โรคไหลตาย…ภัยเงียบที่อันตรายถึงชีวิต !!!

28 มี.ค. 2565 | เขียนโดย ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลสินแพทย์

โรคไหลตาย หรือ ภาวะเสียชีวิตฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุขณะหลับ (SUDS : sudden unexpected death syndrome) สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหัวใจทำให้เกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ พบว่ามีความสัมพันธ์กับกลุ่มโรคทางพันธุกรรมชนิดต่างๆ เช่น กลุ่มอาการบรูกาดา (Brugada Syndrome), Long QT syndrome ในประเทศไทยโรคนี้พบได้บ่อยในผู้ชายภาคอีสานอายุประมาณ 25-50 ปี พบได้แม้ในคนที่แข็งแรงดีไม่เคยตรวจพบโรคประจำตัวใดๆมาก่อน



โรคไหลตาย เกิดจากอะไร ?

โรคไหลตาย หรือ ภาวะเสียชีวิตฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุขณะหลับ (SUDS : sudden unexpected death syndrome) สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหัวใจทำให้เกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ พบว่ามีความสัมพันธ์กับกลุ่มโรคทางพันธุกรรมชนิดต่างๆ เช่น กลุ่มอาการบรูกาดา (Brugada Syndrome), Long QT syndrome ในประเทศไทยโรคนี้พบได้บ่อยในผู้ชายภาคอีสานอายุประมาณ 25-50 ปี พบได้แม้ในคนที่แข็งแรงดีไม่เคยตรวจพบโรคประจำตัวใดๆมาก่อน

 

อาการของโรคไหลตาย

ผู้ป่วยโรคไหลตายมักจะเสียชีวิตฉับพลันขณะหลับในเวลากลางคืนโดยไม่ทันทราบว่าตนเองมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น แต่หากผู้ป่วยยังรู้สึกตัวหรือญาติพบเห็นอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ ควรรีบตามรถพยาบาลและนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

  • อึดอัด หายใจลำบาก หายใจเสียงดัง
  • แน่นหน้าอก ใจสั่น
  • แขนขาเกร็ง ชัก
  • ริมฝีปากเขียวคล้ำ
  • อาจมีปัสสาวะและอุจจาระราด

 

ใครที่มีความเสี่ยงเป็นโรคไหลตาย ?

  • เคยรอดชีวิตจากการไหลตายมาก่อน
  • ตรวจพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติชนิดบรูกาดา
  • มีประวัติคนในครอบครัวเสียชีวิตฉับพลันหรือมีประวัติโรคไหลตายในครอบครัว

 

การตรวจหาความเสี่ยงในการเป็นโรคไหลตาย

  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไหลตายหรือเคยมีอาการที่บ่งชี้ว่ามีโอกาสเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรพบแพทย์แพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมว่ามีโอกาสเป็นโรคไหลตายหรือไม่ โดยวิธีการตรวจวินิจฉัยดังนี้
    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่บ่งชี้กลุ่มอาการบรูกาดา
  • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ เป็นการใส่สายสวนผ่านทางเส้นเลือดดำบริเวณขาหนีบเข้าไปที่หัวใจ แล้วใช้สัญญาณไฟฟ้าวิเคราะห์ลักษณะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
  • การตรวจเลือดหารหัสพันธุกรรมที่บ่งชี้ความเสี่ยงในการเกิดโรคไหลตาย เช่น การกลายพันธุ์ในยีน SCN5A

 

การรักษาโรคไหลตาย

  • การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า (Implantable Cardioverter Defibrillator: ICD) โดยฝังเครื่องไว้บริเวณหน้าอกด้านซ้าย เมื่อมีหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดขึ้นเครื่องจะส่งกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นปกติ
  • การจี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (Radiofrequency Ablation: RFA) โดยการใส่สายสวนหัวใจเข้าไปแล้วใช้ความร้อนจี้ตรงที่มีปัญหาเพื่อลดโอกาสการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • การใช้ยา อาจใช้เป็นการรักษาเสริมหลังผู้ป่วยผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจแล้ว

 

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจได้ที่  ศูนย์หัวใจ หรือ ศูนย์หัวใจล้มเหลว  ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

SHARE