รักษาหัวใจล้มเหลว ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แบบฝังในร่างกาย

13 ก.ค. 2563 | เขียนโดย นายแพทย์เอกลักษณ์ อาจนาฝาย ศูนย์หัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

รักษาหัวใจล้มเหลว ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แบบฝังในร่างกาย คอยเฝ้าดูแลแก้ไข ติดตัวไปทุกที่....ในผู้ป่วยบางรายแม้ปรับยาเต็มที่แล้ว แต่อาจพบปัญหาเกี่ยวกับระบบการนำไฟฟ้าได้ " 45%  ของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว มีความเสี่ยงเสียชีวิตฉับพลัน ใน 1 ปีแรก จาก ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่งรุนแรง "



รักษาหัวใจล้มเหลว ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แบบฝังในร่างกาย คอยเฝ้าดูแลแก้ไข ติดตัวไปทุกที่….ในผู้ป่วยบางรายแม้ปรับยาเต็มที่แล้ว แต่อาจพบปัญหาเกี่ยวกับระบบการนำไฟฟ้าได้ ” 45%  ของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว มีความเสี่ยงเสียชีวิตฉับพลัน ใน 1 ปีแรก จาก ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่งรุนแรง “

 

หัวใจมี 4 ห้อง แต่ทำงานเป็น 2 ส่วน คือ ห้องบนกับ ห้องล่าง ห้องบนบีบตัว ห้องล่างคลายตัว รับส่งกันได้ดีเพราะมี “เส้นประสาท” อยู่ในกล้ามเนื้อหัวใจคอยควบคุมหัวใจทั้ง 4 ห้อง ให้ทำงานประสานกัน

 

ปัญหาหัวใจล้มเหลว ที่หนึ่ง

เกิดจากในภาวะหัวใจล้มเหลวส่วนใหญ่ผนังกล้ามเนื้อหัวใจมักพบรอยแผลเป็น หรือ พังผืด ซึ่งจะไปรบกวนการนำไฟฟ้า ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบรุนแรง เช่น VT, AF  จนทำให้หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวติได้แบบฉับพลัน

 

ปัญหาหัวใจล้มเหลว ที่สอง

หัวใจฝั่งซ้าย และ ฝั่งขวา บีบไม่พร้อมกัน ทำให้บีบตัวส่งเลือดไม่มีประสิทธิภาพ → ส่งผลให้หอบเหนื่อย ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชื่อ CRT ที่จะกระตุ้นหัวใจทั้งสองฝั่งให้บีบตัวทำงานพร้อมกัน ช่วยลดการเสียชีวิต และ บรรเทาอาการหอบเหนื่อย

 

ศูนย์หัวใจ หรือ ศูนย์หัวใจล้มเหลว 

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

SHARE