หัวใจเต้นผิดจังหวะ AF หัวใจเต้นพลิ้ว หัวใจเต้นพลิ้ว Atrial Fibrillation หรือ AF คือ การที่หัวใจเต้นเร็วและมีจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอ ในระหว่างที่เป็น AF หัวใจสองห้องบนจะเต้นไม่สม่ำเสมอและเป็นคนละจังหวะกับหัวใจทั้งสองห้องล่าง ทำให้การปั๊มเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ มักมีอาการใจสั่น หายใจไม่ทัน และร่างกายอ่อนแรง เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเสี่ยงต่อ การเกิดลิ่มเลือดทำให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก หัวใจล้มเหลว และ โรคหัวใจอื่นๆ ตามมา
หัวใจเต้นพลิ้ว Atrial Fibrillation หรือ AF คือ การที่หัวใจเต้นเร็วและมีจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอ ในระหว่างที่เป็น AF หัวใจสองห้องบนจะเต้นไม่สม่ำเสมอและเป็นคนละจังหวะกับหัวใจทั้งสองห้องล่าง ทำให้การปั๊มเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ มักมีอาการใจสั่น หายใจไม่ทัน และร่างกายอ่อนแรง เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเสี่ยงต่อ การเกิดลิ่มเลือดทำให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก หัวใจล้มเหลว และ โรคหัวใจอื่นๆ ตามมา
อาการของภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว AF
- ใจสั่น
- หัวใจเต้นเร็วไม่สม่ำเสมอ
- เหนื่อยง่าย
- อ่อนเพลีย
- เหนื่อยขณะออกกำลังกาย
- ความสามารถในการออกกำลังกายลดลง
- เจ็บหรือแน่นหน้าอก เวียนศีรษะ
- หายใจลำบาก
- เป็นลมหมดสติ
หัวใจเต้นพลิ้ว Atrial Fibrillation หรือ AF
การที่หัวใจเต้นเร็วและมีจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอ เพราะกระแสไฟฟ้าที่กำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจมีปัญหา คล้ายๆ กับระบบไฟฟ้าของปั๊มที่มีไฟกระตุก หัวใจเรามีห้องอยู่ 4 ห้อง สองห้องบนและสองห้องล่าง ในห้องขวาบนมีกลุ่มเซลล์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Sinus node (SA โหนด) ที่ทำหน้าที่ส่งกระแสไฟฟ้าให้หัวใจสองห้องบนเริ่มเต้น ซึ่งกระแสไฟฟ้าจะเดินทางผ่านกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า Antrioventricular node (AV โหนด) ที่อยู่ระหว่างหัวใจสองห้องบนและสองห้องล่าง ซึ่งกลุ่มเซลล์นี้ทำหน้าที่ส่งให้หัวใจสองห้องล่างเริ่มเต้น
ในขณะที่เป็น AF กระแสไฟฟ้าที่ถูกส่งมาจะไม่มีระเบียบ และมีจำนวนเยอะมาก ทำให้หัวใจห้องบนเต้นไม่เป็นจังหวะ รัวและเร็ว พอสัญญาณไฟฟ้าที่มีมากกว่า 350 ครั้งต่อนาที ถูกส่งไปยังสองห้องล่างผ่าน AV โหนด ก็จะเจอปัญหาขั้นที่สอง เพราะ AV โหนดไม่สามารถรับสัญญาณไฟฟ้าที่ถูกส่งมาได้ทั้งหมด เนื่องจากสามารถรับได้แค่ 200 ครั้งเท่านั้น
AF เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจโดยธรรมชาติ บางคนอาจใช้ชีวิตโดยไม่รู้ว่ามีภาวะนี้อยู่ แต่ในกลุ่มที่มีอาการ AF สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
- จากการกระตุ้นภายนอก
- จากความผิดปกติของหัวใจอื่นๆ
- มีภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว AF
การรักษาภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว AF
การรักษาภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว AF มีเป้าหมายเพื่อ ทำให้จังหวะหัวใจกลับมาเต้นปกติ หรือควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ และป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือด
-
การรักษาภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว AF จากการกระตุ้นภายนอก
เกิดจากเหตุกระตุ้นจากภายนอกหัวใจเช่น อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นหัวใจเช่นสารคาเฟอีนในกาแฟ ชา โสม แอลกอฮอล์เป็นต้น ภาวะเครียดทางกายและใจจากการทำงานหนักพักผ่อนไม่พอก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน นอกจากนี้ความเจ็บป่วยต่างๆ ก็กระตุ้น AF ได้ เช่นกัน เช่น หอบหืด ปอดอักเสบ ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ การรักษาอาการหัวเต้นพลิ้ว AF ในกลุ่มนี้สามารถทำได้เอง การควบคุมการใช้ชีวิตประจำวัน ควบคุมคาเฟอีนและแอลกอฮอลล์หรือดูแลรักษาอาการไทรอยด์ที่เป็นอยู่ ก็สามารถลดโอกาสที่จะมีอาการ AF ได้
-
การรักษาภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว AF จากความผิดปกติของหัวใจอื่นๆ
ความผิดปกติของหัวใจ เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน ลิ้นหัวใจตีบ หัวใจทำงานล้มเหลว สามารถกระตุ้นให้มีอาการ AF ได้ทั้งสิ้น การรักษาในกลุ่มนี้ต้องมุ่งแก้ความผิดปกติที่เป็นต้นเหตุเพื่อป้องกันไม่ให้ไปกระตุ้นให้มีอาการ AF อีก ถ้าแก้ไขไม่ได้โอกาสที่จะทำให้ AF หายเป็นปกติก็จะเป็นไปได้ยาก
-
การรักษาจากภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว AF เป็นความผิดปกติของระบบไฟฟ้าของหัวใจห้องบนเอง
มักเป็นความเสื่อมของระบบไฟฟ้าของหัวใจ การรักษาในกลุ่มนี้มีด้วยกัน 2 วิธี คือ
-
- การรักษาด้วยการใช้ยา การใช้ยาต้าน AF มีหลายขนานซึ่งจะมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันและมีผลข้างเคียงต่างกัน
- การรักษาด้วยการใช้คลื่นวิทยุ รักษาด้วยการใช้คลื่นวิทยุจี้บริเวณที่ผิดปกติในหัวใจ ซึ่งวิธีนี้มีความก้าวหน้ามาก ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีภาวะแทรกซ้อนลดลง
- การรักษาภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว AF ผู้ป่วยและญาติควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด เพื่อกำหนดแนวทางการรักษาให้ถูกต้อง เพื่อจะได้หายขาดจาก AF
- ในรายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ก็จะได้รับการรักษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของ AF
พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์เบาหวานและต่อมไร้ท่อ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์
ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)