุด จึงได้นำเทคโนโลยีการฟอกเลือดประสิทธิภาพสูงด้วยน้ำบริสุทธิ์ (OL-HDF: Online Hemodiafiltration) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการฟอกไตที่กำลังเป็นที่นิยมในทวีปอเมริกาและยุโรป มาใช้กับผู้ป่วยโรคไตของทางโรงพยาบาลสินแพทย์ เพราะการล้างไตด้วยวิธีนี้สามารถช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายดีขึ้น และมีชีวิตยืนยาวกว่าการฟอกไตชนิดธรรมดาเป็นอย่างมาก

 

การล้างไตที่บ้านนั้น โดยมากแล้วเป็นวิธีการล้างไตที่ใช้กับผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย (ESRD: End Stage Renal Disease) โดยวิธีในการล้างไตผ่านช่องท้องนั้นสามารถทำที่บ้านด้วยตัวเองด้วย 5 ขั้นตอน ซึ่งการล้างไตทางหน้าท้องที่บ้านอาจจะต้องมีคนคอยดูแลในระหว่างที่กำลังล้างไตด้วย แต่ถ้าหากไม่สะดวกในการล้างไตด้วยตัวเองที่บ้านก็สามารถเดินทางไปล้างไตที่โรงพยาบาล ซึ่งการล้างไตที่โรงพยาบาลนั้น มีทั้งการฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกไตเทียม และการฟอกเลือดแบบ OL-HDF ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดของเสียสำหรับผู้ป่วยไตวายลดความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ป้องกันการติดเชื้อ และเพิ่มความปลอดภัยของคนไข้มากที่สุด

SHARE