โรคพาร์กินสัน

31 ส.ค. 2563 | เขียนโดย ศูนย์สมอง โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

อาการของโรคพาร์กินสัน โดยทั่วไปอาการจะแสดงออกมากหรือน้อยแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ด้าน เช่น อายุ ระยะเวลาของการเป็นโรค และภาวะแทรกซ้อน แต่จะมีอาการที่เห็นได้ชัดอยู่ 4 ประการ ดังนี้ อาการสั่น มักพบเป็นอาการเริ่มต้น โดยเฉพาะเวลาที่อยู่นิ่งๆ แต่เมื่อเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมอาการจะลดลง หรือหายไป โดยมากจะพบอาการที่มือและเท้า อาการเกร็ง โดยเฉพาะบริเวณแขน ขา และลำตัว ทำให้มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ทั้งๆ ที่ไม่ได้เคลื่อนไหว หรือทำงานหนัก จนบางครั้งต้องกินยาแก้ปวด หรือนวดกล้ามเนื้ออยู่เป็นประจำ มีหน้าตาเฉยเมย เหมือนไส้หน้ากากไม่แสดงอารมณ์ตลอดเวลา ไม่ค่อยยิ้มหรือหัวเราะ เคลื่อนไหวได้ช้าลง ผู้ป่วยจะขาดความกระฉับกระเฉง โดยเฉพาะเมื่อเริ่มต้นเคลื่อนไหว จนบางครั้งอาจหกล้มจนเกิดอุบัติเหตุ กระดูกสะโพกหัก หัวเข่าแตกได้



โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)

เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการสั่น เกร็ง และเคลื่อนไหวช้าลง

 

สาเหตุของโรคพาร์กินสัน

ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่พบว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีการเสื่อมของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่สร้างสารเคมีชนิดหนึ่งในสมองที่ชื่อว่า “สารโดปามีน” ทำให้สร้างสารนี้ได้ลดลงจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอาการของโรค

 

อาการของโรคพาร์กินสัน

โดยทั่วไปอาการจะแสดงออกมากหรือน้อยแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ด้าน เช่น อายุ ระยะเวลาของการเป็นโรค และภาวะแทรกซ้อน แต่จะมีอาการที่เห็นได้ชัดอยู่ 4 ประการ ดังนี้

  1. อาการสั่น มักพบเป็นอาการเริ่มต้น โดยเฉพาะเวลาที่อยู่นิ่งๆ แต่เมื่อเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมอาการจะลดลง หรือหายไป โดยมากจะพบอาการที่มือและเท้า
  2. อาการเกร็ง โดยเฉพาะบริเวณแขน ขา และลำตัว ทำให้มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ทั้งๆ ที่ไม่ได้เคลื่อนไหว หรือทำงานหนัก จนบางครั้งต้องกินยาแก้ปวด หรือนวดกล้ามเนื้ออยู่เป็นประจำ
  3. มีหน้าตาเฉยเมย เหมือนไส้หน้ากากไม่แสดงอารมณ์ตลอดเวลา ไม่ค่อยยิ้มหรือหัวเราะ
  4. เคลื่อนไหวได้ช้าลง ผู้ป่วยจะขาดความกระฉับกระเฉง โดยเฉพาะเมื่อเริ่มต้นเคลื่อนไหว จนบางครั้งอาจหกล้มจนเกิดอุบัติเหตุ กระดูกสะโพกหัก หัวเข่าแตกได้

 

การตรวจวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน

ควรได้รับการตรวจร่างกายและซักประวัติอย่างละเอียด จากแพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรกรรมประสาทและสมอง บางรายอาจจำเป็นต้องตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT-Scan) เพื่อดูให้แน่ชัดว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายโรคพาร์กินสัน

 

การรักษาโรคพาร์กินสัน

โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง  จำเป็นต้องกินยาไปตลอด และพบแพทย์ตามกำหนดนัดเพื่อปรับขนาดยารักษาตามอาการ ยาที่กินจะไปช่วยเพิ่มสารโคปามีนในสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นผู้ป่วยส่วนใหญ่มักท้อแท้ใจเพราะเข้าใจว่ากินยาไปแล้ว 2-3วัน จะหาย แต่ความจริงแล้วอาการจะค่อยๆ ดีขึ้น ทุกๆ สัปดาห์ หากผู้ป่วยรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ แล้วค่อยๆ ปรับยาไปเรื่อยๆ ในที่สุดอาการจะใกล้เคียงคนปกติ และคุณภาพชีวิตที่ดีเหมือนเดิมได้

สำหรับการผ่าตัดรักษาโรคนี้ อาจได้ผลดีในผู้ป่วยที่อายุน้อยๆ และมีอาการไม่มาก แต่หลังการผ่าตัดแล้วก็ยังต้องใช้ยากินและปรับขนาดยาอยู่เหมือนเดิม

 

เทคโนโลยีช่วยรักษาโรคพาร์กินสัน

  • เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS
  • การใช้ BOTOX

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์อายุรกรรมระบบประสาทและสมอง

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์  

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ 

 

SHARE