สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ การออกกำลังกายถือเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพโดยรวม แต่ การฝืนออกกำลังกายที่หนักเกินไปอาจส่งผลร้ายกับร่างกายตัวเองจนถึงแก่ชีวิต จึงต้องหาแนวทางการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายในขณะนั้น เพื่อสร้างเสริมให้ร่างกายแข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และยืนยาว ผู้ป่วยโรคหัวใจ ออกกำลังกายอย่างไร ให้พอดี ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลสินแพทย์
รู้หรือไม่ … ผู้ป่วยโรคหัวใจ ยิ่งออกกำลังกาย ยิ่งดี เพราะจะช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจ และทำให้หลอดเลือดมีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายสำหรับผู้เป็นโรคหัวใจจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด เลือกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม และปลอดภัย
แนวทางการเริ่มออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ
- ก่อนออกกำลังกาย ควรปรึกษาแพทย์ ตรวจเช็กสรรถภาพของหัวใจ เพื่อประเมินการออกกำลังกายที่เหมาะสม รวมถึงฟังคำแนะนำเกี่ยวกับอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่าง หรือ หลังจากออกกำลังกาย
- ก่อนออกกำลังกายควรอบอุ่นร่างกายอย่างน้อย 10 นาที
- ความหนักของการออกกำลังกายจำเป็นจะต้องพิจารณาเป็นรายบุคคล โดยอิงจากสภาพร่างกายของผู้ป่วยเป็นหลัก หากผู้ป่วยยังมีอาการที่น่าเป็นห่วง แพทย์อาจวินิจฉัยว่าการออกกำลังกาย ยังไม่เหมาะสมที่จะทำในเวลานี้ ควรจะรักษาอาการให้ทุเลาลงก่อน จึงเริ่มออกกำลังกายหลังจากนั้น
- สถานที่ออกกำลังกายควรจะเป็นสถานที่ปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ร้อน หรือ หนาวเกินไป
- ควรสวมเสื้อผ้าที่โปร่ง และระบายความร้อนได้ดี
- ควรมียาขยายหลอดเลือดหัวใจติดไว้ เผื่อในกรณีฉุกเฉิน
การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคหัวใจ
- เดินเร็ว เป็นการออกกำลังกายที่ไม่เหนื่อยจนเกินไป ควรรักษาระดับการเต้นของหัวใจให้อยู่ที่ 60 – 70% ของอัตราการเต้นสูงสุด (สูตร 220 – อายุ) เป็นเวลา 30 นาที
- วิ่ง การวิ่งจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้ออกแรงสูบฉีดเลือดมากขึ้น ช่วยให้หัวใจ และหลอดเลือดแข็งแรง และช่วยลดความเครียด ทำให้ผ่อนคลาย แต่ควรประเมินสภาพร่างกายให้เหมาะสม เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจวายได้
- ว่ายน้ำ เป็นการออกกำลังกายที่ได้ใช้กล้ามเนื้อทุกส่วน รวมถึงดีต่อสุขภาพหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง และน้ำยังเป็นตัวช่วยประคอง พยุงร่างกาย ลดการบาดเจ็บที่ข้อต่อต่าง ๆ
ข้อควรระวังสำหรับผู่ป่วยโรคหัวใจที่ต้องการออกกำลังกาย
หากออกกำลังหายแล้วเกิดอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอก เวียนศีรษะ เหนื่อยหอบจนไม่สามารถพูดได้ คลื่นไส้ อาเจียน ควรหยุดออกกำลังกายในทันที และไปนั่งพักในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ การออกกำลังกายถือเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพโดยรวม แต่ การฝืนออกกำลังกายที่หนักเกินไปอาจส่งผลร้ายกับร่างกายตัวเองจนถึงแก่ชีวิต จึงต้องหาแนวทางการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายในขณะนั้น เพื่อสร้างเสริมให้ร่างกายแข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และยืนยาว
หากสนใจ สามารถตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมตรวจสุขภาพหาปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น
พร้อมโปรโมชันพิเศษ คลิก https://bit.ly/3DmNly3
พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์หัวใจ หรือ ศูนย์หัวใจล้มเหลว ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)