ส่องกล้องทางเดินอาหาร เพื่อหาโรคแน่นท้อง ปวดท้องตรงกลาง
พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้สุขภาพของผู้คนในสมัยนี้ไม่แข็งแรงเท่ากับคนสมัยก่อน หนึ่งในอาการที่คนเป็นกันได้ง่ายและเยอะที่สุด คือความรู้สึกแน่นท้อง และรู้สึกปวดท้องตรงกลาง ในบางรายเมื่อรับประทานยาก็โชคดีที่หายได้ แต่สำหรับบางคนสัญญาณเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้แหละ ถ้าไม่รีบรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจจะนำไปสู่โรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้ ไม่เพียงแค่ 2 อาการที่พูดถึงไปเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะปวดท้องอื่น ๆ ที่อยากจะมาแนะนำให้ได้รู้จักกันเพิ่มเติม ว่าการปวดท้องแต่ละส่วน สามารถป่วยเป็นโรคอะไรได้บ้าง พร้อมแนะนำการส่องกล้องทางเดินอาหารแบบละเอียด
อาการปวดท้อง มีกี่แบบ
อาการปวดท้อง มีกี่แบบ ต้องบอกแบบนี้ว่าเมื่อเวลาปวดท้อง เราจะไม่ได้ปวดท้องแค่กระเพาะ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ เท่านั้น เพราะคำว่าระบบทางเดินอาหาร หมายถึงอวัยวะสำคัญอื่น ๆ อย่าง หลอดอาหาร ตับ ทวารหนัก และถุงน้ำดีร่วมด้วย ดังนั้นเวลาปวดท้องแต่ละจุด อาจจะบ่งบอกถึงการเจ็บป่วยที่แตกต่างกัน
ปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่
ปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ อยู่ในช่วงกลางตัวของเรา ซึ่งเป็นตำแหน่งของกระเพาะอาหาร ตับ กระดูกลิ้นปี่ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
- กระเพาะอาหารอักเสบ : ปวดเวลาหิว เวลาอิ่ม
- แผลในกระเพาะอาหาร: ปวดลิ้นปี่จนถึงเหนือสะดือค่อนไปทางซ้าย ปวดท้องแบบจุกแน่น แสบร้อน เรอบ่อย อิ่มเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน และปวดร้าวทะลุหลัง
- กระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ : เล่นกีฬา ยกของหนัก หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ใช้กล้ามเนื้อหน้าอก การปวดจะสัมพันธ์กันการเปลี่ยนท่าทาง
- ตับโต : คลำเจอก้อนเนื้อขนาดใหญ่บริเวณช่องท้อง และมีความแข็ง
ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงขวา
ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงขวา จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับตับและถุงน้ำดี ในกรณีที่กดแล้วพบก้อนแข็ง ๆ ร่วมกับมีอาการตัวซีดเหลือง หมายถึงอวัยวะ 2 ส่วนนี้มีการทำงานที่ผิดปกติ ควรรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษา
ปวดท้องบริเวณรอบสะดือ
ปวดท้องบริเวณรอบสะดือ เป็นตำแหน่งของลำไส้เล็ก และมักจะมาพร้อมอาการปวดบิด คลื่นไส้ อาเจียน และมีอาการถ่ายเหลวด้วย ถ้าหากกดแล้วปวดมาก นั่นเป็นไปได้ว่าเสี่ยงต่อการเป็นไส้ติ่งอักเสบ ให้รีบมาพบแพทย์ทันทีเช่นกัน
ปวดบริเวณบั้นเอวขวาและซ้าย
ปวดบริเวณบั้นเอวขวาและซ้าย ส่วนนี้จะเป็นตำแหน่งของท่อไต อาการปวดจะแบ่งโรคได้ต่าง ๆ ดังนี้
- นิ่วที่ไต : ปัสสาวะเป็นเลือด และปวดมากจนเหงื่อออก
- นิ่วในท่อไต : ปวดบั้นเอวขวาและซ้าย ปวดร้าวไปจนถึงต้นขา
- กรวยไตอักเสบ : มีอาการปวดร่วมกับมีไข้ ปัสสาวะขุ่น
ปวดบริเวณท้องน้อย
ปวดบริเวณท้องน้อยขวา เป็นตำแหน่งของกระเพาะปัสสาวะ และมดลูก ถ้าปวดเวลาปัสสาวะ มีปัสสาวะกะปริบกะปรอย เป็นไปได้ว่าอาจจะกำลังเผชิญกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไม่ก็นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือถ้าปวดเกร็งเวลามีประจำเดือน มีความเสี่ยงที่มดลูกจะเกิดความผิดปกติ
อาการปวดท้อง แบบไหนบ้างที่ควรส่องกล้องทางเดินอาหาร
อาการปวดท้อง ที่ควรส่องกล้องทางเดินอาหาร มีดังนี้
- ปวดท้องเรื้อรัง ปวดท้องมานานกว่า 4 สัปดาห์
- มีอาการกลืนลำบาก กลืนแล้วเจ็บ กลืนติด
- เสียบแหบบ่อย ๆ พร้อมกับคอแห้งและเจ็บคอ โดยไม่มีสาเหตุ
- มีอาการอาเจียนเป็นเลือด
- อุจจาระปนมูก หรืออุจจาระเป็นสีดำ
