“โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ สามารถดูแลได้ ในมือผู้เชี่ยวชาญ”

8 มี.ค. 2564 | เขียนโดย นพ.วรศิลป์ ดีสุรกุล

เนื่องจากแนวโน้มปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ภาวะกระดูกพรุนจึงพบได้เพิ่มขึ้นตาม ซึ่งมักจะพบปัญหาใหญ่อื่น ๆ ตามมาได้ เช่นกระดูกหัก โดยกระดูกสันหลังเป็นตำแหน่งที่พบการหักได้มากที่สุดถึงร้อยละ 30-40 ถึงแม้จะพบได้บ่อย แต่มักมีอาการเล็กน้อย มีเพียงร้อยละ 10 ที่ทีอาการมากที่ต้องมาโรงพยาบาล อาการที่พบส่วนใหญ่คือ ปวดหลัง ความสูงลดลง หลังค่อม ท้องอืด อิ่มเร็วขึ้น โดยผู้ป่วยส่วนมากมักมีประวัติประสบอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย เช่น นั่งลงแรงๆ หรือก้มตัว บางรายจำไม่ได้ การวินิจฉัยแยกโรคจากภาวะสำคัญอื่นอย่างรวดเร็วและแม่นยำ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะบางภาวะมีอาการที่คล้ายคลึงกัน และมีอันตรายรุนแรงและต้องรีบรักษา เช่น ภาวะติดเชื้อในกระดูก ภาวะมะเร็งลุกลามมาที่กระดูกสันหลัง หรือมีโรคอื่น ๆ ที่ซ่อนอบู่ที่กระตุ้นให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ การตรวจพิเศษ เช่น การตรวจดูระดับเกลือแร่ในเลือด การ X-ray, CT, MRI รวมทั้งการตรวจมวลกระดูกด้วยเครื่อง DXA ล้วนเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำของการวินิจฉัยได้มากขึ้น การรักษากระดูกพรุน ขึ้นอยู่กับความรุนแรง ร่วมกับอาศัยประวัติ และการพบกระดูกหักหรือยุบร่วมด้วยหรือไม่ ปัจจุบันมีการใช้ยาในการรักษาที่ได้ผลดี ลดการการหักหรือยุบของกระดูกได้ดี โดยยาที่ใช้มีประสิทธิภาพดีและมีความปลอดภัยสูง กลุ่มที่สำคัญคือ Bisphosphonate , Teriparatide, RANK-Ligand inhibitor โดยให้ยาร่วมกับการรับประทานแคลเซี่ยมและวิตามินดีที่เพียงพอ การรักษาโดยการผ่าตัด ทำในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้เฉพาะ เช่น ปวดมาก มีกระดูกสันหลังยุบมากจนกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาท มีแขนขาอ่อนแรง หรือมีความผิดปกติที่ระบบขับถ่าย ซึ่งพบได้ไม่มาก แต่ถ้ามีภาวะดังกล่าว ต้องให้ความสนใจและดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย



เนื่องจากแนวโน้มปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ภาวะกระดูกพรุนจึงพบได้เพิ่มขึ้นตาม ซึ่งมักจะพบปัญหาใหญ่อื่น ๆ ตามมาได้ เช่นกระดูกหัก โดยกระดูกสันหลังเป็นตำแหน่งที่พบการหักได้มากที่สุดถึงร้อยละ 30-40

 

ถึงแม้จะพบได้บ่อย แต่มักมีอาการเล็กน้อย มีเพียงร้อยละ 10 ที่ทีอาการมากที่ต้องมาโรงพยาบาล

 

อาการที่พบส่วนใหญ่คือ ปวดหลัง ความสูงลดลง หลังค่อม ท้องอืด อิ่มเร็วขึ้น โดยผู้ป่วยส่วนมากมักมีประวัติประสบอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย เช่น นั่งลงแรงๆ หรือก้มตัว บางรายจำไม่ได้

 

การวินิจฉัยแยกโรคจากภาวะสำคัญอื่นอย่างรวดเร็วและแม่นยำ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะบางภาวะมีอาการที่คล้ายคลึงกัน และมีอันตรายรุนแรงและต้องรีบรักษา เช่น ภาวะติดเชื้อในกระดูก ภาวะมะเร็งลุกลามมาที่กระดูกสันหลัง หรือมีโรคอื่น ๆ ที่ซ่อนอบู่ที่กระตุ้นให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้

 

การตรวจพิเศษ เช่น การตรวจดูระดับเกลือแร่ในเลือด การ X-ray, CT, MRI รวมทั้งการตรวจมวลกระดูกด้วยเครื่อง DXA ล้วนเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำของการวินิจฉัยได้มากขึ้น

 

การรักษากระดูกพรุน ขึ้นอยู่กับความรุนแรง ร่วมกับอาศัยประวัติ และการพบกระดูกหักหรือยุบร่วมด้วยหรือไม่

 

ปัจจุบันมีการใช้ยาในการรักษาที่ได้ผลดี ลดการการหักหรือยุบของกระดูกได้ดี โดยยาที่ใช้มีประสิทธิภาพดีและมีความปลอดภัยสูง กลุ่มที่สำคัญคือ Bisphosphonate , Teriparatide, RANK-Ligand inhibitor

 

โดยให้ยาร่วมกับการรับประทานแคลเซี่ยมและวิตามินดีที่เพียงพอ

 

การรักษาโดยการผ่าตัด ทำในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้เฉพาะ เช่น ปวดมาก มีกระดูกสันหลังยุบมากจนกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาท มีแขนขาอ่อนแรง หรือมีความผิดปกติที่ระบบขับถ่าย ซึ่งพบได้ไม่มาก แต่ถ้ามีภาวะดังกล่าว ต้องให้ความสนใจและดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย

 


ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ได้ที่ สาขาใกล้บ้านคุณ
คลิกลิงค์เพื่อปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทาง

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

 

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