รักษาหัวใจล้มเหลว ด้วย เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า CRT (Cardiac Resynchronization Therapy) เครื่อง CRT หรือ " เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดกระตุ้นหัวใจห้องล่างสองห้องพร้อมกัน " ตั้งชื่อตามหน้าที่ คือ เป็นเครื่องคอยกระตุ้นตลอดเวลาในทุกการบีบตัวของหัวใจ เพื่อบังคับให้ผนังหัวใจทั้งฝั่งซ้าย และ ฝั่งขวา บีบตัวพร้อมกัน ทำให้หัวใจทำงานดีขึ้น ลดอาการหอบเหนื่อย ลดการเสียชีวิต
รักษาหัวใจล้มเหลว ด้วย เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า CRT (Cardiac Resynchronization Therapy) เครื่อง CRT หรือ ” เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดกระตุ้นหัวใจห้องล่างสองห้องพร้อมกัน “ ตั้งชื่อตามหน้าที่ คือ เป็นเครื่องคอยกระตุ้นตลอดเวลาในทุกการบีบตัวของหัวใจ เพื่อบังคับให้ผนังหัวใจทั้งฝั่งซ้าย และ ฝั่งขวา บีบตัวพร้อมกัน ทำให้หัวใจทำงานดีขึ้น ลดอาการหอบเหนื่อย ลดการเสียชีวิต
จุดสำคัญที่แตกต่างจาก ICD คือ สายไฟของ CRT มีฝั่งที่วางกระตุ้นหัวใจห้องล่างทั้งซ้ายและขวา (ขณะที่ ICD จะวางไว้ฝั่งขวาข้างเดียว) เพื่อปล่อยไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจทั้ง 2 ข้างให้บีบพร้อมกัน
ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวที่ควรใส่เครื่อง CRT
- หัวใจบีบตัวไม่ดี (ค่า LVEF ต่ำ) และ
- ยังหอบเหนื่อยทั้งที่ปรับยาอย่างเต็มที่ และ
- หัวใจห้องล่างขวา และ ซ้าย ทำงานไม่ประสานกัน (ดูได้จากคลื่นไฟฟ้าฟัวใจ)
ข้อบ่งชี้ในการใส่ ICD และ CRT เลือกใส่อะไรดี
กรณีมีข้อบ่งชี้ใส่เครื่องมือทั้ง 2 อย่าง แพทย์จะใส่อุปกรณ์ที่รวมการทำงานของ ICD และ CRT เข้าด้วยกัน เรียกว่า CRT-D (อ่านว่า ซี – อา – ที – ดี ) ย่อมาจาก Cardiac Resynchronization Therapy with Defibrillator
พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์หัวใจ หรือ ศูนย์หัวใจล้มเหลว
ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)