ทำไมถึงต้องรักษาด้วยเทคโนโลยี TMS?

15 มิ.ย. 2564 | เขียนโดย พญ.อาภากร ซึงถาวร (อายุรแพทย์โรคระบบประสาทและสมอง) โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ถึงแม้การฟื้นฟูร่างกายด้วยวิธีกายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัดจะสามารถช่วยส่งเสริมให้ร่างกายของผู้ป่วยได้กลับมาใช้งานได้ดีขึ้น แต่ต้องอาศัยระยะเวลานาน และต้องทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การทำ TMS จึงเป็นอีกทางเลือก ที่สามารถทำควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัด เหมือนเป็นตัวเร่ง ที่ช่วยกระตุ้นทำให้เซลล์สมองกลับมาสั่งการได้ดีขึ้น และทำงานได้เป็นปกติได้รวดเร็วกว่าการทำกายภาพบำบัดเพียงอย่างเดียว



ทำไมถึงต้องทำ TMS ?

  • ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ถึงแม้การฟื้นฟูร่างกายด้วยวิธีกายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัดจะสามารถช่วยส่งเสริมให้ร่างกายของผู้ป่วยได้กลับมาใช้งานได้ดีขึ้น แต่ต้องอาศัยระยะเวลานาน และต้องทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การทำ TMS จึงเป็นอีกทางเลือก ที่สามารถทำควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัด เหมือนเป็นตัวเร่ง ที่ช่วยกระตุ้นทำให้เซลล์สมองกลับมาสั่งการได้ดีขึ้น และทำงานได้เป็นปกติได้รวดเร็วกว่าการทำกายภาพบำบัดเพียงอย่างเดียว
  • ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา และผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมาณกับอาการปวดศีรษะของไมเกรนแล้ว การทำ TMS นอกจากจะเป็นวิธีการรักษาที่ไม่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บตัวแล้ว ยังเพิ่มโอกาสและทางเลือก ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาที่นอกเหนือจากยา ช่วยทำให้ผู้ป่วย กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ ได้เร็วยิ่งขึ้น
    .

หากต้องการทำ TMS ควรเตรียมตัวอย่างไร และมีขั้นตอนอย่างไร?

  • ควรเข้ารับการซักประวัติ และตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทและสมอง เพื่อซักประวัติถึงอาการและโรคที่เป็น ภาวะแทรกซ้อนและปัญหาของผู้ป่วยที่มีในปัจจุบัน และวางแผนกำหนดเป้าหมายในการรักษาด้วยเครื่อง TMS ร่วมกัน โดย ผู้ป่วยและญาติใกล้ชิดที่ทราบประวัติ ควรมาพบแพทย์ พร้อมด้วยประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลก่อนหน้า ภาพถ่ายเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง(ถ้ามี)
  • เมื่อแพทย์ได้กำหนดแผนการรักษาด้วยเครื่อง TMS กับผู้ป่วยแล้ว ขั้นตอนการรักษา จะเริ่มจาก การนำหัวคอยล์ (Coil) ที่จะทำหน้าที่ส่งคลื่นแม่เหล็ก มาวางที่ศีรษะ หรือแขนขา ตามจุดที่วางแผนการรักษาไว้ และทำการปล่อยสัญญาณกระแสไฟฟ้า ระหว่างที่ทำ TMS ผู้ป่วยอาจรู้สึกถึงการกระตุกของกล้ามเนื้อแขนขา ฝั่งตรงข้ามกับสมองข้างที่ถูกกระตุ้น
  • การรักษาด้วยเครื่อง TMS จะไม่สร้างความเจ็บปวดหรือปวดเกร็ง หากทำด้วยกระแสไฟฟ้าที่มีความถี่และความรุนแรงที่เหมาะสม โดยต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ตลอดระยะเวลาที่กระตุ้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง ใช้เวลาประมาณ 30-60 นาทีต่อครั้ง สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้ โดยไม่ต้องใช้ยาดมสลบ ไม่จำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล

.

ข้อควรระวัง หรือ ข้อห้าม ในการใช้เครื่อง TMS คืออะไรบ้าง?

    • มีประวัติชักมาก่อน
    • มีโลหะฝังอยู่ในสมอง เช่น คลิปหนีบเส้นเลือดโป่งพองในสมอง เป็นต้น
    • ฝังอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ เป็นต้น

.

พบแพทย์เฉพาะทาง คลินิกอายุรกรรมโรคระบบประสาทและสมอง 

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์  

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ 

 

 

SHARE