ว่าด้วยเรื่อง… กลิ่นปาก ปากเหม็น

16 ก.ค. 2563 | เขียนโดย นายแพทย์สุนทร สาครรัตน์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านหู คอ จมูก โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

กลิ่นปาก เป็นปัญหาสำคัญหนึ่งในผู้ป่วย ที่ทำให้สูญเสียความมั่นใจ บุคคลิกภาพในทางสังคม แม้จะไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตอย่างเช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ แต่ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการเข้าสังคม การพบปะพูดคุยกับผู้อื่น เพราะผู้อื่นก็มักจะไม่บอกผู้ป่วย ทำให้ไม่ทราบ ยกเว้นจะสังเกตได้เอง โดยทั่วไปสาเหตุหลักๆ ของกลิ่นปากมาจาก 2 สาเหตุ ภายในช่องปาก นอกช่องปาก 90% พบในสาเหตุจากช่องปากมากกว่า จากการศึกษาเปรียบเทียบ กับ โรคเหงือกจะพบกลิ่นปากได้บ่อยกว่าคนทั่วไปที่ไม่มีโรคเหงือก เกิดจากสารเคมีจำพวกซัลเฟอร์ ผสมปนกับน้ำลาย และ เชื้อโรคแบคทีเรียในช่องปาก



กลิ่นปาก ปากเหม็น เป็นปัญหาสำคัญหนึ่งในผู้ป่วย ที่ทำให้สูญเสียความมั่นใจ บุคคลิกภาพในทางสังคม แม้จะไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตอย่างเช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ แต่ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการเข้าสังคม การพบปะพูดคุยกับผู้อื่น เพราะผู้อื่นก็มักจะไม่บอกผู้ป่วย ทำให้ไม่ทราบ ยกเว้นจะสังเกตได้เอง

 

โดยทั่วไปสาเหตุหลักๆ ของกลิ่นปากมาจาก 2 สาเหตุ

  1. ภายในช่องปาก
  2. นอกช่องปาก

 

90% พบในสาเหตุจากช่องปากมากกว่า จากการศึกษาเปรียบเทียบ กับ โรคเหงือกจะพบกลิ่นปากได้บ่อยกว่าคนทั่วไปที่ไม่มีโรคเหงือก เกิดจากสารเคมีจำพวกซัลเฟอร์ ผสมปนกับน้ำลาย และ เชื้อโรคแบคทีเรียในช่องปาก

 

ตำแหน่งที่พบได้บ่อยๆ ที่มีกลื่นปากและเชื้อแบคทีเรียสะสมได้ง่าย ได้แก่

  • บริเวณโคนลิ้นด้านหลัง เนื่องจากกลไกธรรมชาติจะไม่สามารถทำความสะอาดได้ดี ซึ่งมีทอนซิลโคนลิ้นกับตุ่มนูนๆ สามารถเป็นที่สะสมแบคทีเรีย ที่ต่างผลิตมูก (mucus) สามารถผลิตมูกมาเคลือบลิ้น ทำให้เป็นแหล่งที่อยู่ของเชื้อโรคได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีสุขภาพช่องปากไม่ดี โรคเหงือก ฟัน จะเพิ่มเชื้อโรคในช่องปากได้อีก
  • บริเวณซอกฟัน ช่องเหงือก หรือหินปูนเกาะ เชื้อโรคจะสะสมบริเวณดังกล่าวได้ง่าย เพราะเป็นซอกทำความสะอาดยาก ดูแลได้ลำบาก ยกเว้นใช้ไหมขัดฟัน และแปรงฟันอย่างทั่วถึง

 

ปัจจัยอื่นๆ ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นปาก ได้แก่

  • ทอนซิลอักเสบเรื้อรัง ทำให้เป็นหลุมและสิ่งสกปรกตกค้างหลุมปนกับเชื้อโรคในช่องปาก
  • ปริมาณน้ำลายลดลง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยหลังฉายแสงบริเวณลำคอ
  • แผลอักเสบเรื้อรัง หรือ เป็นบ่อยๆ เช่น จากเชื้อเริม เชื้อรา
  • หลังผ่าตัดทอนซิล เนื้องอกในปาก
  • ฟันปลอมสกปรก ไม่ได้ล้างทำความสะอาด ใส่ข้ามคืน
  • สูบบุหรี่

 

ที่เหลือ เป็นสาเหตุจากนอกช่องปาก ประมาณ 10% เช่น ไซนัสอักเสบทำให้มีน้ำมูกไหลลงคอ ภาวะเนื้องอกในจมูก สิ่งแปลกปลอมตกค้างในจมูก

 

นอกจากนี้ อาหารที่รับประทานเข้าไปก็มีส่วนทำให้เกิดกลิ่นปากได้ เช่นกัน

 

ตัวอย่างเช่น กระเทียม หัวหอม ทุเรียน สะเอา สะตอ เครื่องเทศที่มีกลิ่นแรง

อย่างไรก็ตาม ไม่มีเครื่องมือตรวจวัดใดๆ ที่ชัดเจน และจำเพาะเจาะจง สำหรับการวินิจฉัยกลิ่นปาก มักจะอาศัยจมูกจากผู้อื่น ว่ามีกลิ่นเหม็นผิดปกติ หรือไม่

 

การรักษา

จำเป็นต้องแยกให้ชัดเจนว่า เป็นจากระบบใด คงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน ทั้งทันตแพทย์ แพทย์หู คอ จมูก บางครั้งอาจต้องพบแพทย์ด้านปอด ช่วยในการสืบค้นหาสาเหตุ และช่วยดูแลรักษา

 

การดูแลสุขภาพทั่วไป

รักษาความสะอาดช่องปาก แปรงฟันสม่ำเสมอ ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟัน อาจใช้น้ำยาบ้วนปากกลุ่ม Chlorhexadine บ้วนปากลดปริมาณสารเคมีในปากและโคนลิ้น

การเคี้ยวหมากฝรั่ง ช่วยลดกลิ่นปากได้เช่นกัน โดยจะไปเพิ่มการหลั่งน้ำลาย

อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่กลัวกลิ่นปาก คิดว่าตนเองมีกลิ่นปากโดยผู้อื่นไม่ได้กลิ่น และแพทย์ตรวจหาสาเหตุไม่พบ โดยกลุ่มนี้จะมีความวิตกกังวลสูง และบางรายเกิดอาการซึมเศร้าได้

 

พบแพทย์เฉพาะทาง แผนก  หู คอ จมูก

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

SHARE