- ทานยาสำหรับรักษาโรคกระเพาะอาหารแล้วอาหารไม่เบาลง
ส่องกล้องทางเดินอาหาร มีกี่แบบ
ส่องกล้องทางเดินอาหาร มีทั้งหมด 3 แบบ
การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น จะสอดกล้องเข้าไปทางปาก ผ่านหลอดอาหาร ลงไปถึงกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการ เช่น ปวดท้อง เรื้อรัง อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน ตรวจหาการอักเสบของหลอดอาหาร ตรวจหาแผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็ง
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ จะสอดกล้องเข้าไปทางทวารหนัก ผ่านลำไส้ใหญ่ทั้งหมด เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการ เช่น ท้องผูกเรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง เลือดออกทางทวารหนัก และตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่
การส่องกล้องตรวจตับอ่อนและทางเดินน้ำดี
การส่องกล้องตรวจตับอ่อนและทางเดินน้ำดี เป็นการส่องกล้องที่มีความซับซ้อนมากกว่าสองแบบแรก โดยจะสอดกล้องเข้าไปทางปากเหมือนการส่องกล้องกระเพาะอาหาร แต่จะสอดท่อเล็ก ๆ เข้าไปในท่อน้ำดี เพื่อฉีดสีและถ่ายภาพรังสี ตรวจหาสาเหตุของอาการ เช่น ตับอ่อนอักเสบ นิ่วในท่อน้ำดี และมะเร็งท่อน้ำดี
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการส่องกล้อง
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการส่องกล้อง สามารถทำได้โดย
- ทานอาหารอ่อน ๆ ก่อนเข้ารับการส่องกล้องอย่างน้อย 2-3 วัน
- งดการดื่มอาหารและน้ำอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
- หากมีโรคประจำตัวควรแจ้งให้แพทย์ทราบ และงดรับประทานยาประมาณ 7-10 วัน โดยเฉพาะโรคที่ต้องใช้ยาที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด อาทิเช่น Warfarin, Aspirin หรือ Clopidogrel
- หากมีฟันปลอมควรถอดออกให้หมด ในกรณีที่กำลังมีฟันซี่ใดโยกก็ควรแจ้งแพทย์เช่นกัน
- ถ้าจำเป็นที่จะต้องตรวจลำไส้ใหญ่ จะต้องเตรียมลำไส้ หรือมีการสวนอุจจาระก่อนตรวจ
ส่องกล้องทางเดินอาหาร ห้ามทำอะไรบ้าง
ส่องกล้องทางเดินอาหาร ข้อห้ามที่ไม่แนะนำให้ทำเลย คือ การขับรถกลับบ้านด้วยตัวเอง ควรพาญาติมาด้วย เพราะแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึก และเกิดผลข้างเคียงอย่างอาการง่วงซึมหลังการตรวจ
แพ็กเกจส่องกล้องทางเดินอาหาร สินแพทย์ กาญจนบุรี
แพ็กเกจส่องกล้องทางเดินอาหาร สินแพทย์ กาญจนบุรี มีดังนี้
โปรแกรมส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินอาหารส่วนบน
โปรแกรมส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินอาหารส่วนบน แบบยาชาเฉพาะที่ ไม่ร่วมส่งตรวจชิ้นเนื้อ ไม่รวมนอนโรงพยาบาล สำหรับผู้ที่ปวดเสียด แสบท้องนานเกิน 2 สัปดาห์ อาเจียนบ่อย น้ำหนักดลด เบื่ออาหาร ราคา 11,000 บาท
โปรแกรมส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยลำไส้ใหญ่
โปรแกรมส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยลำไส้ใหญ่ แบบยาชาเฉพาะที่ ไม่ร่วมส่งตรวจชิ้นเนื้อ สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 40-50 ปี มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งในลำไส้ใหญ่ ท้องผูกเป็นประจำ ราคา 13,500 บาท
โปรแกรมส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินอาหารส่วนบนและส่วนล่าง (แบบดมยา)
โปรแกรมส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินอาหารส่วนบนและส่วนล่าง (แบบดมยา) ไม่ร่วมส่งตรวจชิ้นเนื้อ สำหรับคนที่มีอาการปวดจุกแน่นท้องใต้ลิ้นปี่ ใต้ชายโครงด้านซ้าย เหนือสะดือ มีภาวะโลหิตจาง อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระสีดำ ราคา 25,500 บาท
สรุป
โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี มีแพ็กเกจส่องกล้องทางเดินอาหารให้เลือกหลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการเตรียมตัว ค่าใช้จ่าย และโปรโมชั่นต่าง ๆ ได้ที่โรงพยาบาลโดยตรง