อาการอย่างไร…ต้องสงสัยน้ำในหูไม่เท่ากัน ?!??

17 พ.ย. 2567 | เขียนโดย โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของน้ำที่อยู่ภายในหูชั้นใน ทำให้แรงดันของน้ำในหูชั้นในสูงผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนและการได้ยินผิดปกติ โรคนี้พบได้บ่อยในช่วงอายุ 30-60 ปี ส่วนใหญ่มักเกิดในหูข้างเดียว แต่ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการในหูทั้งสองข้าง



โรคน้ำในหูไม่เท่ากันคืออะไร ?

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของน้ำที่อยู่ภายในหูชั้นใน ทำให้แรงดันของน้ำในหูชั้นในสูงผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนและการได้ยินผิดปกติ โรคนี้พบได้บ่อยในช่วงอายุ 30-60 ปี ส่วนใหญ่มักเกิดในหูข้างเดียว แต่ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการในหูทั้งสองข้าง

 

 

สาเหตุของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันเกิดจากอะไร ?

สาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากความผิดปกติของการสร้างน้ำในหูชั้นในหรือท่อทางเดินน้ำในหูชั้นในตีบตันจากสาเหตุต่างๆ ปัจจัยเสี่ยงที่พบว่าอาจสัมพันธ์กับการเกิดโรค เช่น

 

  • โครงสร้างหูชั้นในผิดปกติแต่กำเนิด
  • การติดเชื้อ เช่น หูชั้นกลางอักเสบ การติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อซิฟิลิสของหูชั้นใน
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคทางต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ ไขมันในเลือดสูง
  • ความผิดปกติของระดับเกลือแร่ในร่างกาย
  • อุบัติเหตุที่ศีรษะ

 

อาการของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันเป็นอย่างไร ?

  • เวียนศีรษะบ้านหมุน อาการเวียนศีรษะมักรุนแรงและอาการเป็นนานหลายนาทีจนถึงหลายชั่วโมง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • สูญเสียการทรงตัว
  • หูอื้อ การได้ยินลดลง
  • มีเสียงดังรบกวนในหู

 

การวินิจฉัยโรคน้ำในหูไม่เท่ากันทำอย่างไร ?

  1. การซักประวัติอาการเวียนศีรษะ อาการทางหู อาการทางระบบประสาท โรคประจำตัวและการเจ็บป่วยในอดีต
  2. การตรวจร่างกายทั่วไป การตรวจหู คอ จมูก การตรวจระบบประสาท
  3. การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น การตรวจการได้ยิน การตรวจคลื่นไฟฟ้าของหูชั้นใน การตรวจประสาทการทรงตัว
  4. การตรวจทางรังสี เช่น การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ในรายที่สงสัยว่ามีความผิดปกติของสมอง
  5. การรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากันทำอย่างไร ?
  6. การดูแลตนเอง โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดอาหารรสเค็มจัด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ บุหรี่
  7. การใช้ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือด ยาลดอาการเวียนศีรษะ ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
  8. การผ่าตัดเพื่อระบายน้ำที่คั่งอยู่ในหูชั้นใน ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและไม่สามารถควบคุมอาการได้จากการใช้ยา

 

 

โรคนี้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การใช้ยาร่วมกับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องจะช่วยควบคุมอาการ ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

 

หากไม่สบายใจต้องการตรวจเช็ก ศูนย์ตรวจการได้ยิน รพ.สินแพทย์ รามอินทรา

SHARE