รับประทานยาตามใจ เสี่ยงโรคไตไม่รู้ตัว

11 พ.ย. 2564 | เขียนโดย ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลสินแพทย์

ไม่ใช่ยาทุกชนิด จะมีผลต่อการทำงานของไต และสาเหตุหลักของการเกิดโรคไตจากการทานยานั้น มักมาจากการไม่ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ การทานยามากเกินคำแนะนำ หรือ การซื้อยามาทานเอง ทั้งยาแผนปัจจุบัน และยาสมุนไพรต่าง ๆ ทำให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้นในการกรองสารต่าง ๆ เหล่านี้ ส่งผลให้เกิดภาวะไตเสื่อมขึ้นในที่สุด



โรคไตวายเรื้อรัง

นั้นเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง โดยหนึ่งในปัจจัยเพิ่มความเสี่ยง คือการรับประทานยามากจนเกินไป เพราะไตนั้นทำหน้าที่ขจัดของเสียต่าง ๆ ที่ร่างกายไม่ต้องการ รวมถึงยา หรือ สารต่าง ๆ ที่ร่างกายรับเข้าไปด้วย จึงทำให้หลายคนอาจเกิดความสงสัยขึ้นว่า แล้วการทานยาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของตนเอง จะส่งผลต่อไตหรือไม่ หรือ มีข้อควรระวังเพิ่มเติมในการใช้ยาอย่างไร เพื่อไม่ให้ไตเสื่อม

 

ไม่ใช่ยาทุกชนิด จะมีผลต่อการทำงานของไต และสาเหตุหลักของการเกิดโรคไตจากการทานยานั้น มักมาจากการไม่ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ การทานยามากเกินคำแนะนำ หรือ การซื้อยามาทานเอง ทั้งยาแผนปัจจุบัน และยาสมุนไพรต่าง ๆ ทำให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้นในการกรองสารต่าง ๆ เหล่านี้ ส่งผลให้เกิดภาวะไตเสื่อมขึ้นในที่สุด

 

ประเภทของยาที่ต้องระวัง

  • กลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs – Non-steroidal Anti-inflammatory Drugs) คือกลุ่มยาที่ใช้ในการบรรเทาอาการปวด เช่น ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ หรือ กระดูก รวมถึงลดไข้ ต้านอาการอักเสบ โดยยากลุ่มนี้จะส่งผลให้การควบคุมการไหลเวียนของเลือดในไต หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลเสียต่อการไหลเวียนเลือดของไต และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน

 

  •  ยาปฏิชีวนะบางชนิด หรือ ยาฆ่าเชื้อ การใช้ยาเหล่านี้จำเป็นต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะอาจก่อให้เกิดการตกผลึก หรือ ตกตะกอนภายในไต รวมถึงท่อปัสสาวะได้

 

  • ยาหม้อ ยาชุด ยาลูกกลอน ยาสมุนไพร เป็นการนำพืชสมุนไพรมาผสมกันแล้วนำไปต้มรับประทาน หรือ ในปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบเป็นยาลุกกลอน แคปซูล หรือ ยาอัดเม็ด โดยยากลุ่มนี้มักจะไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน และไม่มีการระบุตัวยาที่ชัดเจน ทำให้มีการเจือปนสารพิษต่าง ๆ เช่น โลหะหนัก และสารสเตียรอยด์ (Steroid) หากรับประทานติดต่อกัน จะทำให้พิษสะสมในไต ส่งผลให้เนื้อเยื่อไตตาย และเป็นโรคไตเรื้อรังได้ รวมถึงการรับประทานสมุนไพรด้วยตัวเอง อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพของยาแผนปัจจุบันที่รับประทานอยู่นั้นลดลงอีกด้วย

 

ทานยาอย่างไร ไม่ให้เสี่ยงไตพัง

  • รับประทานยาเฉพาะตามที่แพทย์ หรือ เภสัชกรจ่ายยามาเท่านั้น ไม่ควรซื้อยาทานเองเพิ่มเติม และควรทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาซ้ำซ้อน เพราะยาบางกลุ่มออกฤทธิ์คล้ายกัน การรับประทานยาร่วมกันจะส่งผลให้ไตทำงานหนักขึ้นโดยไม่จำเป็น
  • นำยาที่รับประทานอยู่ติดตัวมาทุกครั้งที่พบแพทย์ และควรแจ้งแพทย์ให้ทราบเกี่ยวกับยาประจำตัวเพื่อประกอบการพิจารณาในการรักษา และจ่ายยาเพิ่มเติม
  • หลังทานยา ควรดื่มน้ำสะอาดให้มากพอ จะช่วยลดความเสี่ยงการตกผลึก หรือ ตะกอนที่เกิดจากยาได้

 

การรับประทานยาให้ได้ผลดีที่สุด คือการรับประทานยาอย่างเหมาะสม และถูกต้อง โดยอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อให้การรักษาโรคที่เป็นอยู่ได้ประสิทธิภาพดีที่สุด และส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายให้น้อยที่สุดด้วย ดังนั้น หากมีข้อสงสัยในการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกรทุกครั้ง เพื่อสุขภาพไตที่ดี

 

ไต

ตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมตรวจสุขภาพโรคไตเบื้องต้น พร้อมโปรโมชันพิเศษ คลิก https://bit.ly/3ofXs1P

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการด้าน โรคไต ศูนย์โรคไต ศูนย์ไตเทียมสาขาใกล้บ้านคุณ

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

SHARE